ประวัติรุ่นของแอนดรอยด์ เริ่มตั้งแต่การเผยแพร่รุ่นทดลองในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และได้มีการเปิดตัวแอนดรอยด์ 1.0 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ภายใต้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกูเกิล และ โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งจะเห็นได้จากการอัปเดต ของระบบปฏิบัติการในช่วงแรก
การใช้แอนดรอยด์ของแต่ละรุ่นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 แอนดรอยด์ 4.1 และ 4.2 และ 4.3 เจลลีบีน เป็นรุ่นที่นิยมใช้พฤศจิกายนสุด 52% ทั่วโลก
นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 รุ่นของแอนดรอยด์พัฒนาภายใต้โคดเนม (ชื่อเฉพาะในการพัฒนา) และเผยแพร่โดยเรียงตามตัวอักษร : คัพเค้ก (1.5), โดนัท (1.6), เอแคลร์ (2.0–2.1), โฟรโย (2.2–2.2.3), จิงเจอร์เบรด (2.3–2.3.7), ฮันนีโคมป์ (3.0–3.2.6), ไอศกรีมแซนด์วิช (4.0–4.0.4), เจลลีบีน (4.1–4.3) และคิทแคท (4.4) ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 กูเกิลได้ยืนยันว่ามีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้รับการเปิดใช้งาน 1 พันล้านเครื่องทั่วโลก[1] รุ่นล่าสุดที่ได้รับการอัปเดตคือ 4.3 เจลลีบีน ซึ่งได้ปล่อยการอัปเดตในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผ่านระบบโอเวอร์ดิแอร์ (OTA) [2] [3]
ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 กูเกิลก็ได้ยืนยันรุ่นต่อจากเจลลีบีน โดยจะมีชื่อว่าแอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท แต่ยังไม่ประกาศวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ[4] [5]
แอนดรอยด์ แอลฟา
มีรุ่นอย่างน้อย 2 รุ่น ที่ได้รับการทดสอบโดยกูเกิล และ โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ก่อนที่จะมีการเปิดตัวของแอนดรอยด์ เบตา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีการตั้งชื่อชั่วคราว โดยเลือกหุ่นยนต์มาตั้งชื่อ ได้แก่ "แอสโตรบอย ", "เบนเดอร์ " และ "อาร์ทูดีทู "[6] [7] ส่วนสัญลักษณ์ของระบบ ออกแบบโดยแดน มอร์ริลล์ ในบางส่วน ซึ่งสัญลักษณ์หุ่นยนต์สีเขียวตัวล่าสุด ออกแบบโดยอีรินา บล็อก[8] ไรอัน กิบสัน ผู้จัดการของโครงการ ได้เสนอแนวคิดว่าจะเริ่มใช้ชื่อตั้งแต่แอนดรอยด์ รุ่น 1.5
แอนดรอยด์ เบตา
แอนดรอยด์ เบตา เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[9] [10] ส่วนชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development kit) หรือ SDK เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[11] โดยวันที่ 5 พฤศจิกายน ถูกเรียกว่า วันเกิดของแอนดรอยด์[12] รุ่นของเบตาได้รับการเผยแพร่ดังต่อไปนี้ :
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 : m3-rc22a[13]
14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 : m3-rc37a[14]
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 : m5-rc14[15]
3 มีนาคม พ.ศ. 2551 : m5-rc15[16]
18 สิงหาคม พ.ศ. 2551 : 0.9[17]
23 กันยายน พ.ศ. 2551 : 1.0-r1[18]
ตารางด้านล่างนี้เป็นการแบ่งรุ่นของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามลำดับเอพีไอ
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 1.0 (เอพีไอระดับ 1), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 1.0 (เอพีไอระดับ 1)
แอนดรอยด์ 1.0 เป็นซอฟต์แวร์รุ่นแรก เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551[19] และอุปกรณ์แอนดรอยด์เครื่องแรกคือ เอชทีซี ดรีม [20] แอนดรอยด์ 1.0 มีคุณสมบัติดังนี้ :
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
1.0
23 กันยายน พ.ศ. 2551
แอนดรอยด์ มาร์เก็ต โปรแกรมสามารถดาวน์โหลดและอัปเดตได้จากแอปมาร์เก็ต
เว็บเบราว์เซอร์ สามารถแสดงเอชทีเอ็มแอล และ เอกซ์เอชทีเอ็มแอล บนหน้าเว็บ และสามารถแสดงได้หลายหน้า[21] [22]
กล้องถ่ายรูป – อย่างไรก็ตาม รุ่นนี้ไม่มีตัวเลือกการเปลี่ยนความละเอียดภาพ, สมดุลสีขาว และอื่น ๆ [23]
โฟลเดอร์ หรือ แฟ้ม ช่วยจัดกลุ่มของโปรแกรมบนหน้าจอหลัก[24]
เข้าถึงหน้าเว็บอีเมล, รองรับPOP3 , IMAP4 และ SMTP [22]
จีเมล โอนถ่ายข้อมูลกับแอปจีเมล
กูเกิล คอนแทคส์ โอนถ่ายข้อมูลกับแอปรายชื่อ
กูเกิล แคเลนเดอร์ โอนถ่ายข้อมูลกับแอปปฏิทิน
กูเกิล แมปส์ กับ ละติจูด และ สตรีตวิว สำหรับดูแผนที่และภาพถ่ายทางดาวเทียม และสามารถค้นหาสถานที่ รวมไปถึงการนำทางผ่านจีพีเอส [23]
กูเกิล ซิงค์ สำหรับการจัดการจีเมล, รายชื่อ และปฏิทิน ผ่านออนไลน์
กูเกิล เสิร์ช สำหรับค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต, แอปในเครื่อง, รายชื่อ, ปฏิทิน และอื่น ๆ
กูเกิล ทอล์ก สำหรับใช้ส่งข้อความ
เมสเซนเจอร์ , เอสเอ็มเอส , และเอ็มเอ็มเอส
เคลื่อนเล่นสื่อ สำหรับการจัดการ และเล่นไฟล์สื่อต่าง ๆ แต่รุ่นนี้ไม่รองรับการเล่นวิดีโอ และสเตริโอผ่านบลูทูธ [22] [23]
การแจ้งเตือนจะแสดงบนแถบสถานะ, การตั้งเสียงเรียกเข้า, การแจ้งเตือนด้วยไฟแอลอีดี และการสั่นเตือน[21] [22] [25]
การโทรออกด้วยเสียง ช่วยให้สามารถโทรออกได้ด้วยการไม่ต้องกดหมายเลขปลายทาง[22]
ภาพพื้นหลัง สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งจะอยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ไอคอนบนหน้าหลัก
ยูทูบ [26]
แอปอื่น ๆ : นาฬิกาปลุก, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์, หน้าจอหลัก, แกลลอรี และการตั้งค่า
รองรับวายฟาย และ บลูทูธ
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 1.1 (เอพีไอระดับ 2), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 1.1 (เอพีไอระดับ 2)
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 แอนดรอยด์ 1.1 ได้รับการปล่อยอัปเดต สำหรับเอชทีซี ดรีม เท่านั้นในช่วงแรก รู้จักกันในชื่อ เพทิตโฟร์ (Petit Four) แต่ภายหลังชื่อนี้ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการ[27] The update resolved bugs, changed the Android API and added a number of features:[28]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
1.1
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
รายละเอียดและความคิดเห็นต่าง ๆ สามารถดูได้เมื่อผู้ใช้ค้นหาสถานที่บนแผนที่
จอจะดับช้ากว่าเดิมเมื่อใช้งานลำโพง และสามารถเปิด-ปิดแป้นหมายเลขโทรศัพท์ได้
สามารถบันทึกสิ่งที่แนบในข้อความ
สนับสนุนการใช้ตัวเลื่อนในระบบ
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 1.5 คัพเค้ก (เอพีไอระดับ 3), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 1.5 คัพเค้ก (เอพีไอระดับ 3)
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 แอนดรอยด์ 1.5 ได้รับการปล่อยอัปเดต โดยมีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.27[29] [30] ซึ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีโคดเนมอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อขนมหวานคือ คัพเค้ก โดยจะใช้ชื่อขนมหวานทุกรุ่นนับจากนี้ต่อไป แอนดรอยด์ 1.5 มีการปรับปรุงรูปลักษณ์และหน้าตา รวมไปถึงคุณสมบัติใหม่ ดังนี้ :[31]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
1.5
30 เมษายน พ.ศ. 2552
รองรับการใช้งานคีย์บอร์ดภายนอก รวมไปถึงการรองรับระบบเดาคำ
รองรับวิดเจ็ต – แอปพลิเคชันขนาดเล็กที่สามารถดูได้บนแอปพลิเคชันอื่น ๆ (เช่นหน้าจอหลัก) และรับการอัปเดตเป็นระยะ ๆ [32]
บันทึกวิดีโอ และเล่นในรูปแบบ MPEG-4 และ 3GP
การจับคู่อัตโนมัติกับหูฟังบลูทูธ (รูปแบบ A2DP และ AVRCP)
รองรับการคัดลอกและวางบนเบราว์เซอร์
แสดงภาพผู้ใช้บนรายชื่อ
บันทึกวันที่และเวลา สำหรับการโทร และสามารถเข้าถึงรายชื่อได้จากประวัติการโทร
การเคลื่อนไหวระหว่างการเปลี่ยนหน้าจอ
คุณสมบัติหมุหน้าจออัตโนมัติ
หน้าจอเริ่มต้นเมื่อเปิดเครื่องใหม่
การอัปโหลดวิดีโอผ่านยูทูบ
การอัปโหลดรูปภาพผ่านปีคาซา
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 1.6 โดนัท (เอพีไอระดับ 4), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 1.6 โดนัท (เอพีไอระดับ 4)
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 แอนดรอยด์ 1.6 โดนัท ได้เผยแพร่ โดยมีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.29[33] [34] [35] ซึ่งมีการปรับปรุงคุณสมบัติใหม่จำนวนมาก :[33]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
1.6
15 กันยายน พ.ศ. 2552
สามารถค้นหารายการด้วยเสียงและตัวอักษร กับประวัติบุ๊กมาร์ก, รายชื่อ และเว็บได้
นักพัฒนาสามารถเจ้าถึงข้อมูลในการค้นหาได้
รับฟังเสียงได้หลายภาษา สำหรับการรองรับแอปพลิเคชัน "สปีก" (speak)
ค้หาและดูภาพจับหน้าจอของแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ มาร์เก็ต
แกลลอรี, กล้อง และกล้องวิดีโอ มีการปรับปรุงคุณสมบัติเพิ่มมากขึ้น และสามารถเข้าแอปกล้องได้เร็วขึ้น
เลือกรูปที่จะลบได้หลายรูป
อัปเดตการรองรับ CDMA/EVDO, 802.1x, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน และคุณสมบัติ เทกต์ทูสปีช (text-to-speech)
รองรับหน้าจอความละเอียด ไวด์วีจีเอ (WVGA)
ปรับปรุงความเร็วในการใช้งานของแอปค้นหา และกล้องถ่ายรูป
ชุดพัฒนาเกสเจอร์บิลเดอร์ (GestureBuilder) ใหม่
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.0 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 5), วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 แอนดรอยด์ 2.0 เอแคลร์ ได้รับการเผยแพร่ มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.29 มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ : ...
แอนดรอยด์ 2.0 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 5)
วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 แอนดรอยด์ 2.0 เอแคลร์ ได้รับการเผยแพร่ มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.29[36] มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ :[37]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.0
26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ขยายการโอนถ่ายข้อมูล ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มบัญชีได้หลายบัญชีสำหรับการโอนถ่ายข้อมูลอีเมล และ รายชื่อ
รองรับอีเมลไมโครซอฟท์ เอ็กเชนจ์ และสามารถรวมกับกล่องจดหมายเพื่อดูอีเมลจากหลายบัญชีได้ใน 1 หน้า
รองรับบลูทูธ 2.1
สามารถเลือกที่จะโทร, ส่งข้อความ หรืออีเมล ในการแตะบนภาพรายชื่อ
สามารถค้นหาข้อความที่บันทึกไว้ และสามารถตั้งค่าให้ลบข้อความตามกำหนดจำนวน
เพิ่มคุณสมบัติของกล้อง รวมไปด้วยการรองรับแฟลช, ดิจิทัลซูม, สมดุลสีขาว, โหมดฉาก, เอฟเฟกต์สี และการโฟกัสภาพระยะใกล้ (มาโครโฟกัส)
ปรับปรุงความเร็วในการใช้แป้นพิมพ์ และระบบเดาคำอัจฉริยะ
เปลี่ยนหน้าตาของเบราว์เซอร์ใหม่ พร้อมกับรูปขนาดย่อของบุ๊กมาร์ก, สามารถขยายด้วยการแตะ 2 ครั้ง และรองรับHTML5
ปฏิทินสามารถแสดงสถานะของงาน และสามารถเชิญแขกมาร่วมงานได้
การปรับปรุงความเร็วฮาร์ดแวร์
รองรับขนาดของหน้าจอและความละเอียดมากขึ้น
ปรับปรุง กูเกิล แมปส์ 3.1.2
โมชันอีเวนต์ (MotionEvent) การปรับปรุงการใช้งานมัลติทัช (multi-touch) [38]
สามารถใช้ภาพพื้นหลังเป็นภาพเคลื่อนไหวได้
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.0.1 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 6), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 2.0.1 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 6)
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.0.1
3 ธันวาคม พ.ศ. 2552[39]
ปรับปรุงเอพีไอ, แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และเปลี่ยนแปลงเฟรมเวิร์ก
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.1 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 7), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 2.1 เอแคลร์ (เอพีไอระดับ 7)
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.1
12 มกราคม พ.ศ. 2553[40]
แก้ไขเอพีไอ และข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.2–2.2.3 โฟรโย (เอพีไอระดับ 8), วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการเผยแพร่แอนดรอยด์ 2.2 โฟรโย (หรือชื่อเต็ม "โฟรซเซนโยเกิร์ต") มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.32 ...
แอนดรอยด์ 2.2–2.2.3 โฟรโย (เอพีไอระดับ 8)
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้มีการเผยแพร่แอนดรอยด์ 2.2 โฟรโย (หรือชื่อเต็ม "โฟรซเซนโยเกิร์ต ") มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.32[41]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.2
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
เพิ่มความเร็ว, หน่วยความจำ และประสิทธิภาพการทำงาน[42]
ปรับปรุงความเร็วการใช้งานผ่านคอมไพล์จัสต์อินไทม์ (Just-in-time compilation) [43]
เพิ่มจาวาสคริปต์ วี8 ของกูเกิล โครม ลงในเบราว์เซอร์
รองรับคลาวด์ทูดีไวซ์แมสเสจจิง (Cloud to Device Messaging), เพิ่มการแจ้งเตือนแบบพุช (push notifications)
ปรับปรุงการใช้งานไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ ซึ่งรวมไปถึงระบบความปลอดภัย, ระบบภายใน, การถ่ายโอนข้อมูลของปฏิทิน
รองรับหน้าหลักที่มีทางลัดของโทรศัพท์และเบราว์เซอร์
การเชื่อมโยงยูเอสบี และคุณสมบัติวายฟาย ฮ็อตสปอต[44]
ตัวเลือกในการปิดการใช้ข้อมูลผ่านเครือข่าย
อัปเดตมาร์เก็ตใหม่ พร้อมกับการอัปเดตอัตโนมัติของแอปพลิเคชันมาร์เก็ต[42]
สามารถสลับแป้นพิมพ์กับพจนานุกรมได้เร็วขึ้น
การโทรออกด้วยเสียงและการแบ่งปันรายชื่อผ่านบลูทูธ
รองรับการใช้บลูทูธบนรถและการใช้บลูทูธผ่านแท่นวางตั้งโต๊ะ
รองรับรหัสผ่านแบบตัวเลขและตัวอักษร
รองรับการอัปโหลดไฟล์บนเบราว์เซอร์[45]
เบราว์เซอร์สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ .GIF ได้ แทนที่การแสดงเพียงแค่รูปแรกของภาพเคลื่อนไหวในรุ่นก่อน
รองรับการติดตั้งแอปพลิเคชันบนหน่วยความจำเพิ่มเติม
รองรับอะโดบี แฟลช [46]
รองรับหน้าจอที่มีความละเอียดสูงถึง 320 พิกเซลต่อนิ้ว เช่นหนาจอ 4 นิ้ว ความละเอียดเอชดี 720p [47]
ผู้ใช้สามารถดูภาพแยกเป็นกองได้ด้วยการใช้นิ้วขยาย
2.2.1
18 มกราคม พ.ศ. 2554
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย, อัปเดตด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพเพิ่มเติม
2.2.2
22 มกราคม พ.ศ. 2554
2.2.3
21 พศจิกายน พ.ศ. 2554[49]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.3–2.3.2 จิงเจอร์เบรด (เอพีไอระดับ 9), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 2.3–2.3.2 จิงเจอร์เบรด (เอพีไอระดับ 9)
วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553 แอนดรอยด์ 2.3 จิงเจอร์เบรด (ขนมปังขิง) ได้เผยแพร่ มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.35[50] [51] มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ :[50]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.3
6 ธันวาคม พ.ศ. 2553[51]
ปรับเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาด้วยความเรียบง่ายและเพิ่มความเร็วในการใช้งานยิ่งขึ้น
รองรับจอขนาดใหญ่และความละเอียด WXGA (800p) [47]
สนับสนุนการใช้งานSession Initiation Protocol และวีโอไอพี
เพิ่มความเร็วในการป้อนข้อความบนแป้นพิมพ์ และการเดาคำที่ดีขึ้น รวมไปถึงคุณสมบัติการพิมพ์ด้วยเสียง
ปรับปรุงการคัดลอกและวาง ให้ผู้ใช้สามารถคัดลอกข้อความได้ด้วยการกดค้างที่หน้าจอ
รองรับเนียร์ฟีลด์คอมมูนิเคชัน (NFC)
รองรับเสียงที่หลากหลาย เช่นการปรับแต่งเสียง, การปรับแต่งเสียงเบส เป็นต้น
ตัวจัดการดาวน์โหลด แบบใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ดาวน์โหลดได้จากเบราว์เซอร์, อีเมล และแอปพลิเคชันอื่น ๆ
รองรับกล้องหน้า
รองรับการเล่นวิดีโอ WebM /VP8 และการเข้ารหัสเสียง AAC
ปรับปรุงการจัดการพลังงาน เพื่อไม่ให้แอปใช้การเปิดหน้าจอนานเกินไป
รองรับการพัฒนาเนทีฟโคด (native code)
เปลี่ยนจาก YAFFS เป็น est4 บนอุปกรณ์ใหม่ ๆ [52] [53]
Audio, graphical, and input enhancements for game developers
การจัดการขยะต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
รองรับเซนเซอร์ใหม่ เช่นไจโรสโคป และ บารอมิเตอร์
แอนดรอยด์ 2.3 บนตัวจำลองการทำงานแอนดรอยด์
2.3.1
ตุลาคม พ.ศ. 2553
2.3.2
มกราคม พ.ศ. 2554
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 2.3.3–2.3.7 จิงเจอร์เบรด (เอพีไอระดับ 10), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 2.3.3–2.3.7 จิงเจอร์เบรด (เอพีไอระดับ 10)
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
2.3.3
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การปรับปรุงและแก้ไขเอพีไอ[54]
2.3.4
28 เมษายน พ.ศ. 2554[55]
รองรับการพูดคุยผ่านเสียงหรือวิดีโอโดยใช้กูเกิล ทอล์ก [56]
รองรับโอเพนแอคเซสซอรีไลบรารี (Open Accessory Library) โดยคุณสมบัตินี้เป็นที่รู้จักบน 3.1 (ฮันนีโคมบ์) แต่บน 2.3.4 สามารถเชื่อมต่อผ่านยูเอสบีด้วยซอฟต์แวร์ที่รองรับกับอุปกรณ์[57]
เปลี่ยนการเข้ารหัสเริ่มต้นสำหรับ SSL จาก AES256-SHA เป็น RC4-MD5.[58]
2.3.5
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[59]
ปรับปรุงการใช้เครือข่ายสำหรับเน็กซัสเอส 4จี และการแก้ไขปรับปรุงอื่น ๆ
แก้ไขข้อผิดพลาดของบลูทูธบนซัมซุง กาแลคซีเอส
ปรับปรุงแอปพลิเคชันจีเมล
ภาพเคลื่อนไหวแบบเงาในการเลื่อนรายการ
การปรับปรุงซอฟต์แวร์กล้องถ่ายรูป
การปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรี
2.3.6
2 กันยายน พ.ศ. 2554
แก้ไขข้อผิดพลาดของการค้นหาด้วยเสียง
(การอัปเดต 2.3.6 มีผลข้างเคียงจากคุณสมบัติวายฟายฮ็อตสปอต บนเครื่องเน็กซัสเอสในประเทศแคนาดา กูเกิลได้ทราบเรื่องนี้และแก้ไขในช่วงปลายเดือนกันยายน) [60] [61]
2.3.7
21 กันยายน พ.ศ. 2554
การรองรับ กูเกิล วอลเลต บนเน็กซัสเอส 4จี
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 3.0 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 11), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 3.0 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 11)
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 แอนดรอยด์ 3.0 ฮันนีโคมบ์ (รังผึ้ง) ได้เผยแพร่และอัปเดตให้เฉพาะกับแท็บเล็ต เท่านั้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6.36[62] [63] [64] [65] ซึ่งอุปกรณ์เครื่องแรกที่ใช้รุ่นนี้คือ แท็บเล็ตโมโตโรลา ซูม โดยวางขายเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[66] The update's features included:[62]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
3.0
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สนับสนุนการใช้งานบนแท็บเล็ต และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบ "โฮโลกราฟิก" (holographic)
เพิ่มแถบสถานะระบบ เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงการแจ้งเตือนได้อย่างรวดเร็ว และปุ่มนำทางจากด้านล่างของหน้าจอ
เพิ่มแถบการกระทำ เพื่อที่จะเข้าถึงตัวเลือก, การนำทาง, วิดเจ็ต และอื่น ๆ ได้จากหน้าจอ
มัลติทาส์กกิงเบื้องต้น ซึ่งเป็นการเปิดหลายแอปพลิเคชัน และสามารถข้ามไปอีกแอปพลิเคชันได้
การออกแบบแป้นพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งเข้ากันได้กับหน้าจอที่มีขนาดใหญ่
เพิ่มประสิทธิภาพการคัดลอกและวางได้ง่ายขึ้น
ใช้แท็บบนเบราว์เซอร์ แทนหน้าต่างของเบราว์เซอร์ และคุณสมบัติการใช้เว็บโดยไม่ระบุตัวตน
การเข้าถึงกล้อง, การโฟกัส, แฟลช, การขยาย, กล้องหน้า, การนับเวลาถ่ายภาพ และคุณสมบัติอื่น ๆ ของกล้อง
สามารถดูอัลบัมและอื่น ๆ ในโหมดเต็มหน้าจอ ในแกลลอรี และสามารถเข้าได้จากรูปขนาดย่อของรูปอื่น ๆ
หน้าต่างรายชื่อ 2 หน้า และสามารถเลื่อนดูรายชื่อได้ง่ายจากการจัดระเบียบรายชื่อผู้ติดต่อ
หน้าต่างอีเมล 2 หน้า เพื่อที่จะสามารถดูและจัดการขอความได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รองรับการสนทนาผ่านวิดีโอด้วย กูเกิล ทอล์ก
การเร่งความเร็วฮาร์ดแวร์
รองรับการทำงานด้วยซีพียูหลายแกน
ความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลของผู้ใช้ทั้งหมด
HTTPS กับ Server Name Indication
คุณสมบัติ Filesystem in Userspace
แอนดรอยด์ 3.0 บนแท็บเล็ตโมโตโรลา ซูม
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 3.1 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 12), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 3.1 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 12)
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
3.1
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[67]
การปรับปรุงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้
การเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์เสริมยูเอสบี
ขยายราการแอปพลิเคชันล่าสุด
สามารถปรับขนาดวิดเจ็ตบนหน้าหลักได้
รองรับคีย์บอร์ดภายนอกและอุปกรณ์ต่าง ๆ
รองรับจอยสติกและเกมแพดส์
รองรับการเล่นเสียง FLAC[68] [69]
ประสิทธิภาพการล็อกวายฟายมากขึ้น และประสิทธิภาพการใช้งานวายฟายในขณะที่หน้าจอดับอยู่
รองรับพร็อกซีเอชทีทีพี สำหรับการเชื่อมต่อวายฟาย
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 3.2 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 13), กูเกิล ทีวี รุ่นที่ 1 และ 2 ใช้ฮันนีโคมบ์ 3.2 ...
แอนดรอยด์ 3.2 ฮันนีโคมบ์ (เอพีไอระดับ 13)
กูเกิล ทีวี รุ่นที่ 1 และ 2 ใช้ฮันนีโคมบ์ 3.2[70]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
3.2
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[71]
การสนับสนุนการรองรับฮาร์ดแวร์ รวมไปด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของแท็บเล็ต
เพิ่มความสามารถที่แอปพลิเคชันจะเข้าถึงไฟล์บนการ์ดเก็บข้อมูล เช่นการโอนถ่ายข้อมูล
โหมดการแสดงผลที่ปรับให้เข้าได้กับแท็บเล็ต
ฟังก์ชันการสนับสนุนใหม่ เพื่อให้นักพัฒนาสามารถควบคุมหน้าจอบนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ต่างกัน[72]
3.2.1
20 กันยายน พ.ศ. 2554
การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยของความปลอดภัย, ความเสถียร และวายฟาย
การอัปเดตแอนดรอยด์ มาร์เก็ต อัตโนมัติ และสามารถอ่านนโยบายการใช้ได้อย่างง่าย
อัปเดตกูเกิล บุ๊กส์
รองรับอะโดบี แฟลช ในเบราว์เซอร์
รองรับการเดาคำด้วยการเขียนโดยใช้ภาษาจีน
3.2.2
30 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และการปรับปรุงอื่น ๆ ของโมโตโรลา ซูม 4จี
3.2.3
การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และการปรับปรุงอื่น ๆ ของโมโตโรลา ซูม และ โมโตโรลา ซูม 4จี
3.2.4
ธันวาคม พ.ศ. 2554
รองรับคุณสมบัติ "เพย์แอสยูโก" (Pay as You Go) บนแท็บเล็ต 3จี และ 4จี
3.2.5
มกราคม พ.ศ. 2555
การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และการปรับปรุงอื่น ๆ ของโมโตโรลา ซูม และ โมโตโรลา ซูม 4จี
3.2.6
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
แก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อเมื่ออกจากโหมดเครื่องบินของโมโตโรลา ซูม 4จี ในสหรัฐอเมริกา
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.0–4.0.2 ไอศกรีมแซนด์วิช (เอพีไอระดับ 14), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.0–4.0.2 ไอศกรีมแซนด์วิช (เอพีไอระดับ 14)
แอนดรอยด์ 4.0.1 ไอศกรีมแซนด์วิช มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ เคอร์เนล 3.0.1[73] was publicly released on 19 October 2011.[74] กาเบ โคเฮน จากกูเกิล ได้กล่าวว่า แอนดรอยด์ 4.0 สามารถเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์ที่ใช้แอนดรอยด์ 2.3 ทุก ๆ รุ่นตามหลักทฤษฎี[75] รหัสต้นฉบับ สำหรับแอนดรอยด์ 4.0 เริ่มเผยแพร่ให้ใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[76] โดยไอศกรีมแซนด์วิชเป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับอะโดบี แฟลช อย่างเป็นทางการ[77] The update introduced numerous new features:[78] [79] [80]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.0
19 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ปุ่มบนจอจากแอนดรอยด์ 3.x รองรับในทุก ๆ เครื่องที่ใช้รอมเหมือนเพียวแอนดรอยด์
แยกวิดเจ็ตเป็นแท็บใหม่ อยู่ในหน้าเมนูเดียวกับแอปพลิเคชัน
สร้างแฟ้มได้ง่ายกว่า ด้วยวิธีลากและวาง
หน้าหลักที่สามารถปรับแต่งได้
ข้อความเสียงที่ดีขึ้นพร้อมกับความสามารถในการปรับความเร็วของข้อความเสียง
คุณสมบัติขยายในปฏิทิน
การจับภาพหน้าจอแบบใหม่ โดยการกดปุ่มเปิด-ปิดค้างไว้ และปุ่มลดเสียง
เพิ่มความสามารถในการแก้ไขคำผิดบนแป้นพิมพ์
ความสามารถในการเข้ถึงแอปพลิเคชันจากหน้าล็อกหน้าจอ
เพิ่มความสามารถในการคัดลอกและวางได้ดีขึ้น
คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นและต่อเนื่อง
ปลดล็อกหน้าจอด้วยใบหน้า ซึ่งเป็นคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่จะจดจำใบหน้าของผู้ใช้และผู้ใช้สามารถปลดล็อกซอฟต์แวร์ได้ด้วยใบหน้าของตนเองจากกล้องหน้าของอุปกรณ์
แท็บบนเว็บเบราว์เซอร์ภายใต้ชื่อ กูเกิล โครม โดยสามารถรองรับการเปิดหน้าเว็บได้ถึง 16 หน้า
โอนถ่ายข้อมูลอัตโนมัติจากเบราว์เซอร์กับบุ๊กมาร์กของกูเกิล โครม
โรโบโต ฟอนต์ชนิดใหม่
ส่วนของการใช้งานข้อมูลในการตั้งค่า สามารถให้ผู้ใช้ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงขีดจำกัดของการใช้ข้อมูล และสามารถปิดการใช้ข้อมูล เมื่อมีการใช้ข้อมูลถึงขีดจำกัด
ความสามารถในการปิดแอปพลิเคชันที่มีการใช้ข้อมูลและทำงานอยู่เบื้องหลัง
ปรับปรุงแอปพลิเคชันกล้องถ่ายรูป โดยจะมีซีโรชัตเตอร์แล็ก (zero shutter lag) ซึ่งเป็นการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง, การตั้งค่าการถ่ายภาพแบบตั้งเวลา, พาโนรามา และความสามารถในการขยายภาพระหว่างบันทึกวิดีโอ
ตัวแก้ไขรูปซึ่งจะมาพร้อมกับระบบ
แกลลอรีแบบใหม่ สามารถจัดเรียงโดยสถานที่และบุคคล
เปลี่ยนรูปร่างของแอปพลิเคชันรายชื่อ พร้อมกับการเชื่อมต่อกับสังคมออนไลน์, การอัปเดตสถานะ และภาพรายชื่อที่คมชัดกว่า
แอนดรอยด์ บีม ซึ่งเป็นคุณสมบัติการใช้เนียร์ฟีลด์คอมมูนิเคชัน สำหรับการแบ่งปันข้อมูลในระยะใกล้
รองรับ WebP [68]
การเร่งความเร็วฮาร์ดแวร์[81]
วายฟายไดเร็กส์[82]
การบันทึกวิดีโอ ความละเอียด 1080p สำหรับอุปกรณ์เพียวแอนดรอยด์
แอนดรอยด์วีพีเอ็นเฟรมเวิร์ก (Android VPN Framework), และโมดูลเคอร์เนล TUN (ไม่ใช่ TAP) ซึ่งก่อนรุ่น 4.0 นั้น การใช้ซอฟต์แวร์วีพีเอ็น จำเป็นที่จะต้องรูตเครื่อง
แอนดรอยด์ 4.0 บนกาแลคซี เน็กซัส
4.0.1
21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยสำหรับกาแลคซี เน็กซัส
4.0.2
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยบนกาแลคซี เน็กซัส ของเวอไรซอน ในสหรัฐอเมริกา แต่มีการล่าช้าจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554
(สำหรับลูกค้าในประเทศแคนาดา 4.0.2 ได้สร้างปัญหากับกาแลคซี เน็กซัส เมื่อเข้าแอปพลิเคชันมาร์เก็ตเพื่อดูรายละเอียดของแอปพลิเคชัน ตัวแอปจะปิดลง และเรื่องของเอ็นเอฟซีมีความสามารถลดลง[83] [84]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.0.3–4.0.4 ไอศกรีมแซนด์วิช (เอพีไอระดับ 15), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.0.3–4.0.4 ไอศกรีมแซนด์วิช (เอพีไอระดับ 15)
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.0.3
16 ธันวาคม พ.ศ. 2554[85]
แก้ไขข้อผิดพลาดจำนวนมากและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
การปรับปรุงกราฟิก, ฐานข้อมูล, การสะกดคำ และคุณสมบัติของบลูทูธ
ไอพีไอใหม่สำหรับนักพัฒนา รวมไปด้วยการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์บนรายชื่อ
การปรับปรุงปฏิทิน
แอปพลิเคชันกล้องถ่ายรูปใหม่ ซึ่งสามารถป้องกันการสั่นไหวขณะบันทึกวิดีโอ
คุณสมบัติการกลั่นกรองเนื้อหาต่าง ๆ [86]
4.0.4
29 มีนาคม พ.ศ. 2555[87]
เพิ่มความเสถียรภาพ
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้องถ่ายรูปให้ดีขึ้น
การหมุนหน้าจอแบบลื่นไหล
การปรับปรุงเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์[88]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.1 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 16), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.1 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 16)
กูเกิลได้ทำการเปิดตัวแอนดรอยด์ 4.1 เจลลีบีน ในงานกูเกิล ไอโอ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 3.0.31 จุดประสงค์ของการปรับปรุงในเจลลีบีนคือการปรับปรุงการทำงานและรูปร่างหน้าตาของระบบ โดยการปรับปรุงการทำงานมีชื่อว่า "โปรเจกต์บัตเตอร์" (Project Butter) ซึ่งจะสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการแก้ไขเฟรมเรตที่ 60 ภาพต่อวินาที เพื่อสร้างความลื่นไหลของระบบ[89] แอนดรอยด์ 4.1 ได้รับการเผยแพร่กับ แอนดรอยด์โอเพนซอร์ซโปรเจกต์ (AOSP) ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[90] และเน็กซัส 7 คืออุปกรณ์แรกที่ใช้งานเจลลีบีน ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[91]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.1
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ส่วนต่อกราฟิกกับผู้ใช้ที่ลื่นไหลขึ้น ประกอบด้วย :
วีซิงค์ เป็นการกำหนดภาพเคลื่อนไหวโดยแอนดรอยด์ เฟรมเวิร์ก รวมไปด้วยการใช้งานแอปพลิเคชัน, การสัมผัส, องค์ประกอบของหน้าจอต่าง ๆ และการรีเฟรชหน้าจอ
ทริเปิลบัฟเฟอริง (Triple buffering) ในกราฟิก
การปรับปรุงเกี่ยวกับคุณสมบัติการเข้าถึง
การสนับสนุนข้อความหลายภาษา
การขยายการแจ้งเตือน
ความสามารถในการปิดการแจ้งเตือนของแอปพลิเคชันแบบเฉพาะเจาะจง
ทางลัดและวิดเจ็ตสามารถในการจัดวางและปรับขนาดเพื่อให้รายการใหม่พอดีกับหน้าจอหลัก
การแบ่งปันข้อมูลผ่านบลูทูธสำหรับแอนดรอยด์ บีม
คำสั่งเสียงออฟไลน์
แท็บเล็ตที่มีหน้าจอเล็กสามารถใช้รุ่นของหน้าจอสำหรับมือถือได้[92]
การปรับปรุงการค้นหาด้วยเสียง
การปรับปรุงแอปพลิเคชันกล้องถ่ายรูป
กูเกิล วอลเล็ต (สำหรับเน็กซัส 7 )
รูปภาพรายชื่อของกูเกิล+ ที่มีความคมชัดมากขึ้น[93]
กูเกิล นาว ซอฟต์แวร์ผู้ช่วยปัญญาและซอฟต์แวร์ช่วยในการค้นหา
สัญญาณเสียงหลายช่อง[89]
การเชื่อมต่อเสียงจากยูเอสบี (สำหรับ DACs) [89]
การผูกมัดเสียง หรือแก็ปเลสส์เพลย์แบ็ก[89] [94] [95]
เบราว์เซอร์ในตัวเครื่องถูกแทนที่ด้วยกูเกิล โครม ในอุปกรณ์เจลลีบีน[96]
Ability for other launchers to add widgets from the app drawer without requiring root access
4.1.1
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยบนเน็กซัส 7 เกี่ยวกับการไม่สามารถหมุนหน้าจอในแอปพลิเคชัน
4.1.2
9 ตุลาคม พ.ศ. 2555[97]
หน้าจอล็อกและหน้าจอหลักแบบหมุนได้ สำหรับเน็กซัส 7[98]
สามารถย่อและขยายการแจ้งเตือนได้ด้วยเพียงนิ้วเดียว[99]
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.2 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 17), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.2 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 17)
กูเกิลซึ่งมีกำหนดการที่จะทำการจัดงานเปิดตัวแอนดรอยด์ 4.2 เจลลีบีน ในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 แต่งานได้ถูกยกเลิกเนื่องจากมีพายุเฮอร์ริเคนแซนดี [100] กูเกิลได้แทนที่การจัดงานด้วยการเปิดตัวในงานแถลงข่าว ภายใต้สโลแกน "รสชาติใหม่ของเจลลีบีน" (A new flavor of Jelly Bean) โดยแอนดรอยด์ 4.2 เจลลีบีน มีพื้นฐานบนลินุกซ์ เคอร์เนล 3.4.0 และออกมาพร้อมกับเน็กซัส 4 และ เน็กซัส 10 ซึ่งทั้งคู่เปิดตัวในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[101] [102]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.2
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[103]
"โฟโตสเฟียร์" (Photo Sphere) การถ่ายรูปแบบพาโนรามา 360 องศา[104]
คีย์บอร์ดที่มาพร้อมกับการเดาท่าทางการพิมพ์ (คุณสมบัตินี้สามารถใช้ได้กับแอนดรอยด์ 4.0 ในเวลาต่อมา โดยแอปพลิเคชันกูเกิล คีย์บอร์ด)
การปรับปรุงหน้าจอล็อก รวมไปด้วยการรองรับวิดเจ็ตและความสามารถในการเลื่อนเพื่อเปิดกล้องอย่างรวดเร็ว[105]
การควบคุมการแจ้งเตือนพลังงาน
"เดย์ดรีม" (Daydream) ภาพพักหน้าจอที่จะแสดงเมื่อไม่ได้เชื่อมต่อการชาร์จ
บัญชีผู้ใช้หลายบัญชี (เฉพาะแท็บเล็ต)
รองรับไวร์เลสดิสเพลย์ (มิราแคสต์)
การปรับปรุงการเข้าถึง รวมไปด้วยการแตะ 3 ครั้ง เพื่อขยายหน้าจอ, การกวาดมือเพื่อขยาย ด้วยการใช้ 2 นิ้ว, การโต้ตอบด้วยเสียงและคุณสมบัติสำหรับบุคคลที่พิการทางสายตา
แอปพลิเคชันนาฬิกาใหม่ มาพร้อมกับนาฬิกาทั่วโลก, นาฬิกาจับเวลา และนาฬิกานับถอยหลัง
อุปกรณ์ทั้งหมดจะใช้ส่วนต่อกราฟิกเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงขนาดของหน้าจอ ซึ่งก่อนหน้านี้แท็บเล็ตที่มีขนาดเล็ก จะสามารถใช้รูปแบบเหมือนกับสมาร์ตโฟนได้ ในแอนดรอยด์ 4.1
เพิ่มการขยายการแจ้งเตือน และ การแจ้งเตือนสำหรับแอปพลิเคชันเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบสนองได้จากการแจ้งเตือน โดยไม่ต้องเข้าแอปพลิเคชันโดยตรง
เอสอีลินุกซ์
เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เปิดตลอดเวลา
การยืนยันการส่งบริการข้อความสั้น [106]
การส่งข้อความแบบกลุ่ม
แอนดรอยด์ 4.2 บนเน็กซัส 4
4.2.1
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[107]
แก้ไขข้อผิดพลาดในแอปพลิเคชันรายชื่อ เมื่อเดือนธันวาคมไม่แสดงในการเลือกวัน เมื่อต้องการเพิ่มนัดหมายในรายชื่อ[108]
เพิ่มการเชื่อมต่อเกมแพดส์ และ จอยสติกส์ด้วยบลูทูธ
4.2.2
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[109]
แก้ไขข้อผิดพลาดของการเชื่อมต่อบลูทูธด้วยเสียง[110]
เปลี่ยนการกดค้างที่สัญลักษณ์วายฟายและบลูทูธในการแถบการตั้งค่าด่วน เหลือแค่การเปิด-ปิด
การแจ้งเตือนการดาวน์โหลดแบบใหม่ ซึ่งจะแสดงเปอร์เซนต์ และ เวลาที่เหลือในการดาวน์โหลด
เสียงแจ้งเตือนสำหรับการชาร์จด้วยไวร์เลส และ การแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรีต่ำแบบใหม่
แอปพลิเคชันแกลลอรีแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถโหลดได้เร็วกว่าเดิม
บัญชีขาวของการดีบักยูเอสบี
การแก้ไขข้อผิดพลาดอื่น ๆ และ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.3 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 18), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.3 เจลลีบีน (เอพีไอระดับ 18)
กูเกิลได้ทำการเปิดตัวแอนดรอยด์ 4.3 เจลลีบีน อย่างเป็นทางการ ภายใต้สโลแกน "เจลลีบีนที่หวานกว่า" (An even sweeter Jelly Bean) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ระหว่างงานในซานฟรานซิสโก ที่มีชื่อว่า"มื้อเช้ากับซันดาร์ พิชัย (Breakfast with Sundar Pichai) ซึ่งอุปกรณ์เน็กซัสส่วนหใญ่จะได้รับการอัปเดตภายใน 1 สัปดาห์ แม้ว่าเน็กซัส 7 รุ่นที่ 2 จะเป็นอุปกรณ์แรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการนี้และวางขายพร้อมกับแอนดรอยด์ 4.3[3] การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยได้ปล่อยอัปเดตเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556[111]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.3
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[112]
รองรับบลูทูธแบบประหยัดพลังงาน[113]
รองรับ AVRCP 1.3
รองรับโอเพนจีแอลอีเอส 3.0 สำหรับการปรับปรุงกราฟิกของเกม[113]
คุณสมบัติการจำกัดการเข้าถึงสำหรับผู้ใช้ใหม่[113]
ระบบการเขียนไฟล์โดยการทำงานของ TRIM เมื่ออุปกรณ์ไม่ได้ใช้งาน[114]
ปุ่มกดหมายเลขแบบใหม่ในแอปโทรศัพท์[113]
ปรับปรุงโฟโตสเฟียร์[115]
เปลี่ยนหน้าตาของแอปกล้องใหม่[116]
เพิ่มเนื้อหาการควบคุมสิทธิการใช้งานของแอปพลิเคชัน[117]
รองรับอัตราส่วน 4K[118]
การปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก, การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ [119]
รองรับจีโอเฟนช์ (geo-fence) และ การค้นหาด้วยวายฟาย
สถานที่ของวายฟายเบื้องหลังจะยังทำงานเมื่อวายฟายถูกปิดไปแล้ว
การเข้าสู่ระบบของนักพัฒนา และ การวิเคราะห์การปรับปรุง
รองรับอีก 5 ภาษา
ปรับปรุง การจัดการสิทธิดิจิทัล
รองรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้าย[113]
นาฬิกาที่แถบสถานะจะไมแสดงเมื่อมีนาฬิกาแล้วในหน้าจอล็อก
4.3.1
3 ตุลาคม พ.ศ. 2556[120]
การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย และการปรับแต่งเล็กน้อยสำหรับเน็กซัส 7 รุ่นที่รองรับแอลทีอี[121]
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม แอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท (เอพีไอระดับ 19), รุ่น ...
แอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท (เอพีไอระดับ 19)
กูเกิลได้เปิดตัวแอนดรอยด์ 4.4 คิทแคท ที่รู้จักกันในโปรเจกต์เรียบง่าย (Project Svelte) [122] ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556[4] มีการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างมากมายว่ารุ่นต่อไปคือ 5.0 และมีชื่อว่า "คีย์ไลม์พาย"[123] คิทแคทได้เปิดตัวพร้อม ๆ กับเน็กซัส 5 และสามารถทำงานได้บนอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีแรมอย่างน้อย 512 เมกาไบต์[122]
รุ่น
วันเปิดตัว
คุณสมบัติ
รูป
4.4
31 ตุลาคม พ.ศ. 2556[124] [125]
ปรับปรุงอินเตอร์เฟซใหม่พร้อมกับแถบสถานะที่มีไอคอนและตัวอักษรสีขาว, ความสามารถสำหรับแอปพลิเคชันที่จะใช้งานและสถานะในแบบโปร่งใส[126]
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติฮาร์ดแวร์ต่ำ, แรมน้อย[122]
ความสามารถในการสั่งพิมพ์แบบไร้สาย[122]
การใช้เนียร์ฟีลด์คอมมูนิเคชัน เป็นเสมือนบัตรสมาร์ตการ์ด[122]
พื้นฐานเว็บวิวส์บนโครเมียม (คุณสมบัติเทียบเท่ากูเกิล โครม 30)
คุณสมบัติในการขยายการแจ้งเตือน[122]
เอพีไอสำหรับการพัฒนาและการจัดการบริการส่งข้อความสั้น, ความสามารถในการเลือกแอปพลิเคชันข้อความ[127]
เฟรมเวิร์กใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงอินเตอร์เฟซ
การเข้าถึงการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกเนื้อหาจากแหล่งอื่น ๆ
เอพีไอใหม่สำหรับเซนเซอร์[122]
โหมดเต็มหน้าจอใหม่, ซอฟต์แวร์ปุ่มและแถบสถานะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปัดจากขอ[128]
ซอฟต์แวร์เพิ่มเสียงลำโพง
การบันทึกหน้าจอเป็นวิดีโอ
ไอพีไออินฟราเรดลาสเตอร์
เพิ่มความสามารถในการตั้งค่าอื่น ๆ
รันไทม์ใหม่, เออาร์ที[129]
รองรับการจัดการการเข้าถึงรูปแบบข้อความบลูทูธ[130]
ปิด