คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Industrial Estate Authority of Thailand, IEAT) หรือ กนอ. เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[2] เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้ารวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาค
Remove ads
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 แทน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่ถูกยกเลิกไป [3]
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ครอบคลุมเขตมีนบุรี และเขตบางกะปิ[4]ในปี พ.ศ. 2567 พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา และ เสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นกรรมการ[5]
Remove ads
อำนาจหน้าที่
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
- จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
- จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
- อนุญาต อนุมัติ การประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม
Remove ads
นิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
Remove ads
รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย
สรุป
มุมมอง
ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 62 นิคม กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 48 นิคม[6] (ตัวหนา คือ นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และ ตัวเอียง คือ นิคมอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา)
ภาคเหนือ
- จังหวัดลำพูน
- นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
- นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ลำพูน
- จังหวัดพิจิตร
- นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร
ภาคกลางและภาคตะวันออก
- จังหวัดสระบุรี
- นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย
- นิคมอุตสาหกรรมหนองแค
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค
- นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
- นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
- นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง
- จังหวัดราชบุรี
- นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี
- จังหวัดสมุทรสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
- นิคมอุตสาหกรรมมหาราชนคร
- กรุงเทพมหานคร
- นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
- นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
- นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
- นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี (โครงการ 2)
- จังหวัดฉะเชิงเทรา
- นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์
- นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้
- นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี
- นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี 2
- นิคมอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา
- นิคมอุตสาหกรรมเอเพ๊กซ์กรีน ฉะเชิงเทรา
- จังหวัดสมุทรปราการ
- นิคมอุตสาหกรรมบางปู
- นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ)
- นิคมอุตสาหกรรมบางปู (เหนือ)
- จังหวัดชลบุรี
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี)
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) (โครงการ 2)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4)
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3.1
- นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
- นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
- นิคมอุตสาหกรรมบ้านบึง
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3
- นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสตรีส์
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีนชลบุรี
- จังหวัดปราจีนบุรี
- นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์
- นิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง 33
- จังหวัดระยอง
- นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)
- นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
- นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง)
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1
- นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
- นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
- นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
- นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
- นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36
นอกจากนี้ กนอ. ยังมีหน้าที่กำกับดู ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง อีกด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดอุดรธานี
- นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
ภาคใต้
- จังหวัดสงขลา
- นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้
- นิคมอุตสาหกรรมสงขลา
Remove ads
ดูเพิ่ม
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads