Loading AI tools
การประชุมทางทหารของอาเซียน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting: ACDFM) เป็นการประชุมผู้นำทางทหารในระดับสูงสุดของอาเซียน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์อาเซียน | |
สีเขียวคือรัฐสมาชิกอาเซียน | |
สถานะ | ดำเนินการ |
ประเภท | การประชุมทางการทหาร |
ความถี่ | ประจำปี |
ที่ตั้ง | หมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน |
ประเดิม | พ.ศ. 2545 (อายุ 22 ปี) |
ผู้จัดงาน | กองทัพอินโดนีเซีย |
ล่าสุด | ACAMM-24 (ไทย) 22–25 พฤศจิกายน 2566 |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | ACAMM-23 (เวียดนาม) 3–12 พฤศจิกายน 2565 |
เหตุการณ์ถัดไป | ACAMM-25 (ฟิลิปปินส์) |
ผู้เข้าร่วม | |
จัดโดย | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ แผนการดำเนินกิจกรรมร่วมในระยะเวลา 2 ปีของกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Militaries Two Year Activity Work Plan)[1] เป็นแนวทางสำหรับการประชุมระดับพหุพาคีในกองทัพในชาติอาเซียน และออกมาในรูปแบบของแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement)[1] ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชื่อของ การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Chiefs of Defence Forces Informal Meeting: ACDFIM) เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Operations Informal Meeting: AMOIM) ขึ้นเป็นครั้งแรกตามข้อเสนอของอินโดนีเซีย และในปี พ.ศ. 2558 มาเลเซียเสนอให้ตัดคำว่า Informal (ไม่เป็นทางการ) ออกจากชื่อการประชุมและรวมการประชุมนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ[2] จนกระทั่งในการประชุมครั้งที่ 15 ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประชุมเป็นการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน ซึ่งตัดคำว่าไม่เป็นทางการออกไปทำให้กลายเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยเป็นการประชุมแยกไม่ได้รวมกับการประชุมใด ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 12 ในประเทศสิงคโปร์[3]
หลังจากการก่อตั้งการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ACDFM) อย่างเป็นทางการ ได้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการประชุมดังกล่าวกับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) และการประชุมทางทหารอื่น ๆ ของอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมที่มีความยืดหยุ่นในภูมิภาคที่มีความสงบสุข ปลอดภัย และมั่นคง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน[3]
โครงสร้างโดยรวมของการประชุมทางทหารของอาเซียน ประกอบไปด้วย
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ACDFM) ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้
ค.ศ. (พ.ศ.) | เจ้าภาพ | หัวข้อการประชุม | |
---|---|---|---|
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Chiefs of Defence Forces Informal Meeting: ACDFIM)[4] | |||
1 | 2002 (2545) | อินโดนีเซีย | |
2 | 2003 (2546) | บรูไน | |
3 | 2004 (2547) | มาเลเซีย | |
4 | 2005 (2548) | ฟิลิปปินส์ | |
5 | 2007 (2550) | สิงคโปร์ | |
6 | 2008 (2551) | ไทย | |
7 | 2010 (2553) | เวียดนาม | |
8 | 2011 (2554) | อินโดนีเซีย | |
9 | 2012 (2555) | กัมพูชา | |
10 | 2013 (2556) | บรูไน | |
11 | 2014 (2557) | พม่า | |
12 | 2015 (2558) | มาเลเซีย | |
13 | 2016 (2559) | ลาว | Promoting Defence Cooperation for Dynamic ASEAN Community[5] |
14 | 2017 (2560) | ฟิลิปปินส์ | |
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting: ACDFM) | |||
15 | 2018 (2561) | สิงคโปร์ | Strengthening Cooperation, Building Resilience[6][4] |
16 | 2019 (2562) | ไทย | ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน (Sustainable Security)[7] |
17 | 2020 (2563) | เวียดนาม (ออนไลน์) | ความร่วมมือทางทหาร เพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว[8] (Military Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN)[9] |
18 | 2021 (2564) | บรูไน (ออนไลน์) | เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง[10] (We Care, We Prepare, We Prosper)[11] |
19 | 2022 (2565) | กัมพูชา | ความเป็นปึกแผ่นเพื่อความมั่นคงที่กลมกลืน (Solidarity for Harmonized Security)[12] |
20 | 2023 (2566) | อินโดนีเซีย | สันติภาพ ความรุ่งเรือง และความมั่นคง (Peace, Prosperity, and Security)[1] |
21 | 2024 (2567) | ลาว[13] |
