เพลงฮอสท์ เว็สเซิล (เยอรมัน: Horst-Wessel-Lied) หรือที่รู้จักจากคำขึ้นต้นว่าเพลง ธงอยู่สูงเด่น (เยอรมัน: Die Fahne hoch) เป็นเพลงประจำพรรคนาซีตั้งแต่ ค.ศ. 1930–1945 และใช้เป็นเพลงชาติร่วมของนาซีเยอรมนี (บทแรกของเพลงเยอรมันเหนือทุกสรรพสิ่ง) ตั้งแต่ ค.ศ. 1933–1945[1]

ข้อมูลเบื้องต้น คำแปล: เพลงฮอสท์ เว็สเซิล, ชื่ออื่น ...
เพลงฮอสท์ เว็สเซิล
คำแปล: เพลงฮอสท์ เว็สเซิล
Thumb
สกอร์เพลงเพลงฮอสท์ เว็สเซิล

เพลงชาติของไรช์เยอรมัน นาซีเยอรมนี
ชื่ออื่นDie Fahne hoch (ธงอยู่สูงเด่น)
เนื้อร้องฮอสท์ เว็สเซิล, ค.ศ. 1929
รับไปใช้19 พฤษภาคม ค.ศ. 1933
เลิกใช้5 มิถุนายน ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน (สาธารณรัฐไวมาร์)
ถัดไปดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) (เยอรมนีตะวันตก)
เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน) (เยอรมันตะวันออก)
ลันด์เดอร์แบร์เกอ ลันด์อัมชโตรเมอ (สาธารณรัฐออสเตรีย)
ตัวอย่างเสียง
เพลงฮอสท์ เว็สเซิล (ขับร้อง)
ปิด
Thumb
ฮอสท์ เว็สเซิล ผู้ประพันธ์เพลง
Thumb
ฮอสท์ เว็สเซิล (หน้าสุด) เดินนำแถวหน่วยเอ็สอาของตนเองที่เมืองเนือร์นแบร์ค (ค.ศ. 1929)

เนื้อร้องของเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1929 ที่เขตฟรีดริชส์ไฮน์ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยฮอสท์ เว็สเซิล ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวลัทธินาซีและเป็นผู้บังคับการกองกำลังพายุ ชตวร์มอัพไทลุง (Sturmabteilung) หรือ เอ็สอา (SA) ระดับท้องถิ่น ต่อมาเมื่อเว็สเซิลถูกสังหารอย่างอุกอาจโดยอัลเบรชท์ เฮอเลอร์ (Albrecht Höhler) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1930 โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ได้ดำเนินการทำให้เขาเป็นมรณสักขีแห่งขบวนการนาซี เพลงนี้จึงได้มีการบรรเลงครั้งแรกในงานศพของเว็สเซิลเอง และหลังจากนั้นก็ได้ถูกนำใช้อย่างเข้มข้นในการดำเนินกิจกรรมของพรรค เช่น การขับร้องเพลงนี้ของหน่วยเอสเอระหว่างการเดินแถวตามท้องถนน เป็นต้น

เมื่อพรรคนาซีเถลิงอำนาจในปี ค.ศ. 1933 เพลงฮอสท์ เว็สเซิลก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ในปีถัดมาจึงมีการออกข้อบังคับให้มีการชูแขนขวาทำการคารวะแบบนาซี เมื่อมีการขับร้องเพลงนี้ในบทที่ 1 และบทที่ 4 (ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน) ในตอนท้ายของภาพยนตร์เรื่อง ทรีอุมฟ์เดสวิลเลนส์ หรือ ชัยชนะแห่งเจตจำนง ของเลนี รีเฟนสทาล (ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซี) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1935 จะพบว่าบรรดาผู้นำของพรรคนาซีมีการร่วมร้องเพลงเพลงฮอสท์ เว็สเซิล อยู่ด้วย

หลังระบอบนาซีล่มสลายใน ค.ศ. 1945 เพลงฮอสท์ เว็สเซิลได้กลายเป็นเพลงต้องห้าม ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายทั้งในประเทศเยอรมนีและออสเตรียจนทุกวันนี้ เว้นแต่ใช้เพลงเพื่อการศึกษาและวิชาการเท่านั้น

