Loading AI tools
มหาวิทยาลัยในเครือราชภัฏ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: Bansomdejchaopraya Rajabhat University; อักษรย่อ: มบส. – BSRU) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2439 เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนราชวิทยาลัย
Bansomdejchaopraya Rajabhat University | |
ที่ทำการมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | โรงเรียนราชวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
---|---|
ชื่อย่อ | มบส. / BSRU |
คติพจน์ | มุ่งมั่น ทุ่มเทให้เป็นเลิศของประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพสากลชั้นนำ |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 588,622,100 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณกร สว่างเจริญ |
อาจารย์ | 557 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
บุคลากรทั้งหมด | 884 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ผู้ศึกษา | 16,712 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารวดี |
เพลง | ช่อชงโค |
สี | ████ สีม่วง สีขาว |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งโรงเรียนแบบ Public school ของสหราชอาณาจักร โดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้โดยมี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธาน ทางที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯได้น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 เป็นที่กว้างขวางใหญ่โต จึงเห็นสมควรให้จัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชวิทยาลัย” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงเรียนฟากขะโน้น” หรือ “โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” โดยได้เปิดเรียนตั้งแต่ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 โดยมีนาย เอ ซี คาร์เตอร์ เป็นอาจารย์ใหญ่
ครั้นต่อมา การศึกษาขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ทำให้สถานที่คับแคบลง โรงเรียนราชวิทยาลัยจึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลไผ่สิงโต เขตปทุมวัน ข้างวังสระปทุมวัน ทำให้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่างลง ซึ่งในขณะนั้นเองการศึกษาระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพมหานคร มีความเหลื่อมล้ำกันมาก เนื่องจากคุณภาพของครูที่แตกต่างกัน กระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นที่จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” สำหรับผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อให้ทำการสอนในหัวเมือง โดยเริ่มเปิดสอนเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 โดยมีหลวงบำเน็จวรญาณ เป็นอาจารย์ใหญ่ จนในปี พ.ศ. 2458 จึงได้ใช้ชื่อเรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา"
ในปี พ.ศ. 2501 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงได้รับพระราชทาน นามใหม่ว่า "สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" และจากพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้นับได้ว่า สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันที่มีเกียรติประวัติดีงามมาโดยตลอด และเป็นความภาคภูมิใจของนักศึกษาทุกคนที่ได้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ [3]
ลำดับ | วาระ | รายชื่ออธิการบดี |
---|---|---|
1 | 2558-ปัจจุบัน | ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา |
2 | 2555-2556 | รศ.ดร.พลสิทธิ์ หนูชูชัย |
3 | 2546-2555 | รศ.ดร.สุพล วุฒิเสน |
4 | 2536-2546 | รศ.สันต์ ธรรมบำรุง |
หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต (ศป.บ. 4 ปี)
หลักสูตรนิติศาตรบัณฑิต (น.บ. 4 ปี)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต (ส.บ. 4 ปี)
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ. 4 ปี)
หลักสูตรนิเทศศาตรบัณฑิต (นศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ. 4 ปี)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรวิศวกรรมศาตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี)
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (ค.อ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ. 4 ปี)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 4 ปี)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ. 4 ปี)
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
ระดับปริญญาโท
ระดับปริญญาเอก
ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ 95 หมู่ 1 ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บนเนื้อที่ 162.93 ไร่
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ. 4 ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี'
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย
โรงเรียนสาธิต ประกอบด้วย 3 หน่วยงานย่อย ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนประถมสาธิต และโรงเรียนมัธยมสาธิต มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.