บ้านไร่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด เดิมมีพื้นที่ถึง 5,126.07 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 76.16 ของพื้นที่จังหวัด) ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก[1][2]อำเภอห้วยคต[3][4] พื้นที่ของอำเภอส่วนใหญ่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอบ้านไร่, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอบ้านไร่ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Rai |
---|
|
คำขวัญ: ห้วยขาแข้ง แหล่งผ้าทอ หน่อไม้สด สับปะรดฉ่ำ ถ้ำหลายแห่ง แหล่งชาวเขา |
แผนที่จังหวัดอุทัยธานี เน้นอำเภอบ้านไร่ |
พิกัด: 15°5′2″N 99°31′16″E |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | อุทัยธานี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 3,621.5 ตร.กม. (1,398.3 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2565) |
---|
• ทั้งหมด | 68,017 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 18.78 คน/ตร.กม. (48.6 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 61140, 61180 (เฉพาะตำบลวังหิน เมืองการุ้ง หูช้าง หนองจอก บ้านใหม่คลองเคียน และหนองบ่มกล้วย) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 6106 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านไร่ หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 4 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 61140 |
---|
|
ปิด
อำเภอบ้านไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
อำเภอบ้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพื้นที่ที่มีผลกระวาน มูลค้างคาว และช้างป่า และได้จัดส่งไปยังเมืองหลวงมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ท้องที่อำเภอบ้านไร่เดิมเป็นด่านสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีนายด่านชื่อพระอินทร์ ด่านหนองหลวง ได้ปรากฏในพงศาวดารว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพติดตามกองทัพพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ไปจนถึงด่านหนองหลวงแล้วกลับคืนพระนคร
- วันที่ 24 กันยายน 2454 แยกพื้นตำบลแม่ละมุ้ง ตำบลโมโกร ตำบลอุ้มผาง ตำบลหนองหลวง อำเภอหนองหลวง และตำบลแม่จัน ตำบลแม่กลอง อำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี รวมหกตำบลและจัดตั้งเป็น อำเภอแม่กลอง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนอีกสามตำบลของอำเภอแม่กลองที่เหลืออยู่ คือ ตำบลคอกควายเหนือ ตำบลคอกควายใต้ ตำบลแก่นมะกรูด ให้โอนมาขึ้นกับอำเภอหนองหลวง จังหวัดอุทัยธานี รวมกับท้องที่ตำบลลานสัก อำเภอหนองหลวง และตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลคอกควายใต้[5]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหนองหลวง จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอคอกควาย[6]
- วันที่ 17 มกราคม 2468 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอห้วยแห้ง อำเภอบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี เป็น อำเภอบ้านไร่[7] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุทัยธานี
- วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลทัพหลวง และตำบลห้วยแห้ง ตั้งตำบลห้วยคต แยกออกจากตำบลวังหิน[8]
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านไร่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านไร่[9]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2514 ตั้งตำบลประดู่ยืน แยกออกจากตำบลลานสัก[10]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลลานสัก และตำบลประดู่ยืน จากอำเภอบ้านไร่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลานสัก[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านไร่
- วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลป่าอ้อ แยกออกจากตำบลลานสัก และตำบลประดู่ยืน[11]
- วันที่ 25 กันยายน 2522 ตั้งตำบลสุขฤทัย แยกออกจากตำบลห้วยคต[12]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ เป็น อำเภอลานสัก[2]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลหนองจอก แยกออกจากตำบลทัพหลวง[13]
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลเมืองการุ้ง แยกออกจากตำบลวังหิน[14]
- วันที่ 5 มิถุนายน 2527 ตั้งตำบลทองหลาง แยกออกจากตำบลคอกควาย และตำบลห้วยคต[15]
- วันที่ 21 สิงหาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลห้วยคต ตำบลสุขฤทัย และตำบลทองหลาง อำเภอบ้านไร่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยคต[3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบ้านไร่
- วันที่ 1 มิถุนายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองการุ้ง ในท้องที่หมู่ 4 ของตำบลวังหิน[16]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลหูช้าง แยกออกจากตำบลทัพหลวง[17]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านบึง แยกออกจากตำบลบ้านไร่[18]
- วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลบ้านใหม่คลองเคียน แยกออกจากตำบลวังหิน[19]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลหนองบ่มกล้วย แยกออกจากตำบลหนองจอก[20]
- วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลเจ้าวัด แยกออกจากตำบลห้วยแห้ง[21]
- วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ เป็น อำเภอห้วยคต[4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านไร่ และสุขาภิบาลเมืองการุ้ง เป็น เทศบาลตำบลบ้านไร่ และเทศบาลตำบลเมืองการุ้ง ตามลำดับ[22] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลแก่นมะกรูด รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่[23]
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอบ้านไร่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 136 หมู่บ้าน ได้แก่
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, อักษรไทย ...
ลำดับ |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[24] |
1. |
บ้านไร่ |
Ban Rai |
11 |
8,961 |
2. |
ทัพหลวง |
Thap Luang |
15 |
7,818 |
3. |
ห้วยแห้ง |
Huai Haeng |
9 |
4,848 |
4. |
คอกควาย |
Khok Khwai |
16 |
7,629 |
5. |
วังหิน |
Wang Hin |
6 |
3,271 |
6. |
เมืองการุ้ง |
Mueang Ka Rung |
13 |
6,951 |
7. |
แก่นมะกรูด |
Kaen Makrut |
4 |
2,338 |
8. |
หนองจอก |
Nong Chok |
16 |
5,289 |
9. |
หูช้าง |
Hu Chang |
13 |
6,557 |
10. |
บ้านบึง |
Ban Bueng |
7 |
3,575 |
11. |
บ้านใหม่คลองเคียน |
Ban Mai Khlong Khian |
8 |
3,359 |
12. |
หนองบ่มกล้วย |
Nong Bom Kluai |
11 |
3,402 |
13. |
เจ้าวัด |
Chao Wat |
7 |
4,017 |
ปิด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอบ้านไร่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4 และตำบลบ้านบึง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1
- เทศบาลตำบลเมืองการุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองการุ้ง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4–5, 9–10
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดทั้งตำบลและตำบลบ้านไร่ เฉพาะหมู่ที่ 2–3, 5–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 4
- องค์การบริหารส่วนตำบลทัพหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทัพหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแห้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคอกควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอกควายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองการุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองการุ้ง เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 6–8, 11–13 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–5, 9–10
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหูช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง เฉพาะหมู่ที่ 2–7 และบางส่วนของหมู่ที่ 1
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่คลองเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่คลองเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่มกล้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบ่มกล้วยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเจ้าวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ้าวัดทั้งตำบล
"พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-05 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542