เนื้อร้อง

ฉบับทางการ

เป็นฉบับที่มีการแก้ไขแล้วหลังการตายของฮอสท์ เว็สเซิล

01Die Fahne hoch! Die Reihen fest geschlossen!
SA marschiert mit ruhig festem Schritt.
Kam'raden, die Rotfront und Reaktion erschossen,
Marschier'n im Geist in uns'ren Reihen mit.
ธงอยู่สูงเด่น! แถวชิดติดกันอย่างแน่นหนา!
เอ็สอาเดินหน้า ฝีเท้าเยือกเย็นมั่นคง
สหายของเรา ถูกแนวร่วมแดงและปฏิปักษ์ยิง
วิญญาณพวกเขา ร่วมเดินเคียงข้างในแถว
02Die Straße frei den braunen Bataillonen.
Die Straße frei dem Sturmabteilungsmann!
Es schau'n aufs Hakenkreuz voll Hoffnung schon Millionen.
Der Tag für Freiheit und für Brot bricht an!
ถนนเปิดโล่ง ให้กองพันเสื้อสีน้ำตาล
ถนนเปิดโล่ง ให้พลแห่งหน่วยพายุ!
สวัสติกะ แบกความหวังของประชาชนนับล้าน
วันแห่งเสรี และขนมปังมาถึงแล้ว!
03Zum letzten Mal wird Sturmalarm geblasen!
Zum Kampfen steh'n wir alle schon bereit!
Schon flattern Hitler-Fahnen über allen Straßen.
Die Knechtschaft dauert nur noch kurze Zeit!
สัญญาณออกศึก ดังขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย!
พวกเราทุกนาย เตรียมพร้อมออกศึกนั้นแล้ว!
ธงของฮิตเลอร์ ได้โบกสะบัดเหนือถนนทุกสาย
พันธนาการ ไม่นานจะหมดสิ้นไป!
04Die Fahne hoch! Die Reihen fest geschlossen!
SA marschiert mit ruhig festem Schritt.
Kameraden, die Rotfront und Reaktion erschossen,
Marschieren im Geist in unseren Reihen mit.
ธงอยู่สูงเด่น! แถวชิดติดกันอย่างแน่นหนา!
เอ็สอาเดินหน้า ฝีเท้าเยือกเย็นมั่นคง
สหายของเรา ถูกแนวร่วมแดงและปฏิปักษ์ยิง
วิญญาณพวกเขา ร่วมเดินเคียงข้างในแถว

คำว่า "แนวร่วมแดง" ("Rotfront") ในที่นี้อ้างอิงถึงหน่วยร็อตฟรอนท์คัมป์แฟร์บุนด์ (เยอรมัน: Rotfrontkämpferbund) หรือ "สันนิบาตนักรบแนวร่วมแดง" ซึ่งเป็นกำลังกึ่งทหารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี (KPD) เป็นเรื่องปกติที่หน่วยเอ็สอาของพรรคนาซีกับสันนิบาตนักรบแนวร่วมแดงจะเผชิญหน้าและสู้รบกันตามท้องถนนในเยอรมนีเวลานั้น ก่อนที่จะขยายวงกว้างเป็นการรบเต็มรูปแบบภายหลังปีค.ศ. 1930 ส่วนคำว่า "ปฏิปักษ์" (เยอรมัน: "Reaktion") หมายถึงพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมและรัฐบาลเยอรมันแนวเสรีนิยมประชาธิไตยในยุคสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งได้พยายามกดดันหน่วยเอ็สอาหลายครั้งแต่ล้มเหลว คำว่า "Die Knechtschaft" ซึ่งในที่นี้แปลว่า "พันธนาการ" หมายถึงภาระผูกพันของเยอรมนีตามสนธิสัญญาแวร์ซาย ค.ศ. 1919

การแก้ไขหลังการตายของเว็สเซิล

บทร้องเพลงฮอสท์ เว็สเซิล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของพรรคนาซีในกรุงเบอร์ลินชื่อ แดร์อันกริฟฟ์ (Der Angriff) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1929 โดยลงนามผู้แต่งเพลงว่า พลเอ็สอานิรนาม (Der Unbekannte SA-Mann) บทร้องบางส่วนได้มีการแก้ไขหลังการตายของฮอสท์ เว็สเซิล ดังนี้

บทที่ 1 วรรคที่ 2 SA marschiert mit mutig festem Schritt     เอ็สอาเดินหน้า ฝีเท้าหนักแน่นมั่นคง
  SA marschiert mit ruhig festem Schritt     เอ็สอาเดินหน้า ฝีเท้าเยือกเย็นมั่นคง
 
บทที่ 3 วรรคที่ 1 Zum letzten Mal wird nun Appell geblasen!     สัญญาณออกศึก ดังขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย !
  Zum letzten Mal wird Sturmalarm geblasen!     สัญญาณพายุ ดังขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย !
 
บทที่ 3 วรรคที่ 3 Bald flattern Hitler-fahnen über Barrikaden     ธงของฮิตเลอร์ ใกล้โบกสะบัดเหนือด่านกีดขวาง
  Bald flattern Hitler-Fahnen über allen Straßen     ธงของฮิตเลอร์ ใกล้โบกสะบัดเหนือถนนทุกสาย
  Schon flattern Hitler-Fahnen über allen Straßen     ธงของฮิตเลอร์ ได้โบกสะบัดเหนือถนนทุกสาย

การแก้ไขคำว่า "Barrikaden" (ด่านกีดขวาง) สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของพรรคนาซีในช่วงปี ค.ศ. 1930 - 1933 ที่ต้องการแสดงว่าเป็นพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญที่ต้องการอำนาจรัฐโดยชอบด้วยกฎหมายมากกว่าเป็นพรรคปฏิวัติ

หลังมรณกรรมของเว็สเซิล ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อร้องบทใหม่ซึ่งประพันธ์ขึ้นเป็นเกียรติแก่เว็สเซิล เนื้อร้องเหล่านี้เป็นที่นิยมร้องโดยหน่วยเอ็สอา แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อร้องฉบับทางการซึ่งใช้โดยพรรคหรือรัฐ

