ภาษาเยอรมัน (อังกฤษ : German ; เยอรมัน: Deutsch ) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิก ด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจ ในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัส และบางส่วนของแคว้นลอแรน ในฝรั่งเศส
ข้อมูลเบื้องต้น ภาษาเยอรมัน, ออกเสียง ...
ภาษาเยอรมัน เยอรมันสูงมาตรฐาน : Deutsch ออกเสียง [dɔʏtʃ] ภูมิภาค ยุโรปที่พูดภาษาเยอรมัน ตระกูลภาษา รูปแบบก่อนหน้า เจอร์แมนิกดั้งเดิม
เยอรมันสูงเก่า / แซกซันเก่า รูปแบบมาตรฐาน เยอรมันสูงมาตรฐาน (แบบเยอรมัน , แบบออสเตรีย , แบบสวิส )
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ผู้วางระเบียบ ไม่มี รหัสภาษา ISO 639-3 –
ภาษาราชการและภาษาหลัก
ภาษาราชการ แต่ไม่ใช่ภาษาหลัก
ภาษาชนกลุ่มน้อย/ทางวัฒนธรรม
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ปิด
ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐ ) รวมถึงบางประเทศในลาตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา บราซิล โดยเฉพาะในรัฐฮิวกรังจีดูซูว รัฐซังตากาตารีนา รัฐปารานา และรัฐเอชปีรีตูซังตู
ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์ บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐ และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป
ภาษาเยอรมันใช้อักษรละติน ในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป และมีอักขระพิเศษอีก 4 ตัว เป็นสระที่มีอุมเลาท์ (umlaut) 3 ตัว ได้แก่ ä ö และ ü กับอักษรเอสเซ็ท ß แต่สำหรับภาษาเยอรมันมาตรฐานของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ไม่ใช้ตัว ß เลย โดยจะใช้ ss แทน ß
ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย เพราะมีระบบเขียนที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ เช่น อักขระที่มีอุมเลาท์ข้างต้น การใช้อักษรตัวใหญ่เริ่มต้นคำนามทุกคำ (ซึ่งเป็นระเบียบที่เคยแพร่หลายในยุโรปเหนือแต่ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่ภาษา โดยเยอรมันเป็นภาษาที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงทำเช่นนี้) และการเขียนคำประสมติดกันโดยไม่เว้นวรรค (ต่างจากภาษาอังกฤษที่เวลานำคำนามมาประสมกันจะเว้นวรรคคั่น) ทำให้ภาษาเยอรมันสามารถมีคำประสมที่ยาวมาก ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่เคยมีการตีพิมพ์ คือ Donaudampfschiffahrtselektrizitätenhauptbetriebswerkbauunterbeamtengesellschaft มี 79 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการอ่าน คำที่ประสมจากคำนามมากกว่า 3-4 คำถือว่าพบได้ยาก นอกเหนือจากบริบทอารมณ์ขัน
ก่อนการปฏิรูประบบเขียนภาษาเยอรมัน ค.ศ.1996 อักษร ß ใช้แทน ss หลังสระเสียงยาวหรือสระประสม ก่อนพยัญชนะ และท้ายคำหรือหน่วยคำ หลังการปฏิรูปไปแล้ว จะใช้ ß แทน ss เฉพาะหลังสระเสียงยาวหรือสระประสมเท่านั้น
เนื่องจากตัว ß ไม่สามารถเริ่มต้นคำได้ ในอดีตจึงไม่เคยมีการคิดตัวอักษร ß ตัวใหญ่ขึ้นใช้ เมื่อจำเป็นต้องใช้ ß ตัวใหญ่ (เช่นเมื่อใช้ตัวใหญ่ทั้งคำ) ก็จะใช้ SS แทน เช่นคำว่า Maßband ("ตลับเมตร") เขียนตัวใหญ่เป็น MASSBAND ยกเว้นในชื่อที่เป็นอักษรตัวใหญ่ในเอกสารราชการ อนุโลมให้คง ß ตัวเล็กเอาไว้เพื่อป้องกันความสับสน (เช่น "KREßLEIN " ไม่ใช่ "KRESSLEIN ") จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการบรรจุอักษร ẞ เป็นอักษรตัวใหญ่ของ ß ลงในระบบเขียน[1]
หากไม่สะดวกที่จะพิมพ์สระอุมเลาท์ (ä ö ü ) ทั่วไปสามารถใช้ ae oe ue แทน และใช้ ss แทน ß ในทำนองเดียวกัน แต่หากสามารถพิมพ์ได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิธีการนี้ถือเป็นเพียงวิธีการเฉพาะหน้า มิใช่การเขียนที่ถูกต้องตามระเบียบ
ในการจัดลำดับคำในพจนานุกรม ไม่มีระเบียบที่เป็นสากลว่าควรจัดตัวอักษรที่มีอุมเลาท์อย่างไร ในสมุดโทรศัพท์มักมองอักษรอุมเลาท์ว่าเป็นสระฐานกับตัว e เช่น Ärzte อยู่หลัง Adressenverlage แต่มาก่อน Anlagenbauer เพราะมอง Ärzte เป็น Aerzte ส่วนในพจนานุกรมมักจัดคำที่มีอุมเลาท์ไว้หลังคำที่เหมือนกันที่ไม่มีอุมเลาท์ เช่น Ärzte มาหลัง Arzt แต่ก่อน Ass และก็มีพจนานุกรมบางฉบับจะเอาคำที่มีอุมเลาท์ทุกคำไปต่อท้ายสุด คือทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย Ä จะอยู่เป็นหมวดแยกหลังทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย A นอกจากนี้พจนานุกรมเก่าแก่บางฉบับจะแยกเอา Sch และ St ไปเป็นหมวดแยกหลังหมวด S แต่โดยทั่วไปจะถือว่าเป็น S+C+H และ S+T
การใช้เครื่องหมายคำพูดในภาษาเยอรมัน นิยมใช้เครื่องหมายกลับด้านออก เช่น „Guten Morgen!“
เสียงสระ
เสียงสระภาษาเยอรมัน (นอกเหนือสระประสม) สามารถมีเสียงสั้นหรือยาวได้ ดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม รูปสระ, A ...
