Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2562 คือช่วงของฤดูกาลที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก โดยฤดูกาลนี้จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายน ในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก และไปจบลงพร้อมกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน[1] โดยขอบเขตดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ตลอดเวลา
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2562 | |
---|---|
แผนที่สรุปฤดูกาล | |
ขอบเขตฤดูกาล | |
ระบบแรกก่อตัว | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
ระบบสุดท้ายสลายตัว | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
พายุมีกำลังมากที่สุด | |
ชื่อ | บาร์บารา |
• ลมแรงสูงสุด | 155 ไมล์/ชม. (250 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที) |
• ความกดอากาศต่ำที่สุด | 930 มิลลิบาร์ (hPa; 27.46 inHg) |
สถิติฤดูกาล | |
พายุดีเปรสชันทั้งหมด | 21 ลูก |
พายุโซนร้อนทั้งหมด | 19 ลูก |
พายุเฮอริเคน | 7 ลูก |
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ (ระดับ 3 ขึ้นไป) | 4 ลูก |
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด | ทั้งหมด 11 คน |
ความเสียหายทั้งหมด | 16.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน USD ปี 2019) |
ฤดูกาลนี้เริ่มต้นขึ้นช้ากว่าวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่มีพายุหมุนเขตร้อนตัวขึ้นเลยในเดือนพฤษภาคมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และเป็นครั้งแรกที่ไม่มีพายุก่อตัวขึ้นก่อนเดือนมิถุนายนนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 (แม้ว่าพายุเฮอริเคนปาลีจะก่อตัวขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ก็ตาม) ทำให้ฤดูนี้กลายเป็นฤดูที่มีพายุก่อตัวช้าที่สุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกฤดูพายุเฮอริเคนที่เชื่อถือได้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 โดยมีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นลูกแรกในวันที่ 25 มิถุนายน
บันทึก | พายุที่ ได้รับชื่อ |
พายุเฮอริเคน | พายุเฮอริเคน ขนาดใหญ่ |
อ้างอิง | |
---|---|---|---|---|---|
ค่าเฉลี่ย (2524–2553): | 15.4 | 7.6 | 3.2 | [2] | |
สถิติกิจกรรมสูงสุด: | 27 ลูก (2535) | 16 ลูก (2558) | 11 ลูก (2558) | [3] | |
สถิติกิจกรรมต่ำสุด: | 8 ลูก (2553) | 3 ลูก (2553) | 0 ลูก (2546) | [3] | |
วันที่ | ข้อมูล | พายุที่ ได้รับชื่อ |
พายุเฮอริเคน | พายุเฮอริเคน ขนาดใหญ่ |
อ้างอิง |
15 พฤษภาคม 2562 | SMN | 19 ลูก | 11 ลูก | 6 ลูก | [4] |
23 พฤษภาคม 2562 | NOAA | 15-22 ลูก | 8-13 ลูก | 4-8 ลูก | [5] |
พื้นที่ | พายุที่ ได้รับชื่อ | พายุเฮอริเคน | พายุเฮอริเคน ขนาดใหญ่ | อ้างอิง | |
เกิดขึ้นจริง: | EPAC | 16 ลูก | 7 ลูก | 4 ลูก | |
เกิดขึ้นจริง: | CPAC | 2 ลูก | 0 ลูก | 0 ลูก | |
เกิดขึ้นจริง: | 18 ลูก | 7 ลูก | 4 ลูก |
วันที่ 15 พฤษภาคม บริการอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเม็กซิโก (SMN) ได้ออกการพยากรณ์ฉบับแรกสำหรับฤดูกาล โดยคาดหมายว่าจะมีพายุที่ได้รับชื่อรวม 19 ลูก เป็นพายุเฮอริเคน 11 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 6 ลูก[4] วันที่ 23 พฤษภาคม องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ ได้ออกการพยากรณ์รายฤดูกาล โดยคาดว่ามีโอกาส 70% ที่ฤดูกาลจะอยู่ในช่วงใกล้เคียงถึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในแอ่งแปซิฟิกกลางและตะวันออก โดยจะมีพายุที่ได้รับชื่อรวม 15–22 ลูก เป็นพายุเฮอริเคน 8–13 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 4–8 ลูก[5] โดยมีเหตุผลของการคาดหมาย คือ การพยากรณ์ว่าจะเกิดเอลนีโญดำเนินต่อไปในฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลให้ลมเฉือนแนวตั้งที่พัดข้ามแอ่งลดลง และอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงขึ้น นอกจากนี้ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ทั่วโลกหลายแบบจำลองยังคาดหมายว่าค่าความผิดปกติรอบสิบปีแปซิฟิก (PDO) เป็นบวก โดย PDO คือระยะเวลารอบวัฏจักรในหลายทศวรรษซึ่งอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลจะอุ่นกว่าปกติ โดยดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557 แล้ว ในทางกลับกัน ช่วงปี 2538–2556 จึงมีลักษณะเป็นช่วงที่มีกิจกรรมต่ำกว่าค่าปกติโดยทั่วไป[6]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.) |
พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.) | พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.) |
พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.) |
ฤดูอย่างเป็นทางการเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคมในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง โดยทั้งสองแอ่งจะไปสิ้นสุดลงพร้อมกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน[7] โดยกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนแรกเริ่มต้นช้ากว่าวันเริ่มฤดูอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 25 – 29 มิถุนายน | ||
ความรุนแรง | 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที) 992 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.29 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 155 ไมล์/ชม. (250 กม./ชม.) (1 นาที) 933 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.55 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 6 – 8 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที) 1001 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.56 นิ้วปรอท) |
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 12 – 14 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที) 1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 22 – 25 กรกฎาคม | ||
