คณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522)
คณะรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2520 - 2522 | |
วันแต่งตั้ง | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 |
วันสิ้นสุด | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 (1 ปี 181 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41 |
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[1] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประธานสภานโยบายแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[2]
- นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลโท บุญเรือน บัวจรูญ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายฉลอง ปึงตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายทำนอง สิงคาลวณิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเรือตรี สนอง นิสาลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายประสงค์ สุขุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายนาม พูนวัตถุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายปรก อัมระนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลโทเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายดำริ น้อยมณีเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายจำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายประพนธ์ ปิยะรัตน์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
การปรับคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ดังนี้[3]
- พลเอก เล็ก แนวมาลี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 40 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 301 คน และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ทำให้คณะรัฐมนตรี ที่บริหารประเทศอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.