บทความนี้เกี่ยวกับหน่วยงานตำรวจในประเทศไทย สำหรับความหมายอื่น ดูที่
ตำรวจทางหลวงกองบังคับการตำรวจทางหลวง (อังกฤษ: Highway Police Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยบนทางหลวงแผ่นดินนอกเขตกรุงเทพมหานครที่มีหมายเลข 1-3 ตัว และทางหลวงพิเศษ
ข้อมูลเบื้องต้น กองบังคับการตำรวจทางหลวง Highway Police Division, อักษรย่อ ...
ปิด
กองบังคับการตำรวจทางหลวง ก่อตั้งขึ้นจากความต้องการของกระทรวงคมนาคม ได้เสนอให้จัดตั้งกองตำรวจทางหลวงขึ้นในกรมทางหลวงแผ่นดิน เพื่อจัดการดูแลและอำนวยความสะดวกในการจราจรที่ในยุคนั้นเริ่มมีความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทำให้เกิดอาชญากรรมและการกระทำผิดบนถนนหลวง[2]
ทำให้ในปี พ.ศ. 2503 กรมตำรวจจึงได้จัดตั้ง กองบังคับการตำรวจทางหลวงขึ้น ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ พ.ศ. 2503 เป็นหน่วยงานในระดับกองบังคับการ สังกัดกองบัชญาการตำรวจสอบสวนกลาง
ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและจราจร บริการประชาชนผู้ใช้ทางให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในเขตทางหลวงและทางพิเศษที่อยู่ในอำนาจรับผิดชอบ และควบคุมดูแลการใช้ทางหลวงให้เป็นไปตามกฎหมาย
ฝ่ายอำนวยการ
- งานธุรการและกำลังพล
- งานยุทธศาสตร์
- งานการเงินและงบประมาณ
- งานส่งกำลังบำรุงและพลาธิการ
- งานคดีและกฎหมาย
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
- งานศูนย์รวมข่าว
กองกำกับการ 1 (สระบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 พระนครศรีอยุธยา (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 สระบุรี (จังหวัดสระบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 ลพบุรี (จังหวัดลพบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 นครสวรรค์ (จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 เพชรบูรณ์ (จังหวัดเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และพิจิตร)
- สถานีตำรวจทางหลวง 6 สิงห์บุรี (จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท)
กองกำกับการ 2 (นครปฐม)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 นครปฐม (จังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 เพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 ประจวบคีรีขันธ์ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 ชุมพร (จังหวัดชุมพรและระนอง)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 สุราษฎร์ธานี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 6 กาญจนบุรี (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี)
กองกำกับการ 3 (ชลบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 ฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 ชลบุรี (จังหวัดชลบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 ระยอง (จังหวัดระยอง)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 จันทบุรี (จังหวัดจันทบุรีและตราด)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 ปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว)
กองกำกับการ 4 (ขอนแก่น)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 ร้อยเอ็ด (จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 ขอนแก่น (จังหวัดขอนแก่น)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 อุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 เลย (จังหวัดเลย)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 สกลนคร (จังหวัดสกลนคร มุกดาหาร และนครพนม)
กองกำกับการ 5 (ลำปาง)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 ตาก (จังหวัดตาก)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 ลำปาง (จังหวัดลำปาง)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 พิษณุโลก (จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และสุโขทัย)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 เชียงใหม่ (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 พะเยา (จังหวัดเชียงราย)
- สถานีตำรวจทางหลวง 6 แพร่ (จังหวัดแพร่ พะเยา และน่าน)
กองกำกับการ 6 (อุบลราชธานี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 นครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมา)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 บุรีรัมย์ (จังหวัดบุรีรัมย์)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 สุรินทร์ (จังหวัดสุรินทร์)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 อุบลราชธานี (จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 อำนาจเจริญ (จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร)
- สถานีตำรวจทางหลวง 6 ชัยภูมิ (จังหวัดชัยภูมิ)
กองกำกับการ 7 (สงขลา)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 พังงา (จังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 ตรัง (จังหวัดตรัง และพัทลุง)
- สถานีตำรวจทางหลวง 3 สงขลา (จังหวัดสงขลาและสตูล)
- สถานีตำรวจทางหลวง 4 นครศรีธรรมราช (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
- สถานีตำรวจทางหลวง 5 ปัตตานี (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
กองกำกับการ 8 (รามอินทรา)
- สถานีตำรวจทางหลวง 1 อ่อนนุช (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ถึงกิโลเมตรที่ 78 ตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี)
- สถานีตำรวจทางหลวง 2 รามอินทรา (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)