Loading AI tools
กลุ่มการเมืองไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กปปส. มีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[6][lower-alpha 1] เป็นกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย[7] โดยมุ่งหมายขจัดอิทธิพลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการเมืองไทย และการจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อควบคุมการปฏิรูปการเมือง[8] กลุ่มดังกล่าวมีบทบาทสูงในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ในสถานะของผู้จัดกิจกรรมชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
สุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวปราศรัยบนเวที กปปส. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 | |
ก่อตั้ง | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
---|---|
ล่มสลาย | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 |
สถานะตามกฎหมาย | กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง |
วัตถุประสงค์ |
|
ที่ตั้ง | |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ประเทศไทย |
สมาชิก |
|
เลขาธิการ | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
งบประมาณ | ประมาณวันละ 10 ล้านบาท (ประมาณเดือนมกราคม 2557)[5] |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
ชนวนเหตุ
|
พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง
|
องค์กร กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
สุเทพ เทือกสุบรรณ(ลุงกำนัน) ผู้นำการประท้วงและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 และแต่งตั้งตนเองเป็นเลขาธิการ[8] ขบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์การ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง สหภาพแรงงานของรัฐ และกลุ่มนิยมทหาร[9] การสนับสนุนของ กปปส. ส่วนใหญ่มาจากชาวกรุงเทพมหานครและชาวภาคใต้ที่มีฐานะร่ำรวย[10] กปปส. มิได้ใช้สัญลักษณ์สีเสื้อแทนตัวเอง แต่ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงครั้งนี้[11] กปปส. ใช้งบประมาณวันละกว่า 10 ล้านบาท[12] สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนสถาบันกษัตริย์[13][14] และลักษณะของการชุมนุม "เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย"[15][16]
สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วง ประกาศเจตนาของ กปปส. เพื่อทวงอำนาจอธิปไตยจากรัฐบาลมาคืนประชาชน ซึ่งจะดำเนินการปฏิรูปประเทศผ่านสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง สุเทพยังประกาศจะขจัดสิ่งที่ตนเรียกว่า "ระบอบทักษิณ"[17][18] สุเทพกล่าวว่า สภาประชาชนทำหน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติ โดยจะแก้ไขกฎหมายและระเบียบ เช่นเดียวกับดำเนินแผนการปฏิรูปในประเทศ[19] เขายังอธิบายว่าสภาประชาชนจะมีสมาชิก 400 คน โดย 300 คนเป็นผู้แทนจากอาชีพต่าง ๆ และอีก 100 คนที่เหลือ กปปส. จะเลือกจากนักวิชาการและราษฎรอาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ[20][21]
เป้าหมายสูงสุดของ กปปส. คือกดดันให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากความเป็นหัวหน้ารัฐบาล[22] เพื่อให้เกิดช่องว่างแห่งอำนาจ[23] จากนั้นจะอ้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม" และมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" โดยเชื่อว่า ประเทศไทยเคยปกครองโดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง ฉะนั้นจะเป็นการเปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กปปส. ยุติการชุมนุมเมื่อเกิดรัฐประหาร วันที่ 16 มิถุนายน 2557 สุเทพกล่าวว่า กปปส. หยุดเคลื่อนไหวทันทีหลัง คสช. ยึดอำนาจ และ กปปส. พร้อมให้ความร่วมมือหาก คสช. จัดการปฏิรูป[24]
หลังรัฐประหาร สุเทพเปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร[25] สุเทพยังเปิดเผยว่า การชุมนุมใช้เงินทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท โดยเป็นเงินของแกนนำ 400 ล้านบาท และของผู้สนับสนุน 1 พันล้านบาท[25]
แกนนำ
สมาชิก, แนวร่วมที่สำคัญ
สถานที่ | เริ่ม | สิ้นสุด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
สถานีรถไฟสามเสน | 31 ตุลาคม 2556 | 4 พฤศจิกายน 2556 | |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