Remove ads
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ถึง 2017 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ (ฝรั่งเศส: François Gérard Georges Nicolas Hollande, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [fʁɑ̃swa ɔlɑ̃d]; เกิด 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองชาวฝรั่งเศส อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ด้วยคะแนนเสียงประมาณร้อยละ 51.90[1] เขาเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดกอแรซในช่วง ค.ศ. 1988–1993 และ ค.ศ. 1997–2012 เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมในช่วง ค.ศ. 1997–2008 เป็นประธานสภาเทศบาลกอแรซในช่วง ค.ศ. 2008–2012 รวมถึงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลในช่วง ค.ศ. 2001 – 2008 อีกด้วย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ดิออนะระเบิล ฟร็องซัว ออล็องด์ | |
---|---|
François Hollande | |
ออล็องด์ใน ค.ศ. 2017 | |
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส คนที่ 24 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 (4 ปี 364 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ฌ็อง-มาร์ก เอโร มานุแอล วาลส์ แบร์นาร์ กาซเนิฟว์ |
ก่อนหน้า | นีกอลา ซาร์กอซี |
ถัดไป | แอมานุแอล มาครง |
ประธานสภาจังหวัดกอแรซ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มีนาคม ค.ศ. 2008 – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 (4 ปี 56 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฌ็อง-ปิแยร์ ดูปองต์ |
ถัดไป | เฌราร์ โบแนต์ |
เลขาธิการเอกพรรคสังคมนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 (11 ปี 0 วัน) | |
ก่อนหน้า | ลียอแนล ฌ็อสแป็ง |
ถัดไป | มาร์ทีน โอบรี |
นายกเทศมนตรีประจำตูล | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2001 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2008 (7 ปี 0 วัน) | |
ก่อนหน้า | เรมงด์-มักซ์ อูแบร์ |
ถัดไป | แบร์นาร์ กงบส์ |
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จังหวัดกอแรซ เขตที่ 1 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days ) | |
ก่อนหน้า | ฟร็องซิส ดูบอยส์ |
ดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน ค.ศ. 1997 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 (14 ปี 337 วัน) | |
ก่อนหน้า | ลูเซียน เรโนดี |
ถัดไป | โซฟี เดอซู |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน ค.ศ. 1988 – 1 เมษายน ค.ศ. 1993 (4 ปี 282 วัน) | |
ก่อนหน้า | เขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน แต่งตั้งเขตเลือกตั้ง |
ถัดไป | เรมงด์-มักซ์ อูแบร์ |
สมาชิกรัฐสภายุโรป เขตฝรั่งเศส | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กรกฎาคม – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (0 ปี 150 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฟร็องซัว เฌราร์ ฌอร์ฌ นีกอลา ออล็องด์ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1954 รูอ็อง ประเทศฝรั่งเศส |
พรรคการเมือง | พรรคสังคมนิยม |
คู่อาศัย |
|
คู่สมรส | ฌูลี กาแย (สมรส 2022) |
บุตร | 4 คน |
ศิษย์เก่า | Panthéon-Assas University HEC Paris Sciences Po Paris École nationale d'administration |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกฝรั่งเศส |
ออล็องด์เกิดในเมืองรูอ็องในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางคาทอลิก แม่ของเขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นหมอหู คอ จมูกที่เคยลงสมัครเป็นผู้สมัครฝ่ายขวาจัดในการเมืองท้องถิ่น เชื่อกันว่านามสกุลออล็องด์ของเขามาจากบรรพบุรุษที่หลบหนีมาจากฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ในช่วงศตวรรษที่ 16 และนำชื่อประเทศมาเป็นนามสกุล
ออล็องด์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำแซ็งฌ็อง-บาติสต์เดอลาซาล และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการปารีส (HEC Paris), วิทยาลัยการบริหารแห่งชาติ (École nationale d'administration) และสถาบันรัฐศึกษาปารีส (Institut d'Etudes Politiques de Paris) ออล็องด์เคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เข้าทำงานในศาลตรวจสอบบัญชีแห่งฝรั่งเศสทันทีหลังจากจบการศึกษา
ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของฟร็องซัว มีแตร็อง ในอีก 5 ปีต่อมา ออล็องด์ได้เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมและถูกจับตามองอย่างรวดเร็วจากฌัก อาตาลีผู้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของมีแตร็อง ในปี ค.ศ. 1981 อาตาลีได้ให้ออล็องด์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกอแรซ แข่งขันกับประธานาธิบดีของฝรั่งเศสในอนาคต ฌัก ชีรัก ออล็องด์แพ้การเลือกตั้งแก่ชีรัก เขาก้าวต่อไปโดยไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษแก่ประธานาธิบดีคนใหม่ ฟร็องซัว มีแตร็อง หลังจากนั้นไปเป็นคณะทำงานให้กับโฆษกรัฐบาล หลังจากที่ออล็องด์ได้เป็นสมาชิกเทศบาล Ussel ในปี ค.ศ. 1983 ออล็องด์ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่ในปี ค.ศ. 1993 ออล็องด์ได้สูญเสียตำแหน่งผู้แทนราษฎรไปอีกครั้งในการเลือกตั้งที่ถูกเรียกว่า คลื่นสีฟ้า อันเนื่องมาจากการสูญเสียที่นั่งในสภาของพรรคสังคมนิยมให้แก่ฝ่ายขวาเป็นจำนวนมาก
ในช่วงใกล้สิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง พรรคสังคมนิยมเกิดความแตกแยกภายในขึ้นเนื่องจากต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นผู้กำหนดทิศทางของพรรค ออล็องด์ได้ออกมาเรียกร้องความปรองดองและให้พรรครวมตัวเป็นหนึ่งภายใต้ ฌัก เดอลอร์ ประธานสหภาพยุโรป แต่เดอลอร์ปฏิเสธที่จะเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครเป็นประธานาธิบดี ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็ง กลับมาเป็นผู้นำพรรคอีกครั้ง ฌ็อสแป็งเลือกออล็องด์ให้เป็นโฆษกพรรคอย่างเป็นทางการ ต่อมาในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 1997 ออล็องด์กลับไปลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ อีกครั้งและประสบความสำเร็จในการกลับเข้าสภา ในปีเดียวกันนั้นเอง ฌ็อสแป็งได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส และออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่ 11 ปี โดยในช่วงระยะเวลานี้ พรรคสังคมนิยมมีตำแหน่งที่แข็งแรงในรัฐบาลฝรั่งเศส ตำแหน่งเลขาธิการพรรคของออล็องด์จึงถูกเรียกในบางครั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 2001 ออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลซึ่งเขามีวาระการดำรงตำแหน่งนี้ 7 ปี
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2002 รอบแรก พรรคสังคมนิยมพ่ายแพ้แก่ผู้สมัครฝ่ายขวาจัด ฌ็อง-มารี เลอ แปน อย่างน่าตกตะลึง ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็งตัดสินใจลาออก การลาออกทำให้ออล็องด์กลายเป็นเสมือนผู้นำของพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค.ศ. 2002 ออล็องด์สามารถจำกัดความพ่ายแพ้ไว้ได้บางส่วนโดยเขายังถูกเลือกกลับมาเป็นผู้แทนราษฎรได้ในเขตของตน แต่ผู้สมัครคนอื่น ๆ ของพรรคพ่ายแพ้ไปทั่วประเทศ ก่อนการประชุมใหญ่ประจำปี ค.ศ. 2003 ของพรรคที่จัดขึ้นในเมืองดีฌง ออล็องด์สามารถทำให้ผู้มีชื่อเสียงในพรรคหลายคนหันมาสนับสนุนตนได้ เขาจึงถูกเลือกกลับมาเป็นเลขาธิการพรรคอีกครั้ง แม้ว่าจะถูกฝ่ายซ้ายในพรรคต่อต้านก็ตาม หลังการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 ที่ฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะ ออล็องด์ถูกอ้างถึงว่าอาจเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ แต่พรรคสังคมนิยมในช่วงนั้นถูกแบ่งเป็นสองส่วนในความเห็นเรื่องการจัดตั้งธรรมนูญยุโรป ออล็องด์ซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งธรรมนูญจึงก่อให้เกิดความแตกร้าวภายในพรรค ในปี ค.ศ. 2005 เขายังคงรักษาตำแหน่งเลขาธิการพรรคไว้ได้ในการประชุมใหญ่ของพรรค แต่อำนาจของเขาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 2007 ภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสซึ่งเธอได้พ่ายแพ้ต่อนีกอลา ซาร์กอซี ในปีเดียวกัน ออล็องด์ถูกตำหนิอย่างหนักเนื่องจากผลอันย่ำแย่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี ค.ศ 2007 เขาจึงประกาศที่จะไม่ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อหมดวาระ
หลังจากที่ออล็องด์ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ เขาได้รับเลือกให้แทนที่ฌ็อง-ปีแยร์ ดูว์ปง ในตำแหน่งประธานสภาเทศบาลกอแรซซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2008 เขาสนับสนุนการให้รางวัลเอเตียน บาลูซ (Étienne Baluze) ซึ่งมอบให้บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยออล็องด์เป็นผู้ให้รางวัลนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 แก่นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เบียทริช ปาลเมโร
ออล็องด์ได้ประกาศตัวเพื่อเป็นตัวแทนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยม ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 โดยตอนแรกเขาได้มีคะแนนตามหลังนายดอมีนิก สโทรส-กาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่ภายหลังออล็องด์ได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากข่าวการกล่าวหาการลวนลามทางเพศของนายดอมีนิก สโทรส-กาน จึงทำให้เขาต้องประกาศไม่ลงชิงชัยตำแหน่งโดยปริยาย โดยภายหลังจากการอภิปรายโต้เถียงหลายครั้งผ่านทางรายการโทรทัศน์ ออล็องด์ได้คะแนนนิยมในรอบแรกถึงร้อยละ 39 เป็นอันดับที่ 1 แต่ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จึงทำให้เขาต้องเข้าอภิปรายโต้เถียงอีกครั้งกับนางมาร์ทีน โอบรี ผู้สมัครจากพรรคเดียวกันที่ตามมาเป็นอันดับที่สอง โดยได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ 30
ในการลงคะแนนออกเสียงครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ออล็องด์ก็ได้คะแนนคะแนนเสียงถึงร้อยละ 56 ในขณะที่โอบรีได้ร้อยละ 43 จึงทำให้เขาเป็นตัวแทนของพรรคสังคมนิยม และพรรคฝ่ายซ้ายก้าวหน้า อย่างเป็นทางการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2012 โดยเขายังได้ขอแรงสนับสนุนจากสมาชิกพรรคผู้ร่วมชิงตำแหน่งของพรรคฯ เช่นกัน อาทิเช่น มาร์ทีน โอบรี, อาร์โน มงต์บูร์, มานุแอล วาลส์ และเซกอแลน รัวยาล อดีตผู้เข้าชิงของพรรคฯ ในการเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2007
ในวันที่ 26 มกราคม เขาได้เปิดเผยนโยบายต่าง ๆ รวมถึงกว่า 60 นโยบาย รวมถึงการขึ้นภาษีสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคาร และเศรษฐี การสร้างงานอาชีพครูกว่า 60,000 ตำแหน่ง การปรับลดอายุการเกษียณอายุจาก 62 ปีเป็น 60 ปีดังเดิม การสร้างงานทดแทนในเขตที่มีอัตราผู้ว่างงานที่อายุน้อยสูง การสนับสนุนการก่อตั้งธุรกิจขนาดใหญ่โดยการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน การออกกฎหมายเพื่อสิทธิการแต่งงานในเพศเดียวกันและสิทธิในการอุปถัมภ์ทารก รวมทั้งการถอนทหารจากอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2012
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายนีกอลา ซาร์กอซีประธานาธิบดีในขณะนั้น ได้ประกาศเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยที่สอง โดยเขาได้วิจารณ์นโยบายของออล็องด์ว่าจะทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศภายในสองวันหากออล็องด์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป
ในช่วงโค้งแรกของการหาเสียง ออล็องด์ได้คะแนนนำจากการหยั่งเสียงต่าง ๆ และในที่สุดในการเลือกตั้งรอบที่ 1 เมื่อ 22 เมษายน ค.ศ. 2012 ออล็องด์ได้คะแนนนำอันดับที่หนึ่ง โดยได้คะแนนเสียงร้อยละ 28.63 โดยเขาต้องเข้าชิงคะแนนในการเลือกตั้งรอบที่สองกับนีกอลา ซาร์กอซี และในการเลือกตั้งรอบที่ 2 ออล็องด์ได้คะแนนนำเกินกึ่งหนึ่งที่ 51.70 เป็นผลให้เขาเป็นว่าที่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสคนถัดไป
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คู่สมรสมานานกว่า 30 ปีของออล็องด์คือ เซกอแลน รัวยาล ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 4 คน คือ ตอมา เกลม็องส์ ฌูว์เลียง และฟลอรา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หนึ่งเดือนหลังการพ่ายแพ้ของรัวยาลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ทั้งคู่ออกมาประกาศว่ากำลังแยกกันอยู่[2] ไม่กี่เดือนถัดมา เว็บไซต์ฝรั่งเศสแห่งหนึ่งออกมาเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างออล็องด์กับวาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ การประกาศนี้ทำให้เกิดการโต้แย้งกันขึ้นเนื่องจากบางคนถือว่าการเปิดเผยนี้เป็นการลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของนักการเมือง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 วาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ ออกมายืนยันในความสัมพันธ์และพูดถึงอย่างเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อ Télé 7 Jours
ออล็องด์เขียนหนังสือและงานวิชาการหลายเล่ม ดังรายชื่อด้านล่าง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.