Loading AI tools
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ (ชื่ออังกฤษ: Navamindarajudis Phayap School) (ตัวย่อไทย: น.ม.พ.) (ตัวย่ออังกฤษ: N.M.P.) เป็นโรงเรียนลำดับที่ 5 ในกลุ่มโรงเรียนนวมินทราชูทิศ 5 ภูมิภาค ตั้งอยู่พื้นที่ภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ Navamindarajudis Phayap School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
186 หมู่ 8 ถนนเชียงใหม่-ฝาง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | น.ม.พ. / N.M.P. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาลกลุ่มโรงเรียนนวมินทราชูทิศ 5 ภูมิภาค |
คำขวัญ | "รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ" |
สถาปนา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2529 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 |
ผู้อำนวยการ | ดร.ธาราทิพย์ วงษ์บรรณะ |
จำนวนนักเรียน | 2,530 (ข้อมูล ณ 4 มิ.ย. 2567) |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนกลาง |
สี | น้ำเงิน-เหลือง |
เพลง | มาร์ชนวมินทราชูทิศ, ร่มราชพฤกษ์ |
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ |
เว็บไซต์ | http://www.nmp.ac.th |
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมตอนต้นมีแผนการเรียน ได้แก่ เตรียมวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์, Mini English Program (MEP), ห้องเรียนเน้นทักษะภาษาที่ 3 ภาษาจีน - ภาษาญี่ปุ่น - ภาษาฝรั่งเศส, ห้องเรียนปกติ และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีแผนการเรียน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เน้นดิจิทัล (SIS), วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เน้นคณิตศาสตร์ (SIM), วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เน้นภาษาอังกฤษ (SIE), วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ปกติ, คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ เน้นนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ (SILP), ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน, ภาษาอังกฤษ - ญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ - ฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ - กีฬา
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขเพื่อพัฒนาประเทศไทยในทุกด้าน โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแต่ประการใดด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นถาวรวัตถุ กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนนวมินทราชูทิศขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย ได้แก่
กลุ่มโรงเรียนนวมินทราชูทิศจึงมีสัญลักษณ์โรงเรียนซึ่งได้รับพระราชทาน เป็น "พระมหาพิชัยมงกุฎรองรับด้วยชื่อโรงเรียน" โดยมีปรัชญาว่า "ความรู้คู่คุณธรรม" และคำขวัญที่ว่า "รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ" นอกจากนั้นแล้วยังเป็นที่ทราบกันดีในเหล่านักเรียน ศิษย์เก่า และบุคลากรถึงชื่อโรงเรียนว่า "นวมินท์ นามอันเป็นที่รัก" อีกด้วย
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2529 โดยมีนายสมชาย นพเจริญกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและผู้ตรวจราชการกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8 เป็นหัวหน้าคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่รับนโยบายจากกรมสามัญศึกษา ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียนกับจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อแรกตั้งโรงเรียนนั้นได้อาศัยสถานที่ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่เรียนของนักเรียน
นางดาวเรือง รัตนิน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ในปี พ.ศ. 2529 กรมสามัญศึกษาได้รับความอนุเคราะห์จากกองทัพบกอนุมัติให้ใช้ที่ราชพัสดุในความครอบครองของกองทัพบก บริเวณถนนเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างกิโลเมตรที่ 15 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 170 ไร่
ในปี พ.ศ. 2529 กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษพร้อมครุภัณฑ์หลังแรก นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพภาคที่ 3 กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 6 (โครงการหลวง) กรป.กลาง หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 32 ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และผู้ปกครองนักเรียน
สำหรับตัวอาคารของโรงเรียนจะเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างท้องถิ่นสมัยใหม่ซึ่งเป็นนโยบายรวมกันอยู่ว่าโรงเรียนนวมินทราชูทิศในแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์การก่อสร้างไม่เหมือนกันเป็นการบ่งบอกถึงท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้นอาคารเรียนของแต่ละโรงเรียนจะเป็นตัวอาคารเชื่อมติดกันตามทฤษฎีใหม่ที่ว่า การแยกอาคารจะทำให้ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนแต่จะเป็นอาคารสองชั้นสีขาว ประดับด้วยกาแลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวล้านนา นอกจากนั้นผนังห้องเรียนทุกห้องทำด้วยศิลาแลง นับเป็นสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับแมกไม้และขุนเขาที่อยู่เบื้องหลังอาคารเรียน
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระกรุณาธิคุณเสด็จเยี่ยมสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ทรงอนุโมทนาในความขวนขวายให้ทุกฝ่ายจนทำให้ได้ที่ดินแปลงนี้มาจัดสร้างโรงเรียน ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเป็นการส่วนพระองค์ ทรงพระกรุณาพระราชทานคำแนะนำให้ใช้พื้นที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและตั้งใจปฏิบัติราชการให้โรงเรียนอย่างดีที่สุด ตลอดจนได้เยี่ยมชมการเรียนการสอน