รูปสระ
A Ä E I O Ö U Ü
เสียงสั้น
/a/ /ɛ/ /ɛ/, /ə/ /ɪ/ /ɔ/ /œ/ /ʊ/ /ʏ/
เสียงยาว
/aː/ /ɛː/, /eː/ /eː/ /iː/ /oː/ /øː/ /uː/ /yː/
ปิด
เสียง /ɛ/ ออกเสียงเป็น [ɛ] ในพยางค์ที่ลงน้ำหนัก แต่เป็น [ə] เมื่อไม่ลงน้ำหนัก เสียง /ɛ/ ที่สั้นและลงน้ำหนัก ตรงกับรูปเขียนทั้ง e กับ ä เช่น hätte ("จะมี") กับ Kette ("โซ่") คล้องจองกัน โดยทั่วไปแล้วสระเสียงสั้นจะเป็นสระเปิด และเสียงยาวเป็นสระปิด เว้นแต่เสียง /ɛː/ อันเป็นสระเปิดเสียงยาว ตรงกับรูปสระ ä แต่ในภาษาเยอรมันมาตรฐานบางสำเนียง เสียง /ɛ/ กับ /eː/ ได้หลอมรวมกันเป็นเสียง [eː] เสียงเดียว ข้อยกเว้นนี้จึงไม่มี ในกรณีของสำเนียงเหล่านี้ จะมีคู่ของคำพ้องเสียงเช่น Bären/Beeren ("หมี/เบอร์รี่") หรือ Ähre/Ehre ("รวงข้าว/เกียรติยศ")
ในภาษาเยอรมันมาตรฐานหลายสำเนียง เสียง /ɛr/ ที่ไม่ลงน้ำหนัก จะไม่เป็นเสียง [ər] แต่เป็นสระ [ɐ]
การสังเกตว่ารูปสระแต่ละตัว ออกเสียงสั้นหรือเสียงยาว ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ก็มีหลักการเหล่านี้:
หากสระ (ยกเว้น i ) อยู่ท้ายสุดพยางค์ หรือตามหลังด้วยพยัญชนะตัวเดียว มักออกเสียงยาว (เช่น Hof [hoːf] )
หากสระตามด้วยตัว h และ สระ i ที่ตามด้วย e จะออกเสียงยาว
หากสระตามด้วยพยัญชนะคู่ (เช่น ff ss หรือ tt ) ทวิอักษร ck tz หรือพยัญชนะผสม (เช่น st หรือ nd ) มักออกเสียงสั้นแทบจะเสมอ (เช่น hoffen [ˈhɔfən] ) ซึ่งพยัญชนะคู่ในภาษาเยอรมันใช้เพื่อแสดงความยาวสระในลักษณะนี้เท่านั้น ตัวพยัญชนะเสียงไม่เปลี่ยนไป
หลักเหล่านี้ล้วนมีข้อยกเว้น เช่น hat [hat] ("มี") เสียงสั้น ขัดกับหลักข้อแรก และ Mond [moːnt] ("ดวงจันทร์") เสียงยาว ขัดกับข้อสาม ในบางกรณีอาจมีความแตกต่างในการออกเสียงระหว่างพื้นที่ เช่น ในเยอรมนีกลาง (เฮ็สเซิน ) ตัว o ในชื่อ Hoffmann ออกเสียงยาว แต่คนเยอรมันรัฐอื่น ๆ จะออกเสียงสั้น คำว่า Städte ("เมือง") บางคนออกเสียงสั้นเป็น [ˈʃtɛtə] (เช่น ARD Television) บางคนออกเสียงยาวเป็น [ˈʃtɛːtə] (เช่น ZDF Television) ลำดับสุดท้าย คำที่สระอยู่หน้าทวิอักษร ch ไม่มีหลักการบอกว่าจะออกเสียงสั้น เช่น Fach [fax] ("ลิ้นชัก") กับ Küche [ˈkʏçə] ("ครัว") หรือยาว เช่น Suche [ˈzuːxə] ("ค้นหา") กับ Bücher [ˈbyːçɐ] ("หนังสือ") โดยลักษณะนี้ คำว่า Lache เป็นคำพ้องรูปที่อาจออกเสียงสั้น [laxə] ("ลักษณะการหัวเราะ") หรือยาว [laːxə] ("บ่อน้ำ") และยังตรงกับคำสั่งว่า lache! ("หัวเราะ!")
สระภาษาเยอรมันสามารถเกิดเป็นทวิอักษร(ในการเขียน) และสระประสม(ในการออกเสียง) ดังตาราง ซึ่งการออกเสียงอาจไม่ตรงกับที่มองเห็นในรูปเสมอไป
ข้อมูลเพิ่มเติม รูป, เสียง ...
รูป
ai, ei, ay, ey au äu, eu
เสียง
/aɪ̯/ /aʊ̯/ /ɔʏ̯/
ปิด
นอกจากนี้ยังมีทวิอักษร ie ซึ่งตรงกับเสียงสระ /iː/ ไม่ได้เป็นสระประสม ในภาษาเยอรมันหลายสำเนียงเสียง /r/ ที่ท้ายพยางค์จะออกเสียงเป็นสระ แต่เสียงสระที่ตามด้วยเสียงสระของตัว /r/ นี้ไม่เป็นสระประสมในทางสัทศาสตร์ (เช่น ในคำว่า Bär [bɛːɐ̯] "หมี", er [eːɐ̯] "เขา", wir [viːɐ̯] "เรา", Tor [toːɐ̯] "ประตู", kurz [kʊɐ̯ts] "สั้น", Wörter [vœɐ̯tɐ] "คำ")
ในสำเนียงส่วนใหญ่ พยางค์ที่ขึ่นต้นด้วยสระ จะมีเสียงกักเส้นเสียง [ʔ] (เสียงตัว อ) กั้น
เสียงพยัญชนะ
ภาษาเยอรมันมีหน่วยเสียง พยัญชนะประมาณ 25 เสียง ซึ่งถือว่าปานกลางเมื่อเทียบกับภาษาอื่น เสียงที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์คือ เสียงกักเสียดแทรก /p͡f/ เสียงพยัญชนะในภาษามาตรฐานเป็นดังตาราง
ข้อมูลเพิ่มเติม ริมฝีปาก, ปุ่มเหงือก ...