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Military Intelligent Meeting: AMIM) และการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Military Operations Meeting: AMOM) เป็นการประชุมที่จัดควบคู่กันไปกับการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน[13] เพื่อการแลกเปลี่ยนกันในด้านของยุทธการและการข่าวของชาติสมาชิกภายในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียนและการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้
AMIM | AMOM | ค.ศ. (พ.ศ.) | เจ้าภาพ | หัวข้อการประชุม |
---|---|---|---|---|
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Intelligent Informal Meeting: AMIIM) | ||||
1 | 2002 (2545) | อินโดนีเซีย | ||
2 | 2003 (2546) | บรูไน | ||
3 | 2004 (2547) | มาเลเซีย | ||
4 | 2005 (2548) | ฟิลิปปินส์ | ||
5 | 2007 (2550) | สิงคโปร์ | ||
6 | 2008 (2551) | ไทย | ||
7 | 2010 (2553) | เวียดนาม | ||
การประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Operations Informal Meeting: AMOIM) | ||||
8 | 1 | 2011 (2554) | อินโดนีเซีย | |
9 | 2 | 2012 (2555) | กัมพูชา | การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการประสานงานการสู้รบเพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015[14] |
10 | 3 | 2013 (2556) | บรูไน | |
11 | 4 | 2014 (2557) | พม่า | |
12 | 5 | 2015 (2558) | มาเลเซีย | |
13 | 6 | 2016 (2559) | ลาว | Promoting Defence Cooperation for Dynamic ASEAN Community |
14 | 7 | 2017 (2560) | ฟิลิปปินส์ | |
15 | 8 | 2018 (2561) | สิงคโปร์ | Strengthening Cooperation, Building Resilience |
16 | 9 | 2019 (2562) | ไทย | ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน (Sustainable Security) |
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียน (ASEAN Military Intelligent Meeting: AMIM) | ||||
17 | 2020 (2563) | เวียดนาม (ออนไลน์) | Towards a cohesive and developing ASEAN Military Intelligence Community[15] | |
10 | ความร่วมมือทางทหาร เพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว[16] (Military Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN) | |||
18 | 11 | 2021 (2564) | บรูไน (ออนไลน์) | เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง (We Care, We Prepare, We Prosper)[17][18] |
19 | 12 | 2022 (2565) | กัมพูชา | ความเป็นปึกแผ่นเพื่อความมั่นคงที่กลมกลืน (Solidarity for Harmonized Security)[19][20] |
20 | 2023 (2566) | อินโดนีเซีย | Strengthening The ASEAN Military Intelligence Community in Response to New Regional Security Challenges[21] | |
13 | สันติภาพ ความรุ่งเรือง และความมั่นคง (Peace Prosperity and Security)[22] | |||
21 | 14 | 2024 (2567) | ลาว[13] |
การประชุมผู้บัญชาการทหารบก กลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Chiefs of Army Multilateral Meeting | |
---|---|
สถานะ | ดำเนินการ |
ประเภท | การประชุมทางการทหาร |
ความถี่ | ประจำปี |
ที่ตั้ง | หมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน |
ประเดิม | พ.ศ. 2543 (อายุ 24 ปี) |
เจ้าภาพครั้งแรก | กองทัพบกมาเลเซีย |
ล่าสุด | 24th ACAMM (ไทย) 22–25 พฤศจิกายน 2566 |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | 23rd ACAMM(เวียดนาม) 3–12 พฤศจิกายน 2565 |
เหตุการณ์ถัดไป | 25th ACAMM (ฟิลิปปินส์) |
ผู้เข้าร่วม |
|
จัดโดย | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
การประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Chiefs of Army Multilateral Meeting: ACAMM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จัดควบคู่ไปกับการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกไทยในขณะนั้น[23]
การประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้
ค.ศ. (พ.ศ.) | เจ้าภาพ | หัวข้อการประชุม | |
---|---|---|---|
1 | 2000 (2543) | ไทย | อนาคตของความมั่นคงและเสถียรภาพของอาเซียนในภาพรวม |
2 | 2001 (2544) | ฟิลิปปินส์ | การก่อการร้ายสากลและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ |
3 | 2002 (2545) | สิงคโปร์ | สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของภูมิภาค |
4 | 2003 (2546) | มาเลเซีย | การเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและพัฒนาความสัมพันธ์ เพื่อเสริมมาตรการความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างผู้นำของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน |
5 | 2004 (2547) | อินโดนีเซีย | ความเป็นปึกแผ่นและความเป็นทหารอาชีพของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน |
6 | 2005 (2548) | บรูไน | การก่อตั้งอัตลักษณ์ความมั่นคงร่วมสำหรับอาเซียน |
7 | 2006 (2549) | เวียดนาม | ความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และมิตรภาพให้แน่นแฟ้น เพื่อความเข้าใจร่วมกันระหว่างกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน |
8 | 2007 (2550) | ไทย | |
9 | 2008 (2551) | ฟิลิปปินส์ | |
10 | 2009 (2552) | สิงคโปร์ | |
11 | 2010 (2553) | มาเลเซีย | |
12 | 2011 (2554) | อินโดนีเซีย | |
13 | 2012 (2555) | บรูไน | |
14 | 2013 (2556) | พม่า | |
15 | 2014 (2557) | เวียดนาม | การเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียนในการจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ[24] |
16 | 2015 (2558) | ไทย | ความพร้อมของกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในอีก 5 ปีข้างหน้า[25] (The Readiness of ASEAN Armies in response to the challenges in the next 5 years) |
17 | 2016 (2559) | ฟิลิปปินส์ | |
18 | 2017 (2560) | สิงคโปร์ | การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกองทัพบกกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อต่อต้านภัยคุกคามข้ามชาติ[26] |
19 | 2018 (2561) | มาเลเซีย | เสริมสร้างจิตวิญญาณกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน : ลดอุปสรรคเพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือด้านความมั่นคง[27] |
20 | 2019 (2562) | อินโดนีเซีย | การขยายความร่วมมือของกองทัพบกไปสู่อาเซียน 2025 ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน[28] |
21 | 2020 (2563) | บรูไน (ออนไลน์) | การดำเนินการต่อภัยคุกคามในภูมิภาคของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้ฐานชีวิตใหม่ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19[29] |
22 | 2021 (2564) | พม่า (ออนไลน์) | บทบาทของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ในกระบวนการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19[30] |
23 | 2022 (2565) | เวียดนาม | การร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อสันติภาพ[31] |
24 | 2023 (2566) | ไทย | ความร่วมมือของกองทัพบก เพื่อส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน[32] |
25 | 2024 (2567) | ฟิลิปปินส์ |
การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ASEAN Navy Chiefs' Meeting | |
---|---|
สถานะ | ดำเนินการ |
ประเภท | การประชุมทางการทหาร |
ความถี่ | ประจำปี |
ที่ตั้ง | หมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน |
ประเดิม | พ.ศ. 2544 (อายุ 23 ปี) |
เจ้าภาพครั้งแรก | กองทัพเรือไทย |
ล่าสุด | 17th ANCM (ฟิลิปปินส์) 8–12 พฤษภาคม 2566 |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | 16th ANCM (อินโดนีเซีย) 21–23 สิงหาคม 2565 |
เหตุการณ์ถัดไป | 18th ANCM (พม่า) |
ผู้เข้าร่วม |
|
จัดโดย | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
เพลงประจำ การประชุม | ASEAN Navies stronger Together Forever |
การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ASEAN Navy Chiefs' Meeting: ANCM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting
ในการประชุมครั้งที่ 11 ที่ประชุมมีมติให้ใช้เพลง ASEAN Navies stronger Together Forever ซึ่งแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงโดยกองทัพเรือไทยเป็นเพลงประจำการประชุม[33]
การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้
ค.ศ. (พ.ศ.) | เจ้าภาพ | หัวข้อการประชุม | |
---|---|---|---|
1 | 2001 (2544) | ไทย | |
2 | 2003 (2546) | มาเลเซีย | |
3 | 2005 (2548) | สิงคโปร์ | |
4 | 2010 (2553) | อินโดนีเซีย | |
5 | 2011 (2554) | เวียดนาม | ASEAN Naval Cooperation for Peace and Sea Security |
6 | 2012 (2555) | บรูไน | Friendship at Sea for Regional Maritime Peace and Security |
7 | 2013 (2556) | ฟิลิปปินส์ | Partnership for Peace and Prosperity |
8 | 2014 (2557) | ไทย | บทบาทของกองทัพเรืออาเซียนภายหลังการร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2015 (Roles for the ASEAN Navies after ASEAN Integration 2015)[34] |
9 | 2015 (2558) | พม่า | |
10 | 2016 (2559) | มาเลเซีย | |
11 | 2017 (2560) | ไทย | การปกป้องคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล[33] |