ในครั้งที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ 1995 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ โดยโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ได้มีส่วนร่วมมากมาย อาทิเช่น จัดขบวนแห่ตุง จัดขบวนฟ้อนพื้นเมือง รวมไปถึงการแสดงตีกลองสบัดชัยในพิธีเปิดการแข่งขัน
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมตอนต้นแบบทั่วไป และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนผลายในแผนการเรียน วิทย์-คณิต, อังกฤษ-คณิต, อังกฤษ-ฝรั่งเศส, อังกฤษ-เยอรมัน, อังกฤษ-ญี่ปุ่น และอังกฤษ-จีน
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ ตั้งอยู่เลขที่ 186 หมู่ 8 ถนนเชียงใหม่-ฝาง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 บนเนื้อที่ประมาณ 101 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 500 เมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 10 กิโลเมตร หากเดินทางลัดเลาะตามถนนริมคลองชลประทานมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าเขตตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จะพบอาคารแบบพิเศษทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารเรียนของ “โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่” ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางไม้ยืนต้น ไม้ประดับ และโอบล้อมด้วยเทือกเขาถนนธงชัย
ภูมิประเทศโดยทั่วไปของโรงเรียนจะตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีผลต่อการสร้างอาคารเรียน
ด้านหน้าอาคารเรียน จะเป็นสนามฟุตซอลและสนามบาสเกตบอล และมีเสาธง ซึ่งจะใช้สนามแห่งนี้ เป็นที่เข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วยนอกจากนั้นในบริเวณโรงเรียนยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ 17 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเดิมที่มีน้ำขังตลอดปีเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนในด้านการเกษตรกรรม และด้านอุปโภคเป็นอย่างมาก โดยรอบสระนี้จะมีการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม เช่น เฟื่องฟ้า ทองกวาว ราชพฤกษ์ เป็นต้น โรงเรียนจึงมีนโยบายที่จะอนุรักษ์สภาพธรรมชาติเดิมไว้ให้มากที่สุด
เป็นการรับสมัครนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 เข้าอบรมคัดเลือกกันเองเพื่อเลือกผู้สมัครตำแหน่งประธานนักเรียน จากนั้นจะมีการเสนอชื่อผู้ที่ถูกคัดเลือกผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและฝ่ายกิจการนักเรียน ต่อมาเมื่อประกาศรายชื่อผู้สมัคร จึงให้นักเรียนลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ดำรงตำแหน่งประธานนักเรียน ลำดับรองลงมาจะได้ดำรงตำแหน่งรองประธานนักเรียนฝ่ายต่าง ๆ ส่วนสมาชิกที่เหลือและผ่านการอบรมหลักสูตรผู้นำของโรงเรียนแล้วจะได้ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ในคณะกรรมการนักเรียนต่อไป ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเพียง 1 วาระ คือ 1 ปีการศึกษา
โรงเรียนมีการแบ่งนักเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาสี ทำกิจกรรมของโรงเรียนในโอกาสต่าง ๆ โดยเรียกว่า "คณะสี" แบ่งเป็น 6 คณะ (สังเกตได้จากสีของตราสัญลักษณ์โรงเรียนที่ปักอยู่บนเสื้อของนักเรียน โดยในอดีตมีการแบ่งตามห้องเรียน แบบสุ่ม หรือเลขประจำตัวนักเรียน แล้วแต่กรณี) ซึ่งได้มีการอัญเชิญนามวังและพระตำหนักในรัชกาลที่ 9 ตามภูมิภาคต่าง ๆ มาเป็นชื่อคณะสี ดังนี้
ทั้งนี้ ประธานคณะสีจะมาจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งถูกคัดเลือกโดยสมาชิกทุกคนในคณะสี เพื่อดำรงตำแหน่งประธานคณะสีและเป็นผู้ถือธงประจำคณะ มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเพียง 1 วาระ คือ 1 ปีการศึกษาเช่นเดียวกันกับคณะกรรมการนักเรียนในปีการศึกษานั้น ๆ
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ | |||
ลำดับ / รายนาม | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | |
---|---|---|---|
(1) นางดาวเรือง รัตนิน | ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ |
2529 | |
(2) นายมานิตย์ ศรีพิทักษ์ | ผู้อำนวยการ ระดับ 8 | 2529 - 2539 | |
(3) นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล | ผู้อำนวยการ ระดับ 8 | 2539 - 2540 | |
(4) นายเขียน แสงหนุ่ม | ผู้อำนวยการ ระดับ 9 | 2540 - 2543 | |
(5) นายณรงค์ บำรุงศรี | ผู้อำนวยการ ระดับ 8 | 2543 - 2545 | |
(6) นายอำพล บุญอยู่ | ผู้อำนวยการ ระดับ 8 | 2545 - 2550 | |
(7) นายพล พิชัย | รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ | 2550 - 2552 | |
(8) นายจุมพล ศรีสวัสดิ์ | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 2552 - 2553 | |
(9) นายพล พิชัย | รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ | 2553 - 2554 | |
(10) นายนิคม สินธุพงษ์ | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 2554 - 2555 | |
(11) นายอรรณสฏฐ์ สุสุข | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 2555 - 2557 | |
(12) ดร. มัสฤณ ธนนราพงศ์ | ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ | 2557 - 30 กันยายน 2560 | |
(13) นางนราภรณ์ รักสกุลกานต์ | รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ | ตุลาคม 2560 - 16 พฤษภาคม 2561 | |
(14) นายวีระ ศิริรัตน์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | 17 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2564 | |
(15) ดร. ธาราทิพย์ วงษ์บรรณะ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | 1 ตุลาคม 2564 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.