Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนสหศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์[2] สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยคำว่า "ราชวินิต " หมายความว่า "สถานที่ อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา"
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ Ratwinit BangKaeo School, under the Patronage of His Majesty the King | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.ว.บ. (R.W.B.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กีฬา รักษาคุณธรรม ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สะอาด มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ กตัญญู เสียสละ สติมโต สทา ภทฺทํ (ผู้มีสติย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ) |
สถาปนา | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (52 ปี 361 วัน) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
รหัส | 11022007 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สหศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 3,629 คน ปีการศึกษา 2560[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน |
สี | แสด ดำ |
ต้นไม้ | ประดู่แดง |
เว็บไซต์ | http://www.rwb.ac.th |
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โดยมีประวัติเริ่มจากนายสุขุม และคุณหญิงจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2513 เพื่อก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแทนสถานที่บริเวณโรงเรียนราชวินิตซึ่งคับแคบ ไม่สามารถจะขยายออกไปได้ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาสายสามัญ เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายน 2514 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงเรียนด้วยเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2513 จะสำเร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2515 เป็นอย่างช้า และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2515 โดยขณะนั้นมีนักเรียน 347 คน ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
นับแต่โรงเรียนราชวินิตบางแก้วได้ก่อตั้งมา โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้าของโรงเรียนมาโดยตลอด ดังเห็นได้จากการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนต่าง ๆ ของโรงเรียน ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนหลังที่ 1 อาคาร “ร่มเกล้า” ทรงปลูกต้นประดู่แดงไว้เป็นที่ระลึกโรงเรียนจึงถือว่าวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน และถือเอาต้น“ประดู่แดง” เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “บงกชมาศ”
ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ราชวิธานค์”
ครั้งที่ 4 วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ประดิษฐานหน้าอาคาร
ครั้งที่ 5 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร“เฉลิมพระเกียรติ” อาคาร “สิริยาคาร” และอาคาร“พิพิธภัณฑ์” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์สืบค้นข้อมูลนานาชาติ (R.W.B.International Resource Center) และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช
ครั้งที่ 7 วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 48 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ
ครั้งที่ 8 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปี ศูนย์เทคโนโลยีสิรินธร และสวนเจ้าฟ้านักเกษตร
ครั้งที่ 9 วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร เฉลิมพระเกียรติ ทั้งได้รับพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2515—10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | ครูใหญ่ |
2. นางนภา หุ่นจำลอง | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515—10 กันยายน พ.ศ. 2518 | อาจารย์ใหญ่ |
3. นางบุษยา สาครวาสี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518—31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 | อาจารย์ใหญ่ |
3. นางบุษยา สาครวาสี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2521—17 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 | ผู้อำนวยการ |
4. นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2527—10 กันยายน พ.ศ. 2535 | ผู้อำนวยการ |
5. นางมาลี ไพรินทร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535—30 กันยายน พ.ศ. 2540 | ผู้อำนวยการ |
6. นายเชิดชัย พลานิวัติ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540—7 มกราคม พ.ศ. 2546 | ผู้อำนวยการ |
7. นายกมล บุญประเสริฐ (เปลี่ยนชื่อเป็น นายณัฐพัชร์ บุญประเสริฐชีวา) | 8 มกราคม พ.ศ. 2546—6 มกราคม พ.ศ. 2553 | ผู้อำนวยการ |
8. นายบุญชู หวิงปัด | 7 มกราคม พ.ศ. 2553—30 กันยายน พ.ศ. 2559 | ผู้อำนวยการ |
9. นายจิราพงศ์ จุติธนะเสฎฐ์ | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559—ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[ต้องการอ้างอิง]
|
|
|
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.