กระทู้ถาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
กระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร (interpellation)
- กระทู้ถามนั้นเป็นเครื่องมือของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยได้แก่รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540)
- โดยที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันก็ได้ จึงทำให้ต้องกำหนดระเบียบวาระการประชุมแยกกัน ได้แก่
- การประชุมสภาผู้แทนราษฎร (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
- การประชุมวุฒิสภา (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
- การประชุมร่วมกันของรัฐสภา (เรียกว่า"ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา"ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2544)
- ในการบัญญัติข้อบังคับนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และการบัญญัติของแต่ละสภา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป นับแต่นี้เป็นต้นไปจะเป็นเรื่องกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544
ประเภทของกระทู้ถาม
- กระทู้ถามมี 3 ประเภท คือ
- กระทู้ถามสด (verbal interpellation)
- กระทู้ถามทั่วไป (interpellation)
- กระทู้ถามทั่วไปที่ต้องตอบในที่ประชุมสภา
- กระทู้ถามทั่วไปที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา
(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 128)
3. กระทู้ถามแยกเฉพาะ
ลักษณะต้องห้ามของกระทู้ถาม
- เป็นเชิงประชด เสียดสี หรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย
- เคลือบคลุมหรือเข้าใจยาก
- เป็นเรื่องที่ได้ตอบแล้วหรือชี้แจงแล้วว่าไม่ตอบ
- เป็นเรื่องที่มีประเด็นคำถามซ้ำกับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน
- เป็นการให้ออกความเห็น
- เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
- เป็นเรื่องที่มีสาระสำคัญ
- เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลใด เว้นแต่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ราชการ
(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 130)
อย่างไรก็ดีสำหรับข้อ 3 และข้อ 4 หากปรากฏว่าพฤติการณ์ (สถานการณ์) ได้เปลี่ยนแปลงไป หรือมีสาระสำคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็อาจจะตั้งกระทู้ถามในประเด็นคำถามนั้นขึ้นใหม่ได้ (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 131)
การบรรจุและจัดลำดับกระทู้ถาม
สรุป
มุมมอง
การบรรจุกระทู้ถาม
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่งๆ จะสามารถบรรจ
- กระทู้ถามสดได้ไม่เกิน 3 กระทู้
- กระทู้ถามทั่วไป (เพื่อให้ตอบในที่ประชุม) ไม่เกิน 3 กระทู้ แต่หากปรากฏว่ามีกระทู้ถามทั่วไปรอบรรจุระเบียบวาระจำนวนมาก ประธานสภาจะบรรจุกระทู้ถามทั่วไปเกินกว่านี้ก็ได้
(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 132 วรรคแรก) โดยในการบรรจุระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร จะจัดลำดับเป็นดังนี้
- กระทู้ถาม
- เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
- รับรองรายงานการประชุม
- เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- เรื่องที่ค้างพิจารณา
- เรื่องที่เสนอใหม่
- เรื่องอื่นๆ
(ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ 15 วรรคแรก)
โดยในระเบียบวาระกระทู้ถามนั้นก็แบ่งเป็น
- กระทู้ถามสด จำนวน 3 กระทู้ถาม
- กระทู้ถามทั่วไป จำนวน 3 กระทู้ถาม แต่ประธานสภาก็อาจจะบรรจุเพิ่มเติมได้เป็นดุลยพินิจของประธานสภาฯในทางปฏิบัติ
ที่ผ่านมาประธานสภาจะได้จัดให้มีระเบียบวาระกระทู้ถามทั่วไปเพื่อให้ตอบในที่ประชุมสภาเป็นพิเศษแยกออกไปต่างหาก คือ วาระปกติที่มีกระทู้ถามสดและกระทู้ถามทั่วไปอย่างละ 3 กระทู้นั้นเป็นระเบียบวาระการประชุมในวันพฤหัสบดี (ซึ่งเป็นวันที่กำหนดให้พิจารณากระทู้ถาม) โดยปกติจะเริ่มประชุมในช่วงบ่ายตั้งแต่ 13.30 น.เป็นต้นไป แต่หากจะได้บรรจุวาระกระทู้ถามเป็นพิเศษ ประธานสภาจะสั่งให้ประชุมนัดพิเศษ โดยเริ่มประชุมู่ในช่วงเวลา 09.30 น.ถึง 13.30 น.ในวันเดียวกัน
การถามและการตอบกระทู้ถาม
- การถามกระทู้
กระทู้ถามนั้นเป็นสิทธิของสมาชิกที่จะถามโดยถือเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลซึ่งจะตั้งถามและซักถามได้เฉพาะสมาชิกคนเดียวเท่านั้น (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ข้อ129) โดยสมาชิกจะเป็นผู้ตั้งถามกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดก็ได้ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา183) และถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือเป็นเรื่องกระทบถึงประโยชน์ของ ประเทศชาติประชาชนหรือเป็นเรื่องเร่งด่วน สมาชิกอาจถามกระทู้ถามสดก็ได้ ัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา184)
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.