ริมฝีปาก
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง
เพดานอ่อน
ลิ้นไก่
เส้นเสียง
นาสิก
m
n
ŋ
กัก
p 3 b
t 3 d
k 3 ɡ
กักเสียดแทรก
pf
ts
tʃ (dʒ )4
เสียดแทรก
f v
s z
ʃ (ʒ )4
x 1
(ʁ) 2
h
รัว
r 2
(ʀ) 2
ข้างลิ้น
l
j
ปิด
1 /x/ มีเสียงย่อยสองแบบคือ [x] และ [ç] เมื่ออยู่หลังสระหลังและสระหน้า ตามลำดับ
2 /r/ มีเสียงย่อยได้สามแบบอย่างอิสระ: [r] [ʁ] และ [ʀ] และท้ายพยางค์พบ [ɐ] ในหลายสำเนียง
3 เสียงกัก ไม่ก้อง /p/ /t/ /k/ เป็นเสียงพ่นลม เว้นแต่เมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะเสียดแทรกเหมือนอังกฤษ
4 /d͡ʒ/ และ /ʒ/ พบในคำที่มาจากภาษาอื่น (มักเป็นอังกฤษและฝรั่งเศส)
เมื่อพยางค์ที่ลงน้ำหนักขึ้นต้นด้วยสระ จะมีเสียง [ʔ] เนื่องจากเสียงนี้เห็นได้จากบริบท จึงไม่ถือเป็นหน่วยเสียง
การสะกดพยัญชนะ
c อยู่โดด ๆ ไม่เป็นอักษรเยอรมันแท้จริง ในคำยืมมักออกเสียง [t͡s] (หน้า ä, äu, e, i, ö, ü, y) หรือ [k] (หน้า a, o, u, และพยัญชนะ) ชุดอักษร ck ใช้แสดงว่าสระตัวหน้าออกเสียงสั้นเหมือนภาษาอังกฤษ
ch พบบ่อย ออกเสียง [ç] (หลัง ä, ai, äu, e, ei, eu, i, ö, ü หรือพยัญชนะ ในปัจจัย -chen และเมื่อเริ่มต้นคำ) [x] (หลัง a, au, o, u) หรือ [k] (เมื่อเริ่มต้นคำ ประกอบกับตามด้วย a, o, u หรือพยัญชนะ) Ch ไม่พบในตำแหน่งเริ่มต้นของคำเยอรมันแท้ สำหรับคำยืมที่ Ch อยู่ก่อนสระหน้า (เช่น Chemie "เคมี") จะออกเสียง [ç] เป็นมาตรฐาน แต่ชาวเยอรมันทางตอนใต้และฟรังเคิน จะแทนที่เสียงนี้ด้วย [k] สำหรับสระอื่น ๆ และพยัญชนะ ทุกสำเนียงจะใช้ [k] เช่นใน Charakter ("นิสัยใจคอ") และ Christentum ("คริสต์ศาสนา")
dsch ออกเสียง [d͡ʒ] (เช่น Dschungel /ˈd͡ʒʊŋəl/ "ป่าดิบชื้น") แต่พบเฉพาะในคำทับศัพท์ ไม่กี่คำ
f ออกเสียง [f]
h ออกเสียง [h] เมื่อเริ่มต้นพยางค์ เมื่อไปอยู่หลังสระจะไม่ออกเสียง แต่จะทำให้สระออกเสียงยาว (เช่น Reh [ʁeː] เป็นกวางประเภทหนึ่ง)
j ออกเสียง [j] ในคำเยอรมันแท้ (Jahr [jaːɐ̯] "ปี") ในคำทับศัพท์มักออกเสียงตามภาษาต้นทาง
l ออกเสียง [l] เสมอ ไม่ใช่เสียง *[ɫ] (ต่างจากอังกฤษ ซึ่ง l ออกเสียง [ɫ] ท้ายคำ เช่น ball )
q มีเฉพาะอยู่หน้า u ออกเสียง [kv] ซึ่งพบทำคำเยอรมันแท้และคำละติน (quer [kveːɐ̯] "ตามขวาง"; Qualität [kvaliˈtɛːt] "คุณภาพ") โดยคำส่วนใหญ่เป็นคำละติน ทำให้ตัว q หาได้ยากยิ่งกว่าในภาษาอังกฤษเสียอีก
r โดยปกติจะออกเสียงจากลิ้นไก่ (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ก้อง [ʁ] หรือเสียงรัวลิ้นไก่ [ʀ] ) เมื่ออยู่หน้าสระหรือพยัญชนะ (Rasen [ˈʁaːzən] "สนาม"; Burg [bʊʁk] "ปราสาท") แต่ในภาษาพูด เมื่อตามหลังเสียงสระ มักจะถูกออกเสียงเป็นสระไปด้วย (er ออกเสียงเป็น [ˈɛɐ̯] – Burg [bʊɐ̯k] ) ในบางสำเนียง r ออกเสียงที่ปลายลิ้น (เป็นเสียงรัวลิ้น [r] ตรงกับตัว ร กระดกลิ้น ในภาษาไทย)
s ออกเสียง [z] เมื่ออยู่หน้าพยางค์ (เช่น Sohn [zoːn] "ลูกชาย") นอกเหนือจากนั้นเป็น [s] (เช่น Bus [bʊs] "รถบัส") ในออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนีใต้จะออกเสียง [s] เมื่อเริ่มพยางค์ด้วย หากมีสองตัวเป็น ss [s] จะบ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงสั้น อักษร st และ sp ที่อยู่หน้าคำเยอรมันแท้จะออกเสียง [ʃt] และ [ʃp] ตามลำดับ
ß (ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาเยอรมัน) มีต้นกำเนิดจากรูปอักษร ss และ sz ซึ่งออกเสียง [s] เสมอ โดยแต่เดิมใช้แทน ss ที่ท้ายพยางค์ (เช่น ich muss → ich muß ; ich müsste → ich müßte ) การใช้ ß ได้ลดบทบาทลงในการปฏิรูประบบเขียนครั้งล่าสุด โดยการใช้ ss หลังสระเสียงสั้นเสมอ (เช่น ich muß and ich müßte ซึ่งใช้ U/Ü เสียงสั้นมาโดยตลอด) และใช้ ß ตรงข้ามกับ ss กล่าวคือ บ่งชี้ว่าสระที่อยู่หน้าออกเสียงยาว (เช่น in Maßen [ɪn ˈmaːsən] "โดยไม่มากไป" กับ in Massen [ɪn ˈmasən] "อย่างมากมาย"); สำหรับสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ เลิกใช้อักขระนี้ไปแล้วเมื่อ ค.ศ.1934.[2]
sch ออกเสียง [ʃ]