Sei mir gegrüßt, Du starbst den Tod der Ehre!
Horst Wessel fiel, doch tausend neu erstehen
Es braust das Fahnenlied voran dem braunen Heere
SA bereit, den Weg ihm nachzugehen
Die Fahnen senkt vor Toten, die noch leben
Es schwört SA, die Hand zur Faust geballt
Einst kommt der Tag, da gibts Vergeltung, kein Vergeben
wenn Heil und Sieg durchs Vaterland erschallt.
เราขอเคารพ ท่านตายด้วยเกียรติสูงส่ง!
ฮอสท์ เว็สเซิลสิ้น อีกนับพันจักเกิดก่อใหม่
เพลงธงดังกังวาน นำทางกองทัพสีน้ำตาลไป
เอ็สอาพร้อมใจ ติดตามแนวทางของท่าน
ธงลดต่ำลง ต่อหน้าคนตายผู้ยังมีลมหายใจ
เอ็สอาปฏิญาณ มือนั้นกุมหมัดไว้แน่น
วันนั้นจักต้องมาถึง เพื่อล้างแค้น ไร้คำว่าอภัย
เมื่อคำว่า "ไฮล์" และ "ซีค" ดังทั่วปิตุภูมิ

ทำนอง

หลังเว็สเซิลเสียชีวิต เขาได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้ประพันธ์ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลง "เพลงฮอสท์ เว็สเซิล" อย่างไรก็ตาม ในระหว่างปี ค.ศ. 1930 - 1933 ได้มีข้อวิจารณ์ถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยชี้ว่าทำนองเพลงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่านั้น ตัวอย่างหนึ่งของเพลงที่มีทำนองคล้ายกับเพลงนี้มากก็คือเพลง "How Great Thou Art" ซึ่งเป็นเพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า (hymn) อันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป การวิจารณ์ฐานะความเป็นผู้ประพันธ์ของฮอสท์ เว็สเซิล ได้กลายเป็นความคิดต้องห้ามไปหลังปี ค.ศ. 1933 เมื่อพรรคนาซีได้เถลิงอำนาจปกครองเยอรมนี และการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อาจทำให้ได้รับโทษหนัก

แหล่งที่มาที่น่าจะส่งผลโดยตรงต่อทำนองเพลงนี้มากที่สุดเป็นบทเพลงยอดนิยมในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าเว็สเซิลจะเคยได้ยินเพลงดังกล่าวที่ขับร้องโดยอดียทหารเรือในกรุงเบอร์ลินช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันตามวรรคเริ่มของเพลงที่ว่า Vorbei, vorbei, sind all die schönen Stunden, หรือในชื่อ Königsberg-Lied, ตามชื่อเรือลาดตระเวน "เคอร์นิกสแบร์ก" ซึ่งถูกกล่าวถึงในเนื้อร้องฉบับหนึ่งของเพลงนี้ บทเริ่มของเพลงดังกล่าวทั้งหมดมีใจความว่า

Vorbei, vorbei sind all die schönen Stunden
die wir verlebt am schönen Ostseestrand
Wir hatten uns, ja uns so schön zusamm'n gefunden
es war für uns der allerschönste Ort.
ผันผ่านพ้นไป คือเวลาอันแสนสุขทั้งหมด
ซึ่งเราได้ใช้ไปบนชายฝั่งทะเลบอลติก
ในหมู่พวกเรา ทุกสิ่งทุกอย่างดูงดงามสดใส
และเป็นที่ๆ ดีที่สุดของพวกเราทุกคน

เพลงเยอรมันอีกเพลงหนึ่งชื่อว่า Der Abenteurer (นักผจญภัย) มีบทขึ้นต้นว่า

Ich lebte einst im deutschen Vaterlande
Bei goldner Freiheit achtzehn Jahr dahin.
Da zog die Neubegierde mich zum Strande,
Und ich bestieg ein Schiff mit frohem Sinn.
ครั้งหนึ่งฉันได้อาศัยในปิตุภูมิเยอรมนี
ในอิสรภาพอันเรืองรองนานสิบแปดปี
ความอยากรู้อยากเห็นได้ล่อฉันมาที่ชายหาด
แล้วฉันก็ได้ขึ้นเรือไปด้วยใจร่าเริงยินดี

ในปี ค.ศ. 1936 อัลเฟรด ไวเดมันน์ (Alfred Weidemann) นักวิจารณ์ดนตรีชาวเยอรมัน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งเขาได้ระบุว่าทำนองเพลงได้ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1865 โดย ปีเตอร์ คอร์เนลิอุส ในฐานะ "Urmelodie" (source-melody, ทำนองเพลงต้นตอ).[2] ตามคำกล่าวของไวเดมันน์นั้น คอร์เนลิอุสได้ระบุเพลงนี้ว่าเป็น "ทำนองเพลงพื้นบ้านเวียนนา" ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เขาสรุปว่านี่คือต้นตอแรกสุดของทำนองเพลง "เพลงฮอสท์ เว็สเซิล"[3]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.