โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (อังกฤษ: Hepatitis A ชื่อเดิมคือ การติดเชื้อตับอักเสบ) เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของตับ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ (เอชเอวี)[6] ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้มีอายุน้อย[1] ในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรค ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อและการเกิดอาการคือสองถึงหกสัปดาห์[2] เมื่อโรคแสดงอาการ มักเกิดขึ้นนานราวแปดสัปดาห์และอาการต่าง ๆ อาจได้แก่: การคลื่นไส้ การอาเจียน ท้องเสีย ผิวเหลือง เป็นไข้ และปวดท้อง[1] ผู้ป่วยประมาณ 10–15% กลับมามีอาการอีกภายในหกเดือนหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก[1] ภาวะตับวายเฉียบพลันพบได้น้อยมาก แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ[1]

ข้อมูลเบื้องต้น Hepatitis A, ชื่ออื่น ...
Hepatitis A
ชื่ออื่นInfectious hepatitis
Thumb
ผู้ป่วยมีภาวะดีซ่านเหตุจากโรคไวรัสตับอักเสบ เอ
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ, วิทยาทางเดินอาหาร
อาการคลื่นเหียน, อาเจียน, ท้องเสีย, ปัสสาวะสีเข้ม, ดีซ่าน, ไข้, ปวดท้อง[1]
ภาวะแทรกซ้อนตับวายเฉียบพลัน[1]
การตั้งต้น2–6 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ[2]
ระยะดำเนินโรค8 สัปดาห์[1]
สาเหตุรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อ Hepatovirus A[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด[1]
การป้องกันวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ, การล้างมือ, ประกอบอาหารอย่างถูกวิธี[1][3]
การรักษาการรักษาตามอาการ, การปลูกถ่ายตับ[1]
ความชุก114 ล้านคน ทั้งมีและไม่มีอาการ (ค.ศ. 2015)[4]
การเสียชีวิต11,200 คน (ค.ศ. 2015)[5]
ปิด

โรคนี้ติดต่อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อโรคอยู่[1] การกินสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกที่ปรุงไม่สุกก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ติดโรคได้บ่อย[7] นอกจากนี้แล้วยังสามารถติดผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อได้อีกด้วย[1] ผู้ป่วยที่เป็นเด็กส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อต่อให้ผู้อื่นได้[1] ผู้ที่ติดเชื้อเมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต[8] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการและผลตรวจเลือด[1] โรคนี้เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดหนึ่งจากทั้งหมดหลายชนิด ได้แก่ ตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี

มีวัคซีนตับอักเสบเอซึ่งใช้ป้องกันโรคนี้ได้[1][3] บางประเทศกำหนดให้เด็กและผู้ที่มีความสี่ยงต้องได้รับวัคซีน[1][9] ข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าวัคซีนนี้เมื่อฉีดครบแล้วจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต[1] วิธีป้องกันวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การล้างมือ การทานอาหารที่ปรุงสุก[1] การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการ โดยการให้พักผ่อน ใช้ยาแก้อาเจียน รักษาอาการถ่ายเหลว และอาการอื่น ๆ โดยไม่มีการรักษาจำเพาะ[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนระยะยาว[1] กรณีที่มีภาวะตับวายเฉียบพลันรุนแรงการรักษาทำได้โดยการปลูกถ่ายตับ[1]

ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคตับอักเสบเอ แบบแสดงอาการประมาณปีละ 1.4 ล้านคน[1] หากนับรวมผู้ที่ไม่แสดงอาการด้วยอาจมากถึง 114 ล้านคน[4] มักพบในบริเวณที่มีสุขอนามัยไม่ดีและมีน้ำสะอาดไม่เพียงพอ[9] ในประเทศที่กำลังพัฒนาจะพบว่าเด็กอายุ 10 ปีประมาณ 90% จะเคยติดเชื้อนี้มาแล้ว และเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ก็มักมีภูมิคุ้มกัน[9] โรคนี้มักทำให้เกิดการระบาดขึ้นในประเทศกึ่งพัฒนาที่เด็กไม่เคยติดเชื้อนี้ตอนเด็กและการให้วัคซีนยังไม่แพร่หลาย[9] ข้อมูล ค.ศ. 2015 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบเอ 11,200 คน[5] วันตับอักเสบโลกคือวันที่ 28 กรกฎาคม มีเป้าหมายคือการสร้างการตระหนักรู้ต่อโรคตับอักเสบจากไวรัสแก่คนทั่วไป[9]

สาเหตุ

โรคนี้แพร่โดยการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีอุจจาระที่ติดเชื้อปะปนอยู่[1] อาหารทะเลที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะคือสาเหตุหลักของการติดเชื้อ[10] นอกจากนี้โรคยังอาจแพร่โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ[1] เมื่อติดเชื้อเด็กมักไม่ค่อยแสดงอาการของโรคแต่ก็สามารถแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้[1] หลังจากการติดเชื้อหนึ่งครั้ง ผู้ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต[11] การวินิจฉัยโรคต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเนื่องจากอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่นอีกจำนวนมาก[1] โรคนี้เป็นหนึ่งในห้าของโรคไวรัสตับอักเสบที่เป็นที่ทราบ: เอ, บี, ซี, ดี และอี

การป้องกันและการรักษา

วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ[1][3] ในบางประเทศได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กและผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงที่ไม่เคยได้รับวัคซีน[1][9] วัคซีนนี้ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพไปตลอดชีวิต[1] มาตรการป้องกันอื่น ๆ ได้แก่ การล้างมือ และการปรุงอาหารอย่างถูกต้อง [1] โรคนี้ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ข้อแนะนำคือการพักผ่อนและการใช้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ หรือท้องเสีย เมื่อมีความจำเป็น[1] การติดเชื้อมักรักษาให้หายขาดได้และโดยไม่มีโรคตับอื่นใดต่อไปอีก[1] การรักษาภาวะตับวายเฉียบพลัน (ถ้ามี) คือด้วยการปลูกถ่ายตับ[1]

ข้อมูลทางระบาดวิทยา

แต่ละปีมีประชากรทั่วโลกประมาณ 1.5 ล้านคนที่แสดงอาการของโรค [1] โดยมีแนวโน้มว่าประชากรทั้งหมดที่ติดเชื้อจะมีจำนวนหลายสิบล้านคน[12] ภูมิภาคของโลกที่มีสุขาภิบาลต่ำและไม่มีน้ำสะอาดมักพบโรคนี้ได้มากกว่า[9] ในประเทศด้อยพัฒนา เด็กราว 90% จะติดเชื้อภายในอายุ 10 ขวบและมีภูมิคุ้มกันในวัยผู้ใหญ่[9] ซึ่งโดยมากในประเทศที่กำลังพัฒนามักเกิดขึ้นในรูปแบบการแพร่ระบาด เนื่องจากการไม่ได้รับเชื้อในวัยเด็กและไม่มีการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง[9] ในปี ค.ศ. 2010 โรคไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนจำนวน 102,000 ราย[13] วันตับอักเสบโลก จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 28 กรกฎาคมได้สร้างความตระหนักต่อโรคไวรัสตับอักเสบได้มากขึ้น[9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.