บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติแต่เดิมเป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ห้ามล่าเป็นสัตว์จำพวกนก มีมากกว่า 50 ชนิด[1]ปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี โดยมีการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ มีตู้ปลาน้ำจืด ตู้ปลาน้ำเค็ม ตู้ปลาช่อนอเมซ่อน บ่อจระเข้ และอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพ[2][3]
| บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วย ปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่ หน้าอภิปราย
|
- ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบ
- นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. 2539
- เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯ
- ต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ
- ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้
- ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร
- สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ
- ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรก
- วางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้
- อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จ
- วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