Loading AI tools
การแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี (อังกฤษ: UEFA European Under-21 Championship) เป็นการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติเพื่อหาทีมผู้ชนะในระดับทวีปยุโรปในรุ่นอายุต่ำกว่า 21 ปี จัดการแข่งขันโดยยูฟ่าทุก 2 ปี โดยทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการแข่งขันที่เกิดขึ้นก่อนกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1 ปี จะได้สิทธิ์แข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีถัดมา
ถ้วยรางวัลของทีมผู้ชนะฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี | |
ก่อตั้ง | 1989 |
---|---|
ภูมิภาค | ยุโรป (ยูฟ่า) |
จำนวนทีม | 55 (รอบคัดเลือก) 16 (รอบสุดท้าย) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | อังกฤษ (3 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | อิตาลี สเปน (ทีมละ 5 สมัย) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี 2023 |
อิตาลีและสเปน เป็นทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุด ซึ่งสเปนยังคงเป็นทีมผู้ชนะ ณ ปัจจุบัน หลังจากชนะเลิศการแข่งขันในปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา จากการเอาชนะเยอรมนี ในรอบชิงชนะเลิศ 2–1
ตั้งแต่ปี 1967 ถึง 1970 ยูฟ่าได้จัดตั้งการแข่งขันประเภทผู้เล่นอายุต่ำกว่า 23 ปีขึ้นครั้งแรกในระดับยุโรปมีชื่อว่า Under-23 Challenge Cup ในปี ค.ศ. 1970 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และมีจำนวนทีมที่มากขึ้นและใช้รูปแบบนี้จนถึงปี 1976 จึงเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันเป็นระดับรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีและเริ่มต้นครั้งแรกในปี 1978 และคงรูปแบบนี้นับแต่นั้นมา โดยในรอบคัดเลือกผู้เล่นทุกคนจะต้องเกิดในหรือหลัง 21 ปีก่อนหน้า เช่น การแข่งขันรอบคัดเลือกของการแข่งขันในปี 2019 ซึ่งเริ่มต้นแข่งขันในปี 2017 ผู้เล่นทุกคนจะต่องเกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 1996 แต่ในรอบสุดท้ายซึ่งจะแข่งขันในอีก 2 ปีข้างหน้านับจากรอบคัดเลือก ก็จะใช้กฎที่ทุกคนต้องเกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 1996 เช่นกัน ฉะนั้นผู้เล่นจึงสามารถมีอายุมากกว่า 21 ปีได้ในการแข่งขันรอบสุดท้ายแต่จะไม่เกิน 23 ปี
แต่เดิมนั้น การแข่งขันจะมีการลงเล่นในเดือน พฤษภาคม–มิถุนายน ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปของทีมชุดใหญ่ แต่ได้เปลี่ยนแปลงไปนับจากที่การแข่งขันถูกย้ายไปแข่งขันในปีคี่
การแข่งขันนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญสู่ทีมชุดใหญ่ ซึ่งมีนักเตะที่คว้าแชมป์กับทีมชุดใหญ่มากมายเคยผ่านแข่งขันในรายการนี้ เช่น เมซุท เออซิล กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ มานูเอ็ล น็อยเออร์ ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014, ฌูอัน กัดดาบิลา การ์เลส ปูยอล ชาบี ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เป็นต้น