12 | 2018 (2561) | สิงคโปร์ | |
13 | 2019 (2562) | กัมพูชา | Enhancing Cooperations for Sustainble Security at sea[35] |
14 | 2020 (2563) | เวียดนาม (ออนไลน์) | ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือเพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว (Naval Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN"[36][37] |
15 | 2021 (2564) | บรูไน (ออนไลน์) | เศรษฐกิจสีน้ำเงิน: เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง (Blue Economy: We Care, We Prepare, We Prosper)[38] |
16 | 2022 (2565) | อินโดนีเซีย | บทบาทของกองทัพเรืออาเซียนในการจัดการกับความท้าทายทางทะเล (The roles of ASEAN navies in addressing maritime challenges)[39] |
17 | 2023 (2566) | ฟิลิปปินส์ | Synergy at Sea: Regional Cohesion for Peace and Stability[40] |
18 | 2024 (2567) |
การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน ASEAN Air Chiefs' Conference | |
---|---|
สถานะ | ดำเนินการ |
ประเภท | การประชุมทางการทหาร |
ความถี่ | ประจำปี |
ที่ตั้ง | หมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน |
ประเดิม | พ.ศ. 2547 (อายุ 20 ปี) |
เจ้าภาพครั้งแรก | กองทัพอากาศไทย |
ล่าสุด | 20th AACC (พม่า) 12–15 กันยายน 2566 |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | 19th AACC (ลาว) 3–6 พฤศจิกายน 2565 |
เหตุการณ์ถัดไป | 21th ANCM (กัมพูชา) |
ผู้เข้าร่วม |
|
จัดโดย | สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน (ASEAN Air Chiefs' Conference: AACC) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2547[41][42] โดยกองทัพอากาศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งหลังจากนั้นกองทัพอากาศในชาติสมาชิกอาเซียนได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม[41]
การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้
ค.ศ. (พ.ศ.) | เจ้าภาพ | หัวข้อการประชุม | |
---|---|---|---|
1 | 2004 (2547) | ไทย | |
2 | 2005 (2548) | มาเลเซีย | |
3 | 2006 (2549) | อินโดนีเซีย | |
4 | 2007 (2550) | ฟิลิปปินส์ | |
5 | 2008 (2551) | สิงคโปร์ | |
6 | 2009 (2552) | บรูไน | |
7 | 2010 (2553) | เวียดนาม | |
8 | 2011 (2554) | ไทย | การเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2015 (Strengthening Security Cooperation of ASEAN Air Forces towards ASEAN Community 2015)[41] |
9 | 2012 (2555) | มาเลเซีย | ส่งเสริมความร่วมมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในปี 2015[43] |
10 | 2013 (2556) | ลาว | Partners for Peace and Development: Humanitarian Assistance and Disaster Relief[44][45] |
11 | 2014 (2557) | พม่า | ความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศเพื่อให้เกิดสันติภาพ และความรุ่งเรืองต่อประชาคมอาเซียน (Defence Cooperation towards Peaceful and Defence Cooperation towards Peaceful and Prosperous ASEAN Community)[46] |
12 | 2015 (2558) | กัมพูชา | ความร่วมมือและการประสานงาน ในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค[47] (Cooperation and Coordination to Maintain Regional Stability) |
13 | 2016 (2559) | อินโดนีเซีย | |
14 | 2017 (2560) | ฟิลิปปินส์ | ASEAN Air Forces: Partnering for change, Jointly Engaging for Greater Peace and Security[48] |
15 | 2018 (2561) | สิงคโปร์ | การเสริมสร้างมิตรภาพที่เข้มแข็งและเพิ่มพูนความมั่นคงในภูมิภาค (Strengthening Friendships and Enhancing Regional Security)[49] |
16 | 2019 (2562) | บรูไน | Elevating ASEAN Solidary Through Practical Cooperation[50] |
17 | 2020 (2563) | เวียดนาม (ออนไลน์) | กองทัพอากาศอาเซียน : สามัคคีปรองดองและตอบสนองทันท่วงที (ASEAN Air Force : Cohesive and Responsive)[51] |
18 | 2021 (2564) | ไทย (ออนไลน์) | ระดมสรรพกำลังและขีดความสามารถ พร้อมกับความร่วมมือระหว่างกันในระดับสูงสุด ในการต่อสู้กับความท้าทายรูปแบบใหม่ (Optimizing Capabilities and Cooperation against New Challenges)[52] |
19 | 2022 (2565) | ลาว | Together for Peace and Stability in ASEAN[53][54] |
20 | 2023 (2566) | พม่า | ความร่วมมือของกองทัพอากาศอาเซียนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ASEAN Air Forces’ Cooperation for Sustainable Environment)[55] |
21 | 2024 (2567) | กัมพูชา[56] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.