วงศ์ปลาตูหนา (อังกฤษ: True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด[5]

ข้อมูลเบื้องต้น การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์, ชนิดต้นแบบ ...
วงศ์ปลาตูหนา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Danian–0
สมัยพาลีโอซีนตอนต้น (Danian) ถึงปัจจุบัน[1]
Thumb
ปลาตูหนายุโรป (A. anguilla)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Anguilliformes
Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
Anguillidae
Rafinesque, 1810
สกุล: Anguilla
Anguilla
Garsault, 1764[2][3][4]
ชนิดต้นแบบ
Anguilla anguilla
Linnaeus, 1758
ชนิด

ดูข้อความ

ปิด

กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด

ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก[6] ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ [6]

เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย[5]

เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้[7] มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์[6]

เป็นปลาที่มีรสชาติดี อร่อย มีราคาแพง บางชนิดจึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีชื่อ เช่น ปลาตูหนาญี่ปุ่น หรือปลาไหลญี่ปุ่น (A. japonica) ซึ่งได้มีการเลี้ยงกันที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่ว่าต้องรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ซึ่งเคยมีการนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยระยะหนึ่ง ปลาตูหนาชนิดนี้ได้ถูกปรุงเป็นอาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อคือ ข้าวหน้าปลาไหล (ญี่ปุ่น: 蒲焼; โรมาจิ: kabayaki; ทับศัพท์: คะบะยะกิ) ซึ่งชาวญี่ปุ่นได้รับประทานกันมาอย่างยาวนานกว่า 5,000 ปีแล้ว[8]

การจำแนก

ภาพแสดงวงจรชีวิตของปลาในวงศ์ปลาตูหนา
แผนผังวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของวงศ์ปลาตูหนาโดย Inoue และคณะ 2010[9]
Anguilla

A. mossambica

A. borneensis

A. anguilla

A. rostrata

A. australis

A. dieffenbachii

A. reinhardtii

A. japonica

A. celebesensis

A. megastoma

A. marmorata

A. nebulosa

A. interioris

A. obscura

A. bicolor

  • Anguillidarum Schwarzhans 2003
    • Anguillidarum semisphaeroides Schwarzhans 2003
  •  ?Neoanguilla Shrestha 2008
    •  ?Neoanguilla nepalensis Shrestha 2008
  • Anguilla Garsault 1764
    • Anguilla anguilla (Linnaeus, 1758) (ปลาตูหนายุโรป)
    • Anguilla annosa Stinton 1975
    • Anguilla australis J. Richardson, 1841
      • Anguilla australis australis J. Richardson, 1841 (ปลาตูหนาครีบสั้น)
      • Anguilla australis schmidti Phillipps, 1925
    • Anguilla bengalensis (J. E. Gray, 1831) (ปลาสะแงะ)
      • Anguilla bengalensis bengalensis (J. E. Gray, 1831) (ปลาสะแงะอินเดีย)
      • Anguilla bengalensis labiata (W. K. H. Peters, 1852) (ปลาสะแงะแอฟริกา)
    • Anguilla bicolor McClelland, 1844
      • Anguilla bicolor bicolor McClelland, 1844 (ปลาตูหนาครีบสั้นอินโดนีเซีย)
      • Anguilla bicolor pacifica E. J. Schmidt, 1928 (ปลาตูหนาครีบสั้นอินเดีย)
    • Anguilla borneensis Popta, 1924 (ปลาตูหนาบอร์เนียว)
    • Anguilla breviceps Y. T. Chu & Y. T. Jin, 1984
    • Anguilla brevicula Agassiz 1833-1845
    • Anguilla celebesensis Kaup, 1856 (ปลาตูหนาครีบยาวเซเลบีส)
    • Anguilla dieffenbachii J. E. Gray, 1842 (ปลาตูหนาครีบยาวนิวซีแลนด์)
    • Anguilla interioris Whitley, 1938 (ปลาตูหนาครีบยาวที่ราบสูง)
    • Anguilla japonica Temminck & Schlegel, 1847 (ปลาไหลญี่ปุ่น)
    • Anguilla luzonensis S. Watanabe, Aoyama & Tsukamoto, 2009 (ปลาตูหนาด่างดำฟิลิปปิน)
    • Anguilla malgumora Schlegel ex Kaup 1856 (ปลาตูหนาครีบยาวอินโดนีเซีย)
    • Anguilla marmorata Quoy & Gaimard, 1824 (ปลาเอี่ยนหู)
    • Anguilla megastoma Kaup, 1856 (ปลาตูหนาครีบยาวโพลินิเซีย)
    • Anguilla mossambica (W. K. H. Peters, 1852) (ปลาตูหนาครีบยาวแอฟริกา)
    • Anguilla multiradiata Agassiz 1833-1845
    • Anguilla nebulosa McClelland, 1844 (ปลาตูหนาด่างดำ)
    • Anguilla obscura Günther, 1872 (ปลาตูหนาครีบสั้นแปซิฟิก)
    • Anguilla pachyura Agassiz 1833-1845
    • Anguilla pfeili Schwarzhans 2012
    • Anguilla rectangularis Stinton & Nolf 1970
    • Anguilla reinhardtii Steindachner, 1867 (ปลาตูหนาครีบยาวแต้ม)
    • Anguilla rostrata (Lesueur, 1817) (ปลาตูหนาอเมริกา)
    • Anguilla rouxi Nolf 1974

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.