ในการแข่งขันในปีก่อนหน้าและในปี 1992 ในรอบคัดเลือกได้มีเข้าร่วมทั้งหมด 33 ทีมจะถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีมและจะมี 1 กลุ่มที่มี 5 ทีมทีมที่มีลำดับดีที่สุดจะผ่านเข้าสู่การแข่งขันในรอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้ายจะลงเล่นในรูปแบบแพ้คัดออก 2 นัด เหย้า–เยือน จนหาทีมชนะเลิศได้
การแข่งขันในปี 1994 ได้มีเจ้าภาพของการแข่งขันรอบสุดท้ายขึ้นเป็นครั้งแรกนั่นคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันที่เหลือจากรอบรองชนะเลิศเป็นต้นไป เท่านั้น และมีการแข่งขันเพียงนัดเดียวไม่มีเหย้า–เยือน แต่ในรอบก่อนรองชนะเลิศยังคงใช้กฎกติกาเดิมของปีก่อนหน้า
การแข่งขันในปี 1998 ในรอบคัดเลือก ได้มีการคัดเลือกโดยมีกลุ่มมากถึง 9 กลุ่มเนื่องจากการมีทีมเข้าร่วมถึง 46 ทีม โดยทีมแชมป์กลุ่มทั้งหมดที่มีคะแนนดีที่สุด 7 ทีมจะผ่านเข้ารอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ขณะที่ทีมแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด 2 ทีม จะไปแข่งขันกันในรูปแบบเหย้า–เยือน เพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้าย การแข่งขันที่เหลือจากรอบรองชนะเลิศเป็นต้นไป ได้ถูกจัดขึ้นใน ประเทศโรมาเนีย ซึ่ง โรมาเนีย ก็ได้เป็นหนึ่งในแปดที่ผ่านเข้ารอบด้วย
การแข่งขันในปี 2000 ยังคงใช้ 9 กลุ่มในการคัดเลือกซึ่งมี 47 ทีมเข้าร่วม โดยทีมที่เป็นแชมป์กลุ่ม 9 ทีมและรองแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนมากที่สุด 7 ทีม จะไปแข่งขันกันเพื่อหา 8 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้าย สโลวาเกีย ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันในทุกนัด การแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มจึงมีการแข่งขันเพียงนัดเดียวซึ่งทีมที่เป็นแชมป์กลุ่มของทั้ง 2 กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและทีมที่เป็นรองแชมป์กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบชิงที่สาม โดยโครงสร้างการแข่งขันในปี 2002 ที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพ ยังคงเหมือนกันแต่ได้มีการเพิ่มการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศเข้ามา ซึ่งจะนำแชมป์และรองแชมป์กลุ่มมาแข่งขันเพื่อหาทีมเข้าสู่รอบชิงที่สาม และรอบชิงชนะเลิศ
การแข่งขันในปี 2004 มีการใช้กลุ่มสิบกลุ่มสำหรับการคัดเลือก โดยทีมแชมป์กลุ่ม 10 ทีม และรองแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนมากที่สุด 6 ทีมจะเข้าไปลงเล่นพบกันเพื่อหาผู้ชนะ 8 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยเยอรมนีเป็นเจ้าภาพในปีนั้น, การแข่งขันในปี 2006 ได้เปลี่ยนรูปแบบเหลือ 8 กลุ่มโดยแชมป์และรองแชมป์กลุ่มรวม 16 ทีมจะไปแข่งขันพบกัน โดยโปรตุเกสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในรอบสุดท้ายในปีนี้
นับจากนั้น การแข่งขันได้ย้ายไปแข่งขันในปีคี่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเนื่องจากทีมชุดใหญ่ของหลายประเทศมักเลือกที่จะส่งเสริมผู้เล่นจากทีมอายุต่ำกว่า 21 ปี ขึ่นสู่ทีมเนื่องจากการแข่งขันของพวกเขามีมาก การแข่งขันที่เลื่อนออกไปทำให้ผู้เล่นมีเวลามากขึ้นกับการพัฒนาตัวเองกับทีมอายุต่ำกว่า 21 ปีแทนที่จะได้รับการลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งเร็วเกินไปและจบลงด้วยการเป็นตัวสำรองของผู้เล่นทีมชุดใหญ่
โดยรอบคัดเลือกของการแข่งขันในปี 2007 จัดขึ้นก่อนการแข่งขันรอบสุดท้ายของปี 2006 โดยมี 52 ประเทศเข้าร่วม รอบคัดเลือกเริ่มต้นด้วยการแข่งขันของทีมชาติที่มีอันดับต่ำที่สุด 16 อันดับ เพื่อนำ 8 ทีมเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มกับอีก 34 ทีม ซึ่งแบ่งออกเป็น 14 กลุ่มกลุ่มละ 3 ทีม ผู้ชนะทั้ง 14 กลุ่มถูกจับคู่เพื่อลงเล่นพบกับแบบเหย้า–เยือน เพื่อตัดสินคัดเลือก 7 ทีมเข้ารอบสุดท้ายพร้อมกับเจ้าภาพ, ในช่วงปี 2009–2015 มีการใช้สิบกลุ่มสำหรับการคัดเลือก โดยแชมป์กลุ่ม และรองแชมป์กลุ่มที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปแขงขันพบกัน 2 นัดเหย้า–เยือน เพื่อหา 7 ทีมเข้ารอบสุดท้ายพร้อมกับเจ้าภาพ
การแข่งขันในปี 2017 ยูฟ่าได้เพิ่มจำนวนทีมในรอบสุดท้ายเป็น 12 ทีม[1] และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2019 คณะกรรมการบริหารของยูฟ่าได้มีมติเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมในรอบสุดท้ายเป็น 16 ทีมตัังแต่ปี 2021 และมีเจ้าภาพ 2 ประเทศเป็นครั้งแรก[2]
ปี | เจ้าภาพ | รอบชิงชนะเลิศ | ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ | จำนวนทีม (ในวงเล็บหมายถึงจำนวนในรอบคัดเลือก) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | คะแนน | รองชนะเลิศ | ||||||||
1972 | ลงเลนแบบ เหย้า–เยือน |
เชโกสโลวาเกีย |
2–2 / 3–1 รวมผลสองนัด 5–3 |
สหภาพโซเวียต |
บัลแกเรีย และ กรีซ | 8 (23) | ||||
1974 | ลงเลนแบบ เหย้า–เยือน |
ฮังการี |
2–3 / 4–0 รวมผลสองนัด 6–3 |
เยอรมนีตะวันออก |
โปแลนด์ และ สหภาพโซเวียต | 8 (21) | ||||
1976 | ลงเลนแบบ เหย้า–เยือน |
สหภาพโซเวียต |
1–1 / 2–1 รวมผลสองนัด 3–2 |
ฮังการี |
เนเธอร์แลนด์ และ ยูโกสลาเวีย | 8 (23) |
ปี | เจ้าภาพ | รอบชิงชนะเลิศ | ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ (และนัดชิงที่สาม) |
จำนวนทีม (ในวงเล็บหมายถึงจำนวนในรอบคัดเลือก) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | คะแนน | รองชนะเลิศ | ||||||||
1978 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
ยูโกสลาเวีย |
1–0 / 4–4 รวมผลสองนัด 5–4 |
เยอรมนีตะวันออก |
บัลแกเรีย และ อังกฤษ | 8 (24) | ||||
1980 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
สหภาพโซเวียต |
0–0 / 1–0 รวมผลสองนัด 1–0 |
เยอรมนีตะวันออก |
อังกฤษ และ ยูโกสลาเวีย | 8 (25) | ||||
1982 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
อังกฤษ |
3–1 / 2–3 รวมผลสองนัด 5–4 |
เยอรมนีตะวันตก |
สกอตแลนด์ และ สหภาพโซเวียต | 8 (26) | ||||
1984 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
อังกฤษ |
1–0 / 2–0 รวมผลสองนัด 3–0 |
สเปน |
อิตาลี และ ยูโกสลาเวีย | 8 (30) | ||||
1986 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
สเปน |
1–2 / 2–1 รวมผลสองนัด 3–3 |
อิตาลี |
อังกฤษ และ ฮังการี | 8 (29) | ||||
1988 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
ฝรั่งเศส |
0–0 / 3–0 รวมผลสองนัด 3–0 |
กรีซ |
อังกฤษ และ เนเธอร์แลนด์ | 8 (30) | ||||
1990 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
สหภาพโซเวียต |
4–2 / 3–1 รวมผลสองนัด 7–3 |
ยูโกสลาเวีย |
อิตาลี และ สวีเดน | 8 (30) | ||||
1992 | ลงเล่นแบบ เหย้า–เยือน |
อิตาลี |
2–0 / 0–1 รวมผลสองนัด 2–1 |
สวีเดน |
เดนมาร์ก และ สกอตแลนด์ | 8 (32) | ||||
1994 | ฝรั่งเศส | อิตาลี |
1–0 (ต่อเวลา) |
โปรตุเกส |
สเปน |
2–1 | ฝรั่งเศส |
8 (32) | ||
1996 | สเปน | อิตาลี |
1–1 4–2 (ดวลลูกโทษ) |
สเปน |
ฝรั่งเศส |
1–0 | สกอตแลนด์ |
8 (44) | ||
1998 | โรมาเนีย | สเปน |
1–0 | กรีซ |
นอร์เวย์ |
2–0 | เนเธอร์แลนด์ |
8 (46) | ||
2000 | สโลวาเกีย | อิตาลี |
2–1 | เช็กเกีย |
สเปน |
1–0 | สโลวาเกีย |
8 (47) | ||
2002 | สวิตเซอร์แลนด์ | เช็กเกีย |
0–0 3–1 (ดวลลูกโทษ) |
ฝรั่งเศส |
อิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์ | 8 (47) | ||||
2004 | เยอรมนี | อิตาลี |
3–0 | เซอร์เบียและมอนเตเนโกร |
โปรตุเกส |
3–2 (ต่อเวลา) |
สวีเดน |
8 (48) | ||
2006 | โปรตุเกส | เนเธอร์แลนด์ |
3–0 | ยูเครน |
ฝรั่งเศส และะ เซอร์เบียและมอนเตเนโกร | 8 (51) | ||||
2007 | เนเธอร์แลนด์ | เนเธอร์แลนด์ |
4–1 | เซอร์เบีย |
เบลเยียม และ อังกฤษ | 8 (51) | ||||
2009 | สวีเดน | เยอรมนี |
4–0 | อังกฤษ |
อิตาลี และ สวีเดน | 8 (52) | ||||
2011 | เดนมาร์ก | สเปน |
2–0 | สวิตเซอร์แลนด์ |
เบลารุส |
1–0 | เช็กเกีย |
8 (53) | ||
2013 | อิสราเอล | สเปน |
4–2 | อิตาลี |
เนเธอร์แลนด์ และ นอร์เวย์ | 8 (53) | ||||
2015 | เช็กเกีย | สวีเดน |
0–0 4–3 (ดวลลูกโทษ) |
โปรตุเกส |
เดนมาร์ก และ เยอรมนี | 8 (53) | ||||
2017 | โปแลนด์ | เยอรมนี |
1–0 | สเปน |
อังกฤษ และ อิตาลี | 12 (53) | ||||
2019 | อิตาลี | สเปน |
2–1 | เยอรมนี |
ฝรั่งเศส และ โรมาเนีย | 12 (55) | ||||
2021 | ฮังการี สโลวีเนีย |
เยอรมนี |
1–0 | โปรตุเกส |
เนเธอร์แลนด์ และ สเปน | 16 (55) | ||||
2023 | โรมาเนีย จอร์เจีย |
อังกฤษ |
1–0 | สเปน |
อิสราเอล และ ยูเครน | 16 (54) | ||||
2025 | สโลวาเกีย | 16 (53) |
เฉพาะการแแข่งขันในระดับรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี เท่านั้น[3][4]
ทีม | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ลำดับที่สาม | ลำดับที่สี่ | ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ | รวม (อยู๋ใน 4 อันดับแรก) |
---|---|---|---|---|---|---|
สเปน | 5 (1986, 1998, 2011, 2013, 2019) | 4 (1984, 1996), 2017, 2023) | 2 | 1 | 11 | |
อิตาลี | 5 (1992, 1994, 1996, 2000, 2004) | 2 (1986, 2013) | 5 | 12 | ||
เยอรมนี[lower-alpha 1] | 3 (2009, 2017, 2021) | 2 (1982, 2019) | 1 | 6 | ||
อังกฤษ | 3 (1982, 1984, 2023) | 1 (2009) | 6 | 9 | ||
เนเธอร์แลนด์ | 2 (2006, 2007) | 1 | 3 | 6 | ||
สหภาพโซเวียต | 2 (1980, 1990) | 1 | 3 | |||
ฝรั่งเศส | 1 (1988) | 1 (2002) | 1 | 1 | 2 | 6 |
สวีเดน | 1 (2015) | 1 (1992) | 1 | 2 | 5 | |
เช็กเกีย | 1 (2002) | 1 (2000) | 1 | 3 | ||
ยูโกสลาเวีย | 1 (1978) | 1 (1990) | 2 | 4 | ||
โปรตุเกส | 3 (1994, 2015, 2021) | 1 | 3 | |||
เซอร์เบีย | 2 (2004, 2007) | 1 | 3 | |||
เยอรมนีตะวันออก | 2 (1978, 1980) | 2 | ||||
กรีซ | 2 (1988, 1998) | 2 | ||||
สวิตเซอร์แลนด์ | 1 (2011) | 1 | 2 | |||
ยูเครน | 1 (2006) | 1 | ||||
นอร์เวย์ | 1 | 1 | 2 | |||
เบลารุส | 1 | 1 | ||||
สกอตแลนด์ | 1 | 2 | 3 | |||
สโลวาเกีย | 1 | 1 | ||||
เดนมาร์ก | 2 | 2 | ||||
เบลเยียม | 1 | 1 | ||||
บัลแกเรีย | 1 | 1 | ||||
ฮังการี | 1 | 1 | ||||
โรมาเนีย | 1 | 1 | ||||
รวม | 23 | 23 | 6 | 6 | 34 | 92 |
ตั้งแต่ปี 2013 ผู้เล่นของการแข่งขันจะได้รับการคัดเลือกโดยทีมงานด้านเทคนิคของยูฟ่า เพื่อหานักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันเพียงคนเดียว[5]
ปี | ผู้ได้รับรางวัล | อ้างอิง |
---|---|---|
อิสราเอล 2013 | เตียโก อัลกันตารา | [6] |
สาธารณรัฐเช็ก 2015 | วีลียัม การ์วัลยู | [7] |
โปแลนด์ 2017 | ดานิ เซบาโยส | [8] |
อิตาลีและซานมาริโน 2019 | ฟาเบียน รูอิซ | [9] |
ฮังการีและสโลวีเนีย 2021 | ฟาบิอู วิเอยรา | [10] |
โรมาเนียและจอร์เจีย 2023 | แอนโทนี กอร์ดอน | [11] |
อาดิดาส รางวัลรองเท้าทองคำ จะมอบให้กับผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุดในการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2000 นับตั้งแต่ในปี 2013 ได้มีการมอบรางวัล รองเท้าเงิน และ รองเท้าทองแดง ให้กับผู้ทำประตูสูงสุดอันดับสองและสามในการแข่งขันตามลำดับ
การแข่งขัน | รองเท้าทองคำ | ประตู | รองเท้าเงิน | ประตู | รองเท้าทองแดง | ประตู | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
สโลวาเกีย 2000 | อันเดรอา ปีร์โล | 3 | [12] | ||||
สวิตเซอร์แลนด์ 2002 | มัสซีโม มักกาโรเน | 3 | [12] | ||||
เยอรมนี 2004 | อัลแบร์โต จิลาร์ดิโน | 4 | [12] | ||||
โปรตุเกส 2006 | กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ | 4 | [12] | ||||
เนเธอร์แลนด์ 2007 | มัสซิโอ ริกเจอร์ | 4 | [12] | ||||
สวีเดน 2009 | มาร์คัส เบิร์ก | 7 | [12] | ||||
เดนมาร์ก 2011 | อาเดรียน | 5 | [12] | ||||
อิสราเอล 2013 | อัลบาโร โมราตา | 4 | เตียโก | 3 | อิสโก | 3 | [13] |
สาธารณรัฐเช็ก 2015 | ยาน คลิเมนท์ | 3 | เควิน ฟ็อลลันท์ | 2 | จอห์น กุยเดตติ | 2 | [12] |
โปแลนด์ 2017 | ซาอุล | 5 | มาร์โก อาเซนซิโอ | 3 | บรูมา | 3 | [14] |
อิตาลี 2019 | ลูคา วายชมิดท์ | 7 | โจนเจ ปุสกัส | 4 | มาร์โก ริทแตร์ | 3 | [15] |
ฮังการีและสโลวีเนีย 2021 | ลูคัส อึนเมชา | 4 | ปาตริก กูโตรเน | 3 | ดานี โมตา | 3 | [16] |
ในวันที่ 17 มิถุนายน 2015 ยูฟ่า ได้ประกาศทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันตลอดกาล โดยจัดอันดับจากผลงานในการแข่งขันรอบสุดท้ายของรายการนี้[17]
ผู้รักษาประตู | กองหลัง | กองกลาง | กองหน้า |
---|---|---|---|
มานูเอ็ล น็อยเออร์ | มัทซ์ ฮุมเมิลส์ จอร์โจ กีเอลลีนี อาเลสซันโดร เนสตา บรานิสลัฟ อิวานอวิช |
แฟรงก์ แลมพาร์ด เมซุท เออซิล อันเดรอา ปีร์โล ชาบี |
ฟรันเชสโก ตอตตี ราอุล |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.