เมแทบอไลต์ หรือ สารในกระบวนการสร้างและสลาย[1] (อังกฤษ: metabolite) เป็นสารมัธยันตร์ (intermediate) คือไม่ใช่สารที่ได้ในที่สุดของกระบวนการเมแทบอลิซึม คำปกติจะจำกัดใช้กับสารที่โมเลกุลเล็ก (มวลโมเลกุล < 900 daltons[2]) เมแทบอไลต์มีหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นพลังงาน โครงสร้าง สัญญาณ (signaling) มีผลกระตุ้นหรือยับยั้งเอนไซม์ เป็นสารเร่งปฏิกิริยาเอง (โดยเป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์) ป้องกันสิ่งมีชีวิต และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (เช่น เป็นสารสี สารออกกลิ่น หรือฟีโรโมน) เมแทบอไลต์ปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary metabolite) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเติบโต การดำรงสภาพ และการรอดชีวิตของสิ่งมีชีวิต[3] ตัวอย่างเช่น เอทิลีน ซึ่งสามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยจุลชีพ ส่วน เมแทบอไลต์ทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary metabolite) ไม่เกี่ยวกับกระบวนการเช่นนั้น แต่อาจมีหน้าที่ทางนิเวศ ตัวอย่างคือ ยาปฏิชีวนะและสารสี เช่น เรซินและ terpene [upper-alpha 1] เป็นต้น ยาปฏิชีวนะบางอย่างมีเมแทบอไลต์ปฐมภูมิเป็นสารตั้งต้น เช่น ยา actinomycin สร้างจากเมแทบอไลต์ปฐมภูมิคือ tryptophan น้ำตาลบางอย่างเป็นเมแทบอไลต์ เช่น ฟรักโทสหรือกลูโคส ทั้งสองอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึมของกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์
ชั้น | ตัวอย่าง |
---|---|
แอลกอฮอล์ | เอทานอล |
กรดอะมิโน | กรดกลูตามิก กรดแอสปาร์ติก |
นิวคลีโอไทด์ | 5' guanylic acid |
สารต้านอนุมูลอิสระ | Isoascorbic acid |
กรดอินทรีย์ | กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก |
Polyols | Glycerol |
วิตามิน | วิตามินบี 2 |
สารเคมีมีโมเลกุลเล็กทั้งหมดในสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาทางเมทาบอลิซึมมากมาย โดยผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์หนึ่ง ๆ จะใช้เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาอีกอย่างหนึ่ง เมทาบอไลต์จากสารประกอบเคมี ไม่ว่าที่มีตามธรรมชาติหรือที่ทำเพื่อเป็นยา เกิดจากกระบวนการเคมีชีวภาพที่สลายและกำจัดสารประกอบ[8] อัตราการแตกสารประกอบเป็นตัวกำหนดระยะและความแรงของปฏิกิริยา การกำหนดเมแทบอไลต์ของสารประกอบที่ใช้เป็นยา คือเมแทบอลิซึมของยา เป็นส่วนสำคัญในการค้นพบยา เพราะทำให้สามารถเข้าใจผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ
เชิงอรรถ
- terpene (เทอร์พีน) เป็นสารประกอบอินทรีย์ชั้นใหญ่ที่หลายหลาก พืชหลายอย่างผลิต เช่น พืชชั้น Pinopsida มีต้นสนเป็นต้น[4] แมลงบางอย่างก็ผลิตด้วย เช่น ปลวกและผีเสื้อบางชนิด โดยตัวอ่อนปล่อยเทอร์พีนจากต่อมป้องกันตัวที่เรียกว่า osmeteria บ่อยครั้งมีกลิ่นแรง อาจป้องกันพืชที่ผลิตมันโดยกันสัตว์กินพืชและเรียกความสนใจของสัตว์ล่าเหยื่อและปรสิตของสัตว์กินพืช[5][6] เทอร์พีนต่างกับเทอร์พีนอยด์ (terpenoid) เพราะเป็นไฮโดรคาร์บอน เทอร์พีนอยด์จะมีหมู่ทำหน้าที่เพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.