Remove ads
เทพเจ้าตามความเชื่อฮินดู จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระกฤษณะ (/ˈkrɪʃnə/,[12] ออกเสียง [ˈkr̩ʂɳɐ] ( ฟังเสียง); สันสกฤต: कृष्ण, IAST: Kṛṣṇa) เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู หนึ่งในแปดอวตารของพระวิษณุ และในบางธรรมเนียมบูชาในฐานะสวยัมภควัน หรือพระเจ้าสูงสุด[13] พระกฤษณะเป็นเทพเจ้าแห่งการปกป้องดูแล, ความเมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก[14][1] รวมถึงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับการบูชาแพร่หลายที่สุด[15] ชาวฮินดูเฉลิมฉลองวันประสูติของพระกฤษณะทุกปีในเทศกาลกฤษณชันมาษฏมีตามปฏิทินฮินดู ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคมถึงกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[16][17]
พระกฤษณะ | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งการปกป้อง, เมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก;[1] โยเคศวร – เทพเจ้าแห่งโยคะและโยคี;[2][3] ปรพรหมัน, สวยัมภควัน (กฤษณ-ไวษณวะ) | |
ส่วนหนึ่งของ ทศาวตาร | |
เทวรูปพระกฤษณะในศรีมหามริอัมมันโกยิล สิงคโปร์ | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | कृष्ण |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Kṛṣṇa |
ส่วนเกี่ยวข้อง | |
ที่ประทับ | |
มนตร์ |
|
อาวุธ |
|
ศึกสำคัญ | สงครามทุ่งกุรุเกษตร |
พาหนะ | ครุฑ |
คัมภีร์ | |
เทศกาล |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | |
เสียชีวิต | |
คู่ครอง |
|
บุตร - ธิดา |
|
บิดา-มารดา |
|
พี่น้อง |
|
ราชวงศ์ | ยทุวงศ์-จันทรวงศ์ |
เรื่องราวในพระชนม์ชีพของพระกฤษณะเรียกว่า "กฤษณลีลา" พระกฤษณะทรงเป็นตัวละครสำคัญในมหาภารตะ, ภควตาปุราณะ, พรหมไววรรตปุราณะ และ ภควัตคีตา นอกจากนี้ยังปรากฏการกล่าวถึงพระองค์ในเอกสารเชิงปรัชญา, เทววิทยา และ ปรัมปราวิทยาฮินดูอีกหลายชิ้นงาน[18] ในวรรณกรรมต่าง ๆ มีเขียนถึงพระกฤษณะในรูปปางต่าง ๆ กัน ทั้งในรูปเทพเจ้าองค์น้อย, เทพเจ้าที่ขี้เล่น, วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ไปจนถึงพระเป็นเจ้าผู้สูงสุดแห่งจักรวาล[19] ประติมานวิทยาของพระกฤษณะจึงเป็นการสะท้อนตำนานต่าง ๆ เหล่านี้ ผ่านการแสดงรูปปางพระองค์ในแต่ละช่วงวัย เช่นในรูปของทารกกำลังกินเนย, เด็กชายกำลังบรรเลงปี่ขลุ่ยหรือคู่กับพระราธา และในรูปของผู้ทรงราชรถกำลังสนทนาอย่างน่าเกรงขามกับอรชุน[20]
พระนามหรือพระนามคล้ายกันของพระกฤษณะปรากฏในเอกสารและวัฒนธรรมที่อายุเก่าแก่ถึง 1000 ปีก่อนคริสต์กาล[21] ในบางธรรมเนียมย่อย มีการบูชาพระกฤษณะในฐานะ สวยัมภควัน (พระเจ้าสูงสุด) ในธรรมเนียมเช่นกฤษณลัทธิ ธรรมเนียมย่อยเหล่านี้เติบโตขึ้นในยุคขบวนการภักติในยุคกลาง[22][23] วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะยังมีอิทธิพลมากต่อศิลปนาฏกรรมมากมาย เช่น ภารตนาฏยัม, กถกาลี, กูชีปูดี, โอฑิสสี และ มณีปุรีนาฏกรรม[24][25] มีการบูชาพระกฤษณะทั่วไปในทุกคติธรรมเนียมของศาสนาฮินดู และมีบูชามากเป็นพิเศษในแถบวฤนทาวัน รัฐอุตตรประเทศ,[26] ทวารกะ และ ชูนครห์ รัฐคุชราต; บูชาในรูปปางชคันนาถ ในโอริศา, มายาปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก;[22][27][28] บูชาในรูปปางวิโฐพา ในปัณฒรปุระ รัฐมหาราษฏระ, ศรีนาถจี ในนาถทวาระ รัฐราชสถาน,[22][29] อุทุปีกฤษณะในรัฐกรณาฏกะ,[30] ปรรถสารถี ในรัฐทมิฬนาฑู, อรันมุละ, รัฐเกรละ และ คุรุวยูรัปปัน ในคุรุวยูร รัฐเกรละ[31] นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา คติการบูชาพระกฤษณะยังเผยแผ่ไปยังโลกตะวันตกและแอฟริกา โดยเฉพาะจากกิจการของอิสก์คอน[32]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.