Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ: Faculty of Education, Chulalongkorn University) ถือกำเนิดมาจากแนวคิดของ โรงเรียนฝึกหัดครู โดยการพัฒนาหลักสูตรผลิตครูของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน และเป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นคณะครุศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 นับเป็นคณะที่ 7 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Education, Chulalongkorn University | |
ชื่อเดิม | แผนกครุศาสตร์ |
---|---|
คติพจน์ | ความเรืองปัญญาและคุณธรรม คือมาตรฐานคุณภาพบัณฑิตครุศาสตร์ |
สถาปนา | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 |
สังกัดการศึกษา | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คณบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.ยศวีร์ สายฟ้า |
ที่อยู่ | |
สี | สีแสด[1] |
เว็บไซต์ | www |
หน่วยงาน | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|---|
ภาควิชาหลักสูตรและการสอน |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
|
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
|
ทำเนียบคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2514 | |
2. ศาสตราจารย์ ดร.ประชุมสุข อาชวอำรุง | พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2518 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สาธร | พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2519 | |
4. ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล | พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2523 | |
5. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา | พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2527 | |
6. รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ อัตชู | พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2531 | |
7. ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ | พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2535 | |
8. ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ | พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2539 , พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547 | |
9. ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2543 , พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551 | |
10. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี | พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555 | |
11. ศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง | พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2557 | |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ | พ.ศ. 2557 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | |
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ | 30 กันยายน พ.ศ. 2559 – 16 กันยายน พ.ศ. 2567 | |
14.รองศาสตราจารย์ ดร.ยศวีร์ สายฟ้า | 16 กันยายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน | |
อาคาร ครุศาสตร์ 1 ชื่ออาคาร พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ที่ตั้งของห้องสุมนต์ อมรวิวัฒน์ และห้องอเนกประสงค์ขนาดใหญ่
อาคาร ครุศาสตร์ 2 ชื่ออาคาร พระมิ่งขวัญการศึกษาไทย ที่ตั้งของภาควิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา และห้องสุจริต เพียรชอบ
อาคาร ครุศาสตร์ 3 ชื่ออาคาร ประชุมสุข อาชวอำรุง ที่ตั้งของห้องประชุมอำไพ สุจริตกุล และห้องเรียนต่าง ๆ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้านกาแฟทรูคอฟฟี่
อาคาร ครุศาสตร์ 4 ที่ตั้งของห้องเรียน ห้องละหมาด ศูนย์วารสารครุศาสตร์
อาคาร ครุศาสตร์ 6 คือ อาคารของสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ ซึ่งเทียบได้กับสมาคมนิสิตเก่าประจำคณะ ที่ตั้งของคณะกรรมการนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ (กนค.) และคณะกรรมการนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ (กนบค.)[4]
อาคาร ครุศาสตร์ 8 คือ อาคารของสาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา
1. ดนตรีเที่ยงวัน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่นิสิตชั้นปีที่ 2 ในรายวิชา "ดนตรีศึกษาขั้นนำ" วิชาบังคับในหลักสูตร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการแสดงและร่วมแสดงด้วย เป็นกิจกรรมฝึกหัดในการจัดการแสดงดนตรี เพื่อพัฒนาประสบการณ์การจัดแสดงดนตรี และนำไปใช้ในการจัดแสดง "ครุศาสตร์คอนเสิร์ต" ต่อไป ความสำคัญของดนตรีเที่ยงวัน คือ นิสิตที่เรียนวิชาดังกล่าว จะจัดการแสดงตลอดภาคการศึกษาต้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการวัดผล และนิสิตต้องรับผิดชอบในการจัดดนตรีเที่ยงวันต่อไปอีกหนึ่งภาคการศึกษา โดยเป็นการจัดการแสดงที่มิได้มีคะแนน แต่เป็นการฝึกการจัดการแสดงในลักษณะกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ดนตรีเที่ยงวันมีการแสดงตลอดทั้งปี สถานที่แสดงส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณคณะครุศาสตร์ บางครั้งมีการจัดแสดงที่อื่นบ้างตาม การวางแผนเป็นหน้าที่ของนิสิตเอง ดังนั้น ดนตรีเที่ยงวันจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสร้างเสริมพัฒนาศักยภาพของนิสิตในเชิงการจัดการและการแสดงควบคู่ไปกับความเสียสละและจิตอาสา [5]
2. ครุศาสตร์คอนเสิร์ต นับตั้งแต่เริ่มมีการเรียนการสอนดนตรีขึ้นในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา นโยบายการสร้างสรรค์ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้คู่คุณธรรมเป็นครูดนตรีที่ดียังคงเป็นหลักการสำคัญ นอกจากนี้ กิจกรรมดนตรีมีการพัฒนาเป็นรูปแบบมากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจัดเป็นประจำทุกปีคือ ครุศาสตร์คอนเสิร์ต ในบางปีได้จัดการแสดงเนื่องในโอกาสพิเศษด้วย[6]
3. กีฬาของคณะที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งสามย่าน หรือ สามย่านเกมส์ ประกอบไปด้วย คณะครุศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ นอกจากมีการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดงดนตรีของทั้งสามคณะด้วย
4. กีฬาคณะครุศาสตร์–ศึกษาศาสตร์ของ 5 มหาวิทยาลัย หรือไม้เรียวเกมส์ กีฬาการแข่งขันและสานความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาสายครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ประกอบไปด้วย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
5. งานเทศกาลของขวัญ หรือ กิ๊ฟท์เฟสต์ ของสาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา เป็นกิจกรรมของนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตขายของขวัญทำมือจากนิสิตเอง ได้แสดงผลงานศิลปะของนิสิต การเดินแบบด้วยเครื่องแต่งกายผลงานการออกแบบของนิสิต การประกวดการระบายสีตามร่างกายระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ ศิลปินที่มีชื่อเสียงได้มาร่วมแสดงดนตรีในกิจกรรมนี้ด้วย [7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.