Loading AI tools
โรงเรียนมัธยม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพานพิเศษพิทยา (อังกฤษ: Phan Phiset Phitthaya School; ย่อ: พ.พ.ย. , P.P.Y.) หรือชื่อเดิม โรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 (เชียงราย และพะเยา) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 250 หมู่ 1 ตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ นายเทอดศักดิ์ ธนสิทธิ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรงเรียนพานพิเศษพิทยา Phan Phiset Phitthaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 19°34′39.69″N 99°44′42.78″E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.พ.ย. |
ประเภท | มัธยมศึกษาขนาดกลาง |
คำขวัญ | กีฬาเด่น เรียนดี มีวินัย |
สถาปนา | โรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) (พฤษภาคม พ.ศ. 2494) โรงเรียนพานพิเศษพิทยา (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517) |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 1057205002 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1—6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
สี | ชมพู ฟ้า |
เพลง | มาร์ชพานพิเศษพิทยา ชมพู ฟ้า |
เว็บไซต์ | http://www.phanpiset.ac.th/web56/ |
โรงเรียนพานพิเศษพิทยา เริ่มเปิดสอนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2494 ในนามโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) โดยมีพื้นที่ของโรงเรียนอยู่บริเวณหลังที่ว่าการอำเภอพานในปัจจุบัน ในขณะนั้นมีครู 2 คน มีนายโชค บุญเสริมศิริ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2498 โรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) ย้ายมาตั้งในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียนพานพิเศษพิทยาในปัจจุบัน มีนายโชค บุญเสริมศิริ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ได้เริ่มเปิดสอนโดยอาศัยพื้นที่ของโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) เป็นที่ทำการเรียนการสอน เปิดรับนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนายชโลม คชเสนีย์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนพานพิเศษพิทยาขึ้น เปิดรับสมัครนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 61 คน โอนนักเรียนชั้น ม.ศ.2 เดิม จำนวน 64 คน จากโรงเรียนพานพิทยาคมมาด้วย จึงมีนักเรียนรวม 125 คน ครู-อาจารย์ 8 คน นักการภารโรง 2 คน
ปี พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษาสั่งยุบโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) และให้โอนทรัพย์สิน นักเรียน 270 คน ครู-อาจารย์ 11 คน นักการภารโรง 2 คน ให้กับโรงเรียนพานพิเศษพิทยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนายณัฐ ทองธรรมชาติ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2523 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนายณัฐ ทองธรรมชาติ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2528 มีนักเรียน 1,410 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายมันทา พวงมะลิ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2535 มีนักเรียน 905 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายประยูร ยศสุนทร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2537 มีนักเรียน 1,110 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายรัศมี บ้านกลาง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2538 มีนักเรียน 1,280 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายแสวง จันทร์ถนอม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2541 มีนักเรียน 1,402 คน จำนวน 36 ห้องเรียน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน และพนักงานขับรถ 1 คน มีนายปิ่น ผลสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2543 มีนักเรียน 1,343 คน จำนวน 36 ห้องเรียน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 7 คน มีนายอุดม สุยะ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2545 มีนักเรียน 1,225 คน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายเกษม หมื่นตาบุตร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 1,124 คน ครู-อาจารย์ 51 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายเกษม หมื่นตาบุตร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ โรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
ปี พ.ศ. 2552 มีนักเรียน 932 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายสนอง สุจริต ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำเนินเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา
ปัจจุบันโรงเรียนพานพิเศษพิทยา มีนักเรียน 268 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายกานตเชษฐ์ ถาคำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายโชค บุญเสริมศิริ | พาน ชร.8 |
2 | นายชโลม คชเสนีย์ | พาน ชร.8 - 2518 |
3 | นายณัฐ ทองธรรมชาติ | พ.ศ. 2518 - 2528 |
4 | นายมันทา พวงมะลิ | พ.ศ. 2528 - 2535 |
5 | นายประยูร ยศสุนทร | พ.ศ. 2536 - 2537 |
6 | นายรัศมี บ้านกลาง | พ.ศ. 2537 - 2538 |
7 | นายแสวง จันทร์ถนอม | พ.ศ. 2538 - 2539 |
8 | นายปิ่น ผลสุข | พ.ศ. 2540 - 2543 |
9 | นายอุดม สุยะ | พ.ศ. 2543 - 2543 |
10 | นายเกษม หมื่นตาบุตร | พ.ศ. 2543 - 2552 |
11 | นายสนอง สุจริต | พ.ศ. 2552 - 2554 |
12 | นายไชยนคร ขุมคำ | พ.ศ. 2554 - 2561 |
13 | นายกานตเชษฐ์ ถาคำ | พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |
ห้องสมุดโรงเรียนพานพิเศษพิทยา เดิมอยู่ชั้นหนึ่งของอาคาร 2 อาคารชัยมงคล ขนาด 5 ห้องเรียน มีบรรณารักษณ์ดำเนินงานห้องสมุด 1 คน คือ อาจารย์วาริณี จิตต์สุวรรณ และทีมงานห้องสมุด คือ อาจารย์ศิริอัมพร ฉัตรทอง อาจารย์กรองนภา ผกาผล ห้องสมุดมีความคับแคบและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ดังนั้นผู้อำนวยการโรงเรียน คือ นายเกษม หมื่นตาบุตร ได้จัดทำโครงการสร้างอาคารหอสมุดขึ้นมาใหม่ โดยริเริ่มสร้างอาคารหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ขึ้นและเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3,000,000 บาท จากชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพานพิเศษพิทยา หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา และพ่อค้าประชาชน ในอำเภอพาน และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยนายบรรจง สุทธิคมน์ เป็นประธานในพิธีร่วมกับ นายยรรยง พัวพันพัฒนา ประธานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานโรงเรียนพานพิเศษพิทยา นายลออ วาจิตดล ประธานชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพานพิเศษพิทยา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน สส.จังหวัดเชียงราย เขต 3 ผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 หัวหน้าส่วนราชการ ห้างร้านและประชาชนชาวอำเภอพาน การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 และเปิดให้บริการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นมา โดยอาคารหอสมุดมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีชมพู ซึ่งชั้นที่ 1 เป็นห้องสมุดสื่อสิ่งพิมพ์ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย
ปัจจุบัน องค์กรหลักของโรงเรียนที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนพานพิเศษพิทยามีการจัดนักเรียนเป็นคณะปกครอง ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.