ความรุนแรง | 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที) 1005 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.68 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 27 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที) 952 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.11 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 28 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 80 ไมล์/ชม. (130 กม./ชม.) (1 นาที) 990 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.23 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 3 – 5 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที) 1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 12 – 13 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที) 1005 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.68 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 21 – 25 สิงหาคม | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 992 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.29 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 1 – 7 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 125 ไมล์/ชม. (205 กม./ชม.) (1 นาที) 953 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.14 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 4 – 6 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที) 1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 12 – 25 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที) 950 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.05 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 17 – 23 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที) 992 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.29 นิ้วปรอท) |
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 17 – 22 กันยายน | ||
ความรุนแรง | 85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) (1 นาที) 986 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.12 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 29 กันยายน – 1 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที) 998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 12 – 14 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที) 1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 17 – 19 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที) 1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 20 – 21 ตุลาคม | ||
ความรุนแรง | 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที) 1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท) |
พายุโซนร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 15 – 17 พฤศจิกายน | ||
ความรุนแรง | 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที) 1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท) |
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS) | |||
---|---|---|---|
| |||
ระยะเวลา | 16 – 18 พฤศจิกายน | ||
ความรุนแรง | 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที) 1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท) |
รายชื่อต่อไปนี้ ใช้สำหรับการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2562 สำหรับชื่อที่ถูกถอน ถ้ามีจะได้รับการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2563 โดยชื่อที่ไม่ถูกปลด จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปีฤดูกาล พ.ศ. 2568[12] รายชื่อชุดนี้เป็นชุดเดียวกันกับที่เคยใช้ไปในฤดูกาล พ.ศ. 2556 เว้น มารีโอ ซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ แมนูเวล
ในปี 2562 มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 17 ชื่อ ดังนี้
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในฤดูกาล 2562 | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสพายุ | ชื่อพายุ | รหัสพายุ | ชื่อพายุ | รหัสพายุ | ชื่อพายุ | รหัสพายุ | ชื่อพายุ | ||||||||
01E | แอลวิน (Alvin) |
07E | ฟลอสซี (Flossie) |
13E | กิโก (Kiko) |
19E | พริสซิลลา (Priscilla) | ||||||||
02E | บาร์บารา (Barbara) |
08E | กิล (Gil) |
15E | โลเรนา (Lorena) |
20E | เรย์มันด์ (Raymond) | ||||||||
03E | คอสมี (Cosme) |
09E | เฮนรีเอตต์ (Henriette) |
14E | มารีโอ (Mario) |
||||||||||
05E | เดลิลา (Dalila) |
10E | อิโว (Ivo) |
16E | นาร์ดา (Narda) | ||||||||||
06E | เอริก (Erick) |
11E | จูลีเอตต์ (Juliette) |
18E | ออกเทฟ (Octave) | ||||||||||
ส่วนชื่อ โซเนีย (Sonia), ติโก (Tico), เวลมา (Velma), วอลลิส (Wallis), ซีนา (Xina), ยอร์ก (York) และ เซลดา (Zelda) ไม่ถูกใช้ในฤดูกาลนี้
สำหรับพายุที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเส้น 140 องศาตะวันตกถึงเส้นแบ่งวันสากล ชื่อที่จะใช้จะเป็นชื่อในชุดหมุนเวียนสี่ชุด[13] ในปี 2562 มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 2 ชื่อ ดังนี้
รหัสพายุ | ชื่อพายุ | รหัสพายุ | ชื่อพายุ |
---|---|---|---|
12E | อาโกนี (Akoni) |
01C | เอมา (Ema) |
ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อตัวในฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยชื่อพายุ ระยะเวลา พื้นที่ขึ้นฝั่งได้รับผลกระทบ ความเสียหาย และจำนวนผู้เลียชีวิตทั้งหมด ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตในวงเล็บคือการเสียชีวิตเพิ่มเติมและการเสียชีวิตโดยทางอ้อม (เช่นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน) แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับพายุหมุนเขตร้อนอยู่ ความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นจะรวมไปจนถึงขณะที่พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่นในเขตร้อน หรือ บริเวณความกดอากาศต่ำด้วย ความเสียหายทั้งหมดอยู่ในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ชื่อ พายุ |
วันที่ | ระดับความรุนแรง ขณะมีความรุนแรงสูงสุด |
ลมสูงสุด 1-นาที ไมล์/ชม. (กม./ชม.) |
ความกดอากาศ (มิลลิบาร์) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ความเสียหาย (ดอลลาร์สหรัฐ) |
เสียชีวิต | อ้างอิง | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แอลวิน | 25 – 29 มิถุนายน | พายุเฮอริเคนระดับ 1 | 75 (120) | 992 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
บาร์บารา | 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม | พายุเฮอริเคนระดับ 4 | 155 (250) | 933 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
คอสมี | 6 – 8 กรกฎาคม | พายุโซนร้อน | 50 (85) | 1001 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
สี่-อี | 12 – 14 กรกฎาคม | พายุดีเปรสชันเขตร้อน | 35 (55) | 1006 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เดลิลา | 22 – 25 กรกฎาคม | พายุโซนร้อน | 40 (65) | 1005 | ปานามา, คอสตาริกา, นิการากัว | ไม่มี | ไม่มี | ||||
เอริก | 27 กรกฎาคม – ปัจจุบัน | พายุโซนร้อน | 70 (110) | 995 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
ฟลอสซี | 28 กรกฎาคม – ปัจจุบัน | พายุโซนร้อน | 40 (65) | 1005 | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ||||
สรุปฤดูกาล | |||||||||||
7 ลูก | 25 มิถุนายน–ฤดูกาลยังดำเนินอยู่ | 155 (250) | 933 | ไม่มี | ไม่มี |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.