tion ในคำทับศัพท์ละติน ออกเสียงเป็น [tsi̯oːn]
th พบได้ยาก และเฉพาะในคำทับศัพท์ ออกเสียง [t] ถ้าทับศัพท์มาจากภาษากรีก ส่วนถ้ามาจากอังกฤษจะออกเสียงเหมือนคำต้นทาง (ผู้พูดบางคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักออกเสียง [s] แทน เสียง th อังกฤษ)
v ออกเสียง [f] ในคำจำนวนไม่มาก ที่เป็นเยอรมันแท้ เช่น Vater [ˈfaːtɐ] ("พ่อ") Vogel ("นก") von ("จาก, ของ") vor ("ก่อน, หน้า") voll ("เต็ม") และคำอุปสรรค ver- นอกจากนี้ยังพบในคำทับศัพท์ ซึ่งมักออกเสียง [v] เช่น Vase ("แจกัน"), Vikar ("พระในศาสนาคริสต์") Viktor (ชื่อคน ใช้ออกเสียงอักษร V) Viper ("งู") Ventil ("วาล์ว") vulgär ("หยาบคาย") และคำทับศัพท์อังกฤษ อย่างไรก็ตาม การออกเสียง [f] พบได้ในทางใต้ คำที่ไม่เป็นคำเยอรมันแท้ แต่ "v" ออกเสียงเป็น [f] เสมอ มีคำเดียวคือ Eva ("เอวา ")
w ออกเสียง [v] (เช่น was [vas] "อะไร")
y ออกเสียงยาวเป็น [y] หรือเสียงสั้นเป็น [ʏ] (เช่น Hygiene [hyɡi̯ˈeːnə] "อนามัย" ; Labyrinth [labyˈʁɪnt] "เขาวงกต" or Gymnasium /ɡʏmˈnaːzi̯ʊm/ "โรงเรียนมัธยม") เว้นแต่ใน ay และ ey ซึ่งออกเสียงเป็น [aɪ̯] ทั้งคู่ สำหรับคำทับศัพท์ส่วนใหญ่จะออกเสียงเหมือนภาษาต้นทาง เช่น Style หรือ Recycling
z ออกเสียง [t͡s] เสมอ (e.g. zog [t͡soːk] ) ยกเว้นในคำทับศัพท์ ถ้าเป็น tz จะแสดงว่าสระก่อนหน้าเสียงสั้น
การเลื่อนเสียงพยัญชนะ
ภาษาเยอรมันไม่มีเสียงเสียดแทรกฟัน ซึ่งยังคงมีอยู่ในภาษาอังกฤษ (ตรงกับ th ) เพราะภาษาเยอรมันได้เกิดการเลื่อนเสียง และสูญเสียเสียงเหล่านี้ไประหว่างศตวรษที่ 8 และ 10[3] เห็นได้จากการเปรียบเทียบคำในภาษาอังกฤษกับภาษาเยอรมัน ซึ่งตัว th ในอังกฤษในหลายคำจะตรงกับ d ในเยอรมัน เช่น อังกฤษ thank → เยอรมัน Dank ; อังกฤษ this/that → เยอรมัน dies /das ; อังกฤษ thou (สรรพนามบุรุษที่สองในอดีต) → เยอรมัน du ; อังกฤษ think → เยอรมัน denken ; อังกฤษ thirsty → เยอรมัน durstig
ในทำนองเดียวกัน gh ในอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันออกเสียงได้หลายแบบ อาจเชื่อมโยงได้กับ ch ในเยอรมัน: อังกฤษ laugh → เยอรมัน lachen ; อังกฤษ through → เยอรมัน durch ; อังกฤษ high → เยอรมัน hoch ; อังกฤษ naught → เยอรมัน nichts ; อังกฤษ light → เยอรมัน leicht หรือ Licht ; อังกฤษ sight → เยอรมัน Sicht ; อังกฤษ daughter → เยอรมัน Tochter ; อังกฤษ neighbour → เยอรมัน Nachbar
ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่มีการผันคำในระดับปานกลาง
การผันคำนาม
การผันคำนำหน้านามชี้เฉพาะ (definite article) ซึ่งเทียบเท่ากับ "the" ในภาษาอังกฤษ
คำนามและคำนำหน้านามในภาษาเยอรมัน มีการผันตามเพศ พจน์ และการก
มี 4 การก ได้แก่ ประธาน (Nominativ ) กรรมตรง (Akkusativ ) กรรมรอง (Dativ ) และเจ้าของ (Genitiv )
มี 3 เพศ ได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง คำบางคำสามารถระบุเพศได้จากคำลงท้าย เช่น คำนามที่ลงท้ายด้วย -ung , -schaft , -keit หรือ -heit เป็นเพศหญิง คำนามที่ลงท้ายด้วย -chen หรือ -lein เป็นเพศกลาง และคำนามที่ลงท้ายด้วย -ismus เป็นเพศชาย คำอื่น ๆ จะบ่งบอกได้ยากกว่า บางคำมีเพศต่างกัน ขึ้นกับสำเนียงท้องถิ่น คำลงท้ายบางแบบมีได้ทั้งสามเพศ เช่น -er เช่น Feier ("งานฉลอง")เป็นหญิง Arbeiter ("ผู้ทำงาน")เป็นชาย และ Gewitter ("พายุฝนฟ้าคะนอง") เป็นกลาง
มี 2 พจน์ คือ เอกพจน์และพหูพจน์
ภาษาเยอรมันปัจจุบัน ถือว่ามีการผันน้อยลงมาก เมื่อเทียบกับในอดีต โดยในพหูพจน์ ทั้งสามเพศได้ลดรูปลงมาผันแบบเดียวกัน ดังนั้นจึงอาจมองว่ามี 4 พจน์ คูณกับเอกพจน์ 3 เพศและพหูพจน์ ได้เป็น 16 แบบ อย่างไรก็ตาม คำนำหน้านามชี้เฉพาะมีรูปแตกต่างกันแค่ 6 รูป และสำหรับตัวคำนามเอง สำหรับคำนามเพศชายและเพศกลางส่วนใหญ่ ในเอกพจน์จำเป็นต้องผันเมื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นกรรมรองเท่านั้น ซึ่งการผันเหล่านี้ปัจจุบันก็พบได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ในภาษาปาก ซึ่งมักเลี่ยงไปใช้รูปประโยคแบบอื่น[4] และการลงท้ายคำนามที่เป็นกรรมรอง ก็ถือว่าเป็นภาษาเก่า ซึ่งปัจจุบันแทบไม่มีการใช้ แม้แต่ในภาษาเขียน เว้นแต่สำนวนที่ใช้กันจนเคยชินบางสำนวน มีคำนามเพศชายและเพศกลางเพียงบางคำเท่านั้นที่จะมีการผันคำลงท้ายทั้งรูปกรรมตรง รูปกรรมรอง และรูปเจ้าของ (เรียกว่า N-declension ) สำหรับคำนามเพศหญิงในเอกพจน์จะไม่มีการผันเลย คำนามพหูพจน์(ซึ่งทุกเพศเหมือนกัน)มีการผันคำลงท้ายในรูปกรรมรองรูปเดียว โดยรวมแล้ว คำลงท้ายคำนามที่เป็นไปได้ในทั้งหมดภาษาเยอรมัน (ไม่นับการสร้างพหูพจน์) มี 7 แบบ ได้แก่ -s, -es, -n, -ns, -en, -ens, -e
ในระบบเขียนเยอรมัน คำนามและคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนามทุกคำ จะขึ้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ เพื่อสะดวกต่อการดูหน้าที่คำในประโยค (Am Freitag ging ich einkaufen. – "ผมไปช็อปปิงมาเมื่อวันศุกร์"; Eines Tages kreuzte er endlich auf. – "วันหนึ่งเขาก็มาโผล่หน้าในที่สุด") ลักษณะการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่แบบนี้ เคยแพร่หลายในภาษาอื่น ๆ เช่นภาษาเดนมาร์ก (ซึ่งยกเลิกการทำเช่นนี้ใน ค.ศ. 1948) และอังกฤษ แต่ปัจจุบันแทบจะพบในภาษาเยอรมันภาษาเดียว โดยพบได้อีกแค่ในภาษาลักเซมเบิร์ก และภาษาฟรีเชียเหนือบางสำเนียง
ภาษาเยอรมันประสมคำนามโดยคำแรกขยายคำที่สอง เหมือนกับในภาษาตระกูลเจอร์แมนิกอื่น ๆ อย่างภาษาอังกฤษ (Hundehütte "บ้านสุนัข" มาจาก Hund "สุนัข" ประสมกับ Hütte "บ้าน") แต่ภาษาเยอรมันต่างจากอังกฤษ เพราะไม่มีการเว้นวรรคคั่นระหว่างองค์ประกอบที่มีประสมกัน ทำให้คำเยอรมันมีคำยาวเท่าใดก็ได้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น คำเยอรมันที่ยาวที่สุดที่มีการใช้งานในราชการจริง คือคำว่า Rindfleischetikettierungsüberwachungsaufgabenübertragungsgesetz แปลว่า "กฎหมายว่าด้วยการมอบหมายหน้าที่ในการควบคุมดูแลการติดฉลากเนื้อวัว" [มาจาก Rind (วัว), Fleisch (เนื้อ), Etikettierung(s) (การติดฉลาก), Überwachung(s) (การควบคุมดูแล), Aufgaben (หน้าที่), Übertragung(s) (การมอบหมาย), Gesetz (กฎหมาย)]
การผันกริยา
กริยาเยอรมันมีการผันตามปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
ประเภทของคำกริยา ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ เรียกว่า กริยาอ่อนและกริยาแข็ง (เหมือนกริยาปกติและไม่ปกติในอังกฤษ) ประกอบกับกริยาผสมซึ่งมีคุณสมบัติอ่อนและแข็งปนกัน
3 บุรุษ คือ บุรุษที่ 1 2 และ 3
2 พจน์ คือ เอกพจน์ และ พหูพจน์
3 มาลา คือ มาลาบอกเล่า (Indikativ ) สมมุติมาลา (Konjunktiv ) และมาลาคำสั่ง (Imperativ )
2 วาจก คือ กรรตุวาจก (Aktiv ) และ กรรมวาจก (Passiv ) กรรมวาจกใช้กริยา werden ("กลายเป็น") ในกรณีแสดงการถูกกระทำ หรือ sein ("เป็น") ในกรณีแสดงสถานะ
6 กาล มี 2 กาลที่ไม่ต้องใช้กริยาช่วยคือ ปัจจุบันกาล (Präsens ) และอดีตกาล (Präteritum ) กับอีก 4 กาลที่ใช้กริยาช่วยคือ ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ (Perfekt ) อดีตกาลสมบูรณ์ (Plusquamperfekt ) อนาคตกาล (Futur I ) และอนาคตกาลสมบูรณ์ (Futur II )
การแสดงการณ์ลักษณะ ใช้สมมุติมาลาและอดีตกาลประกอบกัน ดังนั้นการบอกเล่าจะไม่ใช้การผันทั้งสองแบบดังกล่าว การใช้สมมุติมาลาอย่างเดียวแสดงถึงข้อมูลที่ได้มาโดยอ้อม การใช้สมมุติมาลาในอดีตกาลแสดงถึงเงื่อนไข และอดีตกาลอย่างเดียวใช้แสดงอดีตตามปกติ หรือใช้แทนรูปแบบทั้งสองอย่างข้างต้น
คำอุปสรรคกริยา
คำกริยาเยอรมันมีการใช้คำอุปสรรคเพื่อเปลี่ยนเป็นกริยาตัวใหม่ เช่น blicken ["มอง"], erblicken ["เห็น"] คำอุปสรรคอาจเปลี่ยนความหมายเพียงเล็กน้อยหรือมากก็ได้ คำอุปสรรคบางคำมีความหมายเฉพาะ เช่น zer- สื่อถึงการทำลาย เช่น zer reißen ("ฉีกเป็นชิ้น"), zer brechen ("ทำให้แตกเป็นเสี่ยง"), zer schneiden ("ตัดให้ขาดออกจากกัน") คำอุปสรรคคำอื่น ๆ แทบไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น ver- พบในกริยาจำนวนมากและมีความหมายหลายอย่าง เช่น ver suchen ("พยายาม") มาจาก suchen ("ค้นหา"), ver nehmen ("สอบสวน') มาจาก nehmen ("เอา/รับ"), ver teilen ("แจกจ่าย") มาจาก teilen ("แบ่ง"), ver stehen ("เข้าใจ") มาจาก stehen ("ยืน")
ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น ver haften ("จับกุม") มาจาก haften ("ติด"), ver kaufen ("ขาย") มาจาก kaufen ("ซื้อ"), auf hören ("เลิก") มาจาก hören ("ได้ยิน"), er fahren ("ประสบ") มาจาก fahren ("ขับรถ")
กริยาบางตัวมีคำอุปสรรคที่แยกได้ ซึ่งมักมีความหมายเป็นคำขยายกริยา ในรูปกริยาแท้ คำอุปสรรคจะแยกออกมาจากกริยาและไปอยู่ท้ายประโยค เช่น mitgehen แปลว่า "ไปด้วย" แต่กลายเป็นคำถามว่า Gehen Sie mit? (แปลตรงตัว: "ไปคุณด้วยกัน?"; แปลตามความหมาย: "คุณจะไปด้วยกันไหม?")
บางครั้ง อาจมีอนุประโยคจำนวนมากแทรกอยู่ระหว่างคำอุปสรรคของกริยาแท้กับส่วนที่เหลือ เช่น สำหรับกริยา ankommen = "มาถึง" er kam an = "เขาได้มาถึง" er ist angekommen = "เขามาถึงแล้ว" อาจสร้างประโยคได้ว่า:
Er kam am Freitagabend nach einem harten Arbeitstag und dem üblichen Ärger, der ihn schon seit Jahren immer wieder an seinem Arbeitsplatz plagt, mit fraglicher Freude auf ein Mahl, das seine Frau ihm, wie er hoffte, bereits aufgetischt hatte, endlich zu Hause an .
ซึ่งแปลว่า
เขามาถึง บ้านในที่สุดตอนเย็นวันศุกร์ หลังจากผ่านพ้นวันทำงานที่หนักและสิ่งน่ารำคาญเช่นเคยที่ได้รบกวนเขาในที่ทำงานอย่างเป็นประจำมาหลายปีแล้ว พร้อมรู้สึกมีความสุขอย่างน่าสงสัยกับอาหารที่ภรรยาของเขาได้เตรียมไว้บนโต๊ะเรียบร้อยแล้วตามที่เขาหวังไว้
วากยสัมพันธ์
ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ ของภาษาเยอรมัน โดยทั่วไปในประโยคหลัก คำกริยาแท้จะอยู่ตำแหน่งที่สอง (V2 word order) และมีการเรียงแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (SOV) ในคำถาม คำอุทาน และคำสั่ง กริยาแท้จะถูกสลับขึ้นมาอยู่ตำแหน่งแรก ในอนุประโยคกริยาทุกตัวจะอยู่ท้ายสุด
ภาษาเยอรมันบังคับให้มีกริยา(ไม่ว่าจะเป็นกริยาหลักหรือกริยาช่วย)อยู่ในตำแหน่งที่สองของประโยค และให้นำหัวข้อของประโยคมานำในตำแหน่งแรก และคำที่เน้นจะเอาไว้สุดท้าย เช่น ประโยคที่ไม่มีกริยาช่วยต่อไปนี้ แปลว่า "ชายแก่ให้หนังสือกับผมเมื่อวาน" เรียงลำดับได้หลายแบบ:
Der alte Mann gab mir gestern das Buch. (ชายแก่ ให้ กับผม เมื่อวาน หนังสือ; ลำดับปกติ)
Das Buch gab mir gestern der alte Mann. (หนังสือ ให้ กับผม เมื่อวาน ชายแก่)
Das Buch gab der alte Mann mir gestern. (หนังสือ ให้ ชายแก่ กับผม เมื่อวาน)
Das Buch gab mir der alte Mann gestern. (หนังสือ ให้ กับผม ชายแก่ เมื่อวาน)
Gestern gab mir der alte Mann das Buch. (เมื่อวาน ให้ กับผม ชายแก่ หนังสือ; ลำดับปกติ)
Mir gab der alte Mann das Buch gestern. (กับผม ให้ ชายแก่ หนังสือ เมื่อวาน (การเอา"กับผม"ขึ้นก่อน และ "เมื่อวาน" ลงท้าย เป็นการเน้น เหมือนพูดว่า "กับคุณ เขาให้หนังสือวันอื่น ไม่ใช่วันนี้"))
สังเกตว่าตำแหน่งของคำนามในภาษาเยอรมัน ไม่ส่งผลถึงความเป็นประธานหรือกรรม เนื่องจากมีการผันแสดงการกอยู่แล้ว ภาษาเยอรมันจึงสามารถย้ายลำดับได้ค่อนข้างเสรี ทำให้สามารถเน้นคำที่ต้องการได้
กริยาช่วย
เมื่อมีกริยาช่วย ในประโยค จะอยู่ตำแหน่งที่สอง ส่วนกริยาหลักจะเป็นรูปไม่ผัน (Infinitiv ) และถูกย้ายไปท้ายประโยค เช่น ประโยคว่า Er soll nach Hause gehen. ("เขาควรกลับบ้าน" แปลตรงตัวคือ "เขา ควร บ้าน กลับ")
กริยาไม่ผันหลายตัว
ในอนุประโยค กริยาทุกตัวจะอยู่ท้ายประโยค และเนื่องจากกริยาสามารถใช้แสดงทั้งอนาคตกาล กรรมวาจก ทัศนภาวะ และกาลสมบูรณ์ จึงสามารถสร้างประโยคซ้อนที่มีกริยาหลายตัวอัดกันอยู่ข้างท้ายได้ เช่น
Man nimmt an, dass der Deserteur wohl erschossen V worden psv sein perf soll mod
("เป็นที่สงสัยว่า ผู้หนีทัพน่าจะถูกยิงไปแล้ว ")
Barbour, Stephen; Stevenson, Patrick (1990). Variation in German . Cambridge: Cambridge University Press. pp. 160–163. ISBN 978-0-521-35704-3 .
Ammon, Ulrich; Bickel, Hans; Ebner, Jakob; Gasser, Markus; Esterhammer, Ruth (2004). Variantenwörterbuch des Deutschen: Die Standardsprache in Österreich, der Schweiz und Deutschland sowie in Liechtenstein, Luxemburg, Ostbelgien und Südtirol [ German variant dictionary: The standard language in Austria, Switzerland and Germany as well as in Liechtenstein, Luxembourg, East Belgium and South Tyrol ] (ภาษาเยอรมัน). Berlin: W. de Gruyter. ISBN 978-3-11-016575-3 .
Bach, Adolf (1965). Geschichte der deutschen Sprache . Heidelberg: Quelle & Meyer.
Barbour, Stephen; Stevenson, Patrick (1990). Variation in German . Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-35704-3 .
Cercignani, Fausto (1979). The Consonants of German: Synchrony and Diachrony . Milano: Cisalpino.
Clyne, Michael (1995). The German Language in a Changing Europe . ISBN 978-0-521-49970-5 .
Curme, George O. (1922) [1904]. A Grammar of the German Language .
Deumert, Ama (2003). Markedness and salience in language contact and second-language acquisition: evidence from a non-canonical contact language . Language Sciences. Vol. 25. Elsevier Ltd. pp. 561–613. doi :10.1016/S0388-0001(03)00033-0 .
Dickens, A. G. (1974). The German Nation and Martin Luther . New York: Harper & Row.
Durrell, M (2006). "Germanic Languages". ใน Brown, Keith (บ.ก.). Encyclopedia of Language & Linguistics . Elsevier. pp. 53–55. doi :10.1016/B0-08-044854-2/02189-1 . ISBN 978-0-08-044299-0 . – โดยทาง ScienceDirect (อาจจำเป็นต้องสมัครสมาชิกหรือเนื้อหาอาจมีอยู่ในห้องสมุด)
Fox, Anthony (2005). The Structure of German . ISBN 978-0-19-927399-7 .
Giesbers, Charlotte (2008). Dialecten op de grens van twee talen : Een dialectologisch en sociolinguïstisch onderzoek in het Kleverlands dialectgebied [ Dialects on the border of two languages: A dialectological and sociolinguistic investigation in the Kleverland dialect area ] . Groesbeek: Reijngoudt-Giesbers. ISBN 978-90-813044-1-2 .
Goossens, Jan (1977). Deutsche Dialektologie [ German dialectology ] (ภาษาเยอรมัน) (1. ed.). Berlin: De Gruyter. ISBN 3-11-007203-3 .
Goossens, Jan (1983). Niederdeutsch: Sprache und Literatur; Eine Einführung [ Low German: language and literature; An introduction ] . Vol. 1 (2., rev. and by a bibliogr. supplement expd. ed.). Neumünster: Karl Wachholtz. ISBN 3-529-04510-1 .
Harbert, Wayne (2007). The Germanic Languages . Cambridge Language Surveys. Cambridge University Press. doi :10.1017/CBO9780511755071 . ISBN 978-0-521-01511-0 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 26 February 2015 .
Hattemer, Heinrich (1849). Denkmahle des Mittelalters: St. Gallen's altteutsche Sprachschætze [ Monuments of the Middle Ages: St. Gallen's Old German vocabulary ] . Vol. 3. Scheitlin und Zollikofer.
Heeringa, Wilbert Jan (2004). Measuring Dialect Pronunciation Differences using Levenshtein Distance (วิทยานิพนธ์).
Holm, John A. (1989). Pidgins and Creoles: Volume 2, Reference Survey (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-35940-5 .
Kapr, Albert (1993). Fraktur: Form und Geschichte der gebrochenen Schriften (ภาษาเยอรมัน). Mainz: H. Schmidt. ISBN 978-3-87439-260-0 .
Keller, R. E. (1978). The German language . London: Faber. ISBN 978-0-571-11159-6 .
König, Ekkehard; Van der Auwera, Johan, บ.ก. (1994). The Germanic Languages . Routledge Language Family Descriptions. Routledge. ISBN 978-0-415-28079-2 .
König, Werner; Paul, Hans-Joachim (2019) [1978]. Dtv-Atlas. Deutsche Sprache (ภาษาเยอรมัน). Vol. 1 (19th revised ed.). Munich: Deutscher Taschenbuch Verlag. ISBN 978-3-423-03025-0 .
Leao, Pedro Macedo (2011). Germany : Keys to understanding German Business Culture (1st ed.). USA: Lulupress. ISBN 9781447862956 .
Lewis, M. Paul; Simons, Gary F.; Fennig, Charles D. (2015). Ethnologue: Languages of Africa and Europe, Eighteenth Edition (18th ed.). Dallas: SIL International. ISBN 978-1-55671-391-0 . Sum of Standard German, Swiss German, and all German dialects not listed under "Standard German".
Lockwood, W. B. (1987). German Today: The Advanced Learner's Guide . ISBN 978-0-19-815850-9 .
Marten, Thomas; Sauer, Fritz Joachim, บ.ก. (2005). Länderkunde – Deutschland, Österreich, Schweiz und Liechtenstein im Querschnitt [ Regional Geography – An Overview of Germany, Austria, Switzerland and Liechtenstein ] (ภาษาเยอรมัน). Berlin: Inform-Verlag. ISBN 978-3-9805843-1-9 .
Nerius, Dieter (2000). "Die Rolle der II. Orthographischen Konferenz (1901) in der Geschichte der deutschen Rechtschreibung" . Zeitschrift für deutsche Philologie . 119 (1). ISSN 0044-2496 .
Niebaum, Hermann (2011). "Wege und Schwerpunkte der deutschen Dialektologie" [ Ways and focuses of German dialectology] . Einführung in die Dialektologie des Deutschen [ Introduction to the dialectology of German ] (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). Tübingen: Niemeyer. ISBN 978-3-11-091654-6 .
Reinecke, Adolf (1910). Die deutsche Buchstabenschrift: Ihre Entstehung und Entwicklung, ihre Zweckmäßigkeit und völkische Bedeutung [ The German letter font: Its origin and development, its advisability and folkish meaning ] (ภาษาเยอรมัน). A. Hasert und C.
Robinson, Orrin W. (1992). Old English and its closest relatives : a survey of the earliest Germanic languages . Stanford, Calif.: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-2221-6 .
Rothaug, Rudolf (1910). Geographischer Atlas zur Vaterlandskunde an den österreichischen Mittelschulen [ Geographical atlas on the homeland lore at the Austrian secondary schools ] (ภาษาเยอรมัน). Vienna: G. Freytag & Berndt.
Salmons, Joe (2012). A history of German : what the past reveals about today's language (1st ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-969793-9 .
Sanders, Ruth H. (2010). German: Biography of a Language . Oxford University Press.
Sanders, Willy (1982). Sachsensprache, Hansesprache, Plattdeutsch: Sprachgeschichtliche Grundzüge des Niederdeutschen [ Saxon language, Hanseatic language, Low German: Linguistic-historical basics of Low German ] (ภาษาเยอรมัน). Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht. ISBN 3-525-01213-6 .
Sanhueza, Carlos (2011). "El debate sobre "el embrujamiento alemnán" y el papel de la ciencia alemana hacia fines del siglo XIX en Chile" (PDF) . Ideas viajeras y sus objetos. El intercambio científico entre Alemania y América austral [ Traveling ideas and their objects. The scientific exchange between Germany and southern America ] (ภาษาสเปน). Madrid. ISBN 978-84-8489-638-8 .
Scherer, Wilhelm (1868). Zur Geschichte der deutschen Sprache [ On the history of the German language ] (ภาษาเยอรมัน). Berlin : Franz Duncker .
Scherer, Wilhelm; Jankowsky, Kurt R. (1995). Zur Geschichte der Deutschen Sprache [ On the history of the German language ] . Oxford University. Amsterdam; Philadelphia: J. Benjamins.
Skottsberg, Carl (1911). The Wilds of Patagonia: A Narrative of the Swedish Expedition to Patagonia Tierra del Fuego and the Falkland Island in 1907– 1909 . London, England: Edward Arnold .
Siebs, Theodor (2000). Deutsche Aussprache. Hochsprache Bühnensprache – Alltagssprache [ German pronunciation: Pure and moderate high accent with pronunciation dictionary ] (ภาษาเยอรมัน) (19., umgearbeitete Auflage ed.). Wiesbaden. ISBN 3-928127-66-7 .
Steinicke, Ernst; Walder, Judith; Löffler, Roland; Beismann, Michael (20 December 1999). "Autochthonous Linguistic Minorities in the Italian Alps" . Revue de Géographie Alpine (99–2). doi :10.4000/rga.1454 . สืบค้นเมื่อ 18 July 2016 .
Stellmacher, Dieter (2000). Niederdeutsche Sprache [ Low German language ] (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). Berlin. ISBN 978-3-89693-326-3 .
Super, Charles W. (1893). A history of the German language . University of California Libraries. Columbus, Ohio: Hann & Adair.
Thomas, Calvin (1992). An Anthology of German Literature . D. C. Heath and Company. ASIN 1010180266 .
Swadesh, Morris (1971). The Origin and Diversification of Language . Transaction Publishers. ISBN 978-0-20-236982-2 .
Upward, Chris (1997). "Spelling Reform in German" . Journal of the Simplified Spelling Society . J21 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 23 September 2014.
Von Polenz, Peter (1999). "6.5. Inter- und übernationale Beziehungen" . Deutsche Sprachgeschichte vom Spätmittelalter bis zur Gegenwart [ German language history from the late Middle Ages to the present ] . de Gruyter Studienbuch (ภาษาเยอรมัน). Vol. Band III: 19. und 20. Jahrhundert. Berlin; New York: de Gruyter. ISBN 978-3-11-016426-8 .
Wagner, Claudio (2000). "Las áreas de "bocha", "polca" y "murra". Contacto de lenguas en el sur de Chile" [ The "bocha", "polka" and "murra" areas. Language contact in southern Chile] . Revista de Dialectología y Tradiciones Populares (ภาษาสเปน). 55 (1): 185–196. doi :10.3989/rdtp.2000.v55.i1.432 .
Waterman, John (1976). A history of the German language: with special reference to the cultural and social forces that shaped the standard literary language (Rev. ed.). Seattle: University of Washington Press. ISBN 978-0-295-73807-9 .
Weiss, Gerhard (1995). "Up-to-Date and with a Past: The "Duden" and its History". Die Unterrichtspraxis / Teaching German . 28 (1): 7–12. doi :10.2307/3531328 . JSTOR 3531328 .
Wiesinger, Peter (1982). "Die Einteilung der deutschen Dialekte" [ The classification of the German dialects] . ใน Besch, Werner; Wiegand, Herbert Ernst (บ.ก.). Dialektologie. Ein Handbuch zur deutschen und allgemeinen Dialektforschung (ภาษาเยอรมัน) (1 ed.). Berlin, New York: Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-005977-9 .