Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นหน่วยงานในหน่วยราชการในพระองค์ระดับกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานในการถวายอารักขา และถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 มกราคม พ.ศ. 2535 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ พระที่นั่งอัมพรสถาน 904 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | ส่วนราชการในพระองค์ |
เอกสารหลัก |
|
เว็บไซต์ | หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ |
รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่ทางพระราชพิธีตามที่ได้รับมอบหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐาน[1] ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ ตลอดจนวางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการ และกำกับงานในหน้าที่ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการกองทัพไทย [3]ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สถาปนาเป็น หน่วยทหารรักษาพระองค์ โดยใช้ชื่อว่า หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการยกฐานะหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เป็นนิติบุคคล ระดับกรม สังกัดกระทรวงกลาโหม[5] โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[6] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์" เป็นส่วนราชการในพระองค์[2] โดยโอนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถวายความปลอดภัยมารวมกัน อาทิ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และกรมราชองครักษ์ เดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม สำนักนายตำรวจราชสำนักประจำ (สง.นรป.) เดิมเป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[7]
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มีหน่วยงานในสังกัด 4 หน่วยงาน ได้แก่ (แยกส่วนออกมาจากกองทัพไทย)
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้[9]
ลำดับที่ | รายพระนาม | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
1 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | 9 มกราคม พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน[10] |
ลำดับที่ | รายพระนาม | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
1 | พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560[11] 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[12] |
ลำดับที่ | รายนาม | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
1 | พลอากาศเอก สุบิน ชิวปรีชา | 4 มกราคม พ.ศ. 2554[13] - ไม่ทราบปี[14] |
2 | พลอากาศเอก ทศพล สง่าเนตร | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[15] - ไม่ทราบปี[16] |
3 | พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555[17]- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19] |
4 | พลอากาศเอก ชาญชาย เกิดผล | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19] |
5 | พลอากาศเอก อำนาจ จีระมณีมัย | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[18] - 15 มีนาคม พ.ศ. 2563[19] |
6 | พลเอก จักรภพ ภูริเดช | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน[18] |
7 | พลตำรวจเอก อรรถกร ทิพยโสธร | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน [20] |
8 | พลเรือเอก วีระศักดิ์ อ๊อกกังวาล | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[21] - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.