วรรณะ (สันสกฤต: वर्ण, อักษรโรมัน: varṇa) เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่มีความหมายหลายประการ เช่น ลำดับ สี และชนชั้น[1][2] ในทางศาสนาฮินดูใช้เรียกชนชั้นทางสังคมในความเชื่อ ในงานเขียนฮินดู เช่น มานุษมิรตี[1][3][4]ระบุว่ามีอยู่ทั้งหมดสี่วรรณและกำหนดอาชีพ ข้อกำหนดและหน้าที่ของตน (ธรรม) ได้แก่:[1][5]

  • ศูทร: แรงงาน
  • แพศย์: พ่อค้าแม่ค้าและชาวสวนชาวไร่[6]
  • กษัตริย์: ผู้นำ ผู้ปกครอง นักรบ
  • พราหมณ์: นักบวช นักวิชาการ อาจารย์

ชุมชนที่เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็น สวรรณะ (savarna) หรือ "วรรณะฮินดู" ส่วนชาวทลิตและ ชนเผ่าต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็นพวก อวรรณะ[7][8]

การแบ่งชนชั้นนี้ต่างกับการแบ่งชนขั้นตามภูมิภาค ชาติ (Jāti) ที่ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นแผนที่โดยบริติชราช เพื่อให้ตรงกับ"ชนชั้น" (caste) ในแนวคิดยุโรป[9]

ศัพทมูลวิทยาและต้นกำเนิด

คำว่า วรรณะ ในภาษาสันสกฤตมีที่มาจากรากศัพท์ vṛ หมายถึง "หุ้ม ห่อ นับ จำแนก พิจารณา พรรณนา หรือเลือก"[10]

ศัพท์นี้ปรากฏในฤคเวท โดยมีความหมายว่า "สี รูปลักษณ์ภายนอก ภายนอก ร่าง หรือรูปร่าง"[3] ส่วนในมหาภารตะหมายถึง "สี สีย้อม หรือรงควัตถุ"[3]

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.