Loading AI tools
เป็นสะพานที่ข้ามคลองคูเมืองเดิมในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้หมายถึงสะพานหกในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในความหมายอื่น ดูที่: สะพานยก
สะพานหก | |
---|---|
ข้าม | คลองคูเมืองเดิม |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานเจริญศรี 34 |
ท้ายน้ำ | สะพานช้างโรงสี |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | เปิด-ปิดได้ |
วัสดุ | คอนกรีต |
ทางเดิน | 1 (สะพานคนเดิน) |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานหก |
ขึ้นเมื่อ | 11 กันยายน พ.ศ. 2540 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000053 |
ที่ตั้ง | |
สะพานหก เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองคูเมืองเดิม ตั้งอยู่ในแขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชื่อสะพานเรียกตามลักษณะซึ่งนำแบบมาจากสะพานในประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อเนื่องถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะพิเศษคือสามารถยกหรือหกให้เรือผ่านได้ โดยมีสะพานลักษณะเช่นนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มากด้วยกันถึง 8 แห่ง ทั้งในฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ
แต่ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
สะพานหกที่เชื่อมระหว่างถนนอัษฎางค์กับถนนราชินีมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ สวนสราญรมย์, อนุสาวรีย์หมูและสะพานปีกุน, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, สะพานมอญ, สะพานช้างโรงสี, กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม
สะพานหกเดิมเป็นสะพานไม้และได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาในช่วงฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525 ทางรัฐบาลได้ดำเนินการสร้างสะพานหกใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามขึ้นมาใหม่ โดยปรับจากโครงสร้างไม้ปลายตุ้มเหล็กมาเป็นสะพานคอนกรีตสำหรับเดินข้าม แต่ให้คงลักษณะเหมือนอย่างโบราณเพื่อเป็นอนุสรณ์ของกรุงรัตนโกสินทร์[1][2] ในขณะที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนสะพานหกหลังกระทรวงกลาโหมเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2540[3]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.