Loading AI tools
หน่วยงานข้าราชการในพระองค์ของราชสำนักไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์ (อังกฤษ: Office of the Aide-de-Camp) มีหน้าที่วางแผน สั่งการ อำนวยการและประสานงาน กำกับการ ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย ดำเนินการตามพระราชกรณียกิจ พระราชกิจให้เป็นไปในความสงบเรียบร้อย และ ถวายงานตามพระราชประสงค์[2]
Office of the Aide-de-Camp | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2413 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ พระที่นั่งอัมพรสถาน 904 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
งบประมาณต่อปี | 742.2836 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ |
ลูกสังกัด |
|
เว็บไซต์ | www |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีราชองครักษ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2413 ในคราวเสด็จประพาสประเทศสิงคโปร์และปัตตาเวีย (อินโดนีเซีย) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (ขณะนั้นดำรงพระยศ นายร้อยเอก พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์) ตามเสด็จฯ ซึ่งนับเป็น "ราชองครักษ์" พระองค์แรก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนายทหารรักษาพระองค์เหล่านี้ว่า "ราช-แอด-เดอ-แกมป์" ซึ่งคัดเลือกมาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาเมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้นเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น "แอด-เดอ-แกมป์หลวง" และไปขึ้นการปกครองบังคับบัญชากับผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น "ราชองครักษ์" สืบมาจนปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการสำหรับราชองครักษ์ให้เป็นหลักฐานมั่นคง ด้วยการตรา "พระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ.117" ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2441 โดยในมาตรา 6 ระบุข้อความว่า "สมุหราชองครักษ์กับทั้งราชองครักษ์ประจำการพวกนี้ นับเป็นกรมหนึ่ง ขึ้นอยู่ใน กรมยุทธนาธิการ" กรมราชองครักษ์จึงถือเอา วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2441 นี้ เป็นวันกำเนิดกรมราชองครักษ์ (Royal Thai Aide-De-Camp Department) ซึ่งมีสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[3] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "กรมราชองครักษ์" โอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์[4] สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และเปลี่ยนชื่อเป็น "สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์"[2] (Office of the Aide-de-Camp)[5]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะต้องมีราชองครักษ์ไว้ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือก นายทหารรักษาพระองค์มาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงแก้ไขความใน พระราชบัญญัติเดิมโดยตราเป็นพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พ.ศ. 2459 ซึ่งจากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะนายทหารบก เป็นราชองครักษ์เท่านั้นได้โปรดเกล้าฯให้นายทหารเรือ เข้ารับราชการเป็นราชองครักษ์ด้วยและสมุหราชองครักษ์มีสิทธิขาดในการนำความเข้ากราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์ได้โดยตรง บางคราวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายตำรวจภูธรและนายตำรวจนครบาลเป็นราชองครักษ์เป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในพระราชบัญญัติ ซึ่งนับเป็นกำเนิดของตำรวจราชสำนักเวร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2468 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงระเบียบการเกี่ยวกับราชองครักษ์บางอย่างที่สำคัญ คือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ราชองครักษ์แต่เดิมในรัชกาลก่อนคงเป็นราชองครักษ์ของพระองค์สืบต่อไปและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ "ปลอกแขน"เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นราชองครักษ์ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำพระองค์
วิวัฒนาการราชองครักษ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาเป็นลำดับเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละรัชกาล ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบันได้มีกฎระเบียบและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับราชองครักษ์ดังนี้ คือ ได้จำแนกราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ
ราชองครักษ์ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ณ ที่ประทับ รวมทั้งการเสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักในต่างจังหวัด เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฏรในทุกพื้นที่ของประเทศ
วันที่ 10 ธันวาคม 2559 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากราชการ [11]เนื่องจากลาออกจากราชการ รองสมุหราชองครักษ์ และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารลาออกจากราชการ ความว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์ อดีตสมุหราชองครักษ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ลาออกจากราชการเพื่อรักษาตัว ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 [12]วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งจำนวน 44 รายโดยย้ายผู้บริหารกรมราชองครักษ์ทั้งหมด[13]โดยให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2560
มีหน้าที่วางแผน สั่งการ อำนวยการและประสานงาน กำกับการ ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย ดำเนินการตามพระราชกรณียกิจ พระราชกิจให้เป็นไปในความสงบเรียบร้อย และ ถวายงานตามพระราชประสงค์[14] ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พระราชประสงค์และราชประเพณี โดยสรุปก็คือ การถวายความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.