สะพานมอญ (กรุงเทพมหานคร)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมถนนเจริญกรุงในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สะพานมอญ | |
---|---|
เส้นทาง | ถนนเจริญกรุง |
ข้าม | คลองคูเมืองเดิม |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวัง และแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ตั้งชื่อตาม | ชาวมอญ |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานหก |
ท้ายน้ำ | สะพานอุบลรัตน์ |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานคาน |
วัสดุ | อิฐถือปูน |
ทางเดิน | 2 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานมอญ |
ขึ้นเมื่อ | 17 มีนาคม พ.ศ. 2542 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000058 |
ชื่ออักษรไทย | สะพานมอญ |
ชื่ออักษรโรมัน | Saphan Mon |
รหัสทางแยก | N116 (ESRI), 081 (กทม.) |
ที่ตั้ง | แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ทิศทางการจราจร | |
↑ | ถนนอัษฎางค์ » แยกสะพานช้างโรงสี |
→ | ถนนเจริญกรุง » สี่กั๊กพระยาศรี |
↓ | ถนนอัษฎางค์ » แยกพระพิทักษ์ |
← | ถนนเจริญกรุง » แยกท้ายวัง |
ที่ตั้ง | |
สะพานมอญเดิมเป็นสะพานช้าง (คือสะพานที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคงแข็งแรงพอที่ช้างจะเดินข้ามได้)[1] ซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานไม้ข้ามคลองคูเมืองเดิมหลังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพหนีภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยามาพร้อม ๆ กับชาวไทย ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณคลองคูเมืองเดิมใกล้ป้อมวิชัยประสิทธิ์
ต่อมาพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นผู้นำรวบรวมแรงงานชาวมอญ ซึ่งก็เป็นบรรดาญาติ ๆ และข้าทาสบริวารทั้งหลายที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นสร้างสะพานข้ามคลองขึ้น จึงได้เรียกกันต่อมาว่า สะพานมอญ ในชั้นแรกสร้างด้วยไม้ธรรมดา ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้จึงได้มีการก่อสร้างใหม่ก่อด้วยอิฐถือปูนดังในยุคปัจจุบัน[2]
ภายหลังทางการได้นำชื่อสะพานมาตั้งเป็นชื่อทางแยกบริเวณที่ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนอัษฎางค์[3] ระหว่างถนนสนามไชยกับถนนบ้านหม้อ ติดกับคลองคูเมืองเดิม และอยู่ใกล้กับสวนสราญรมย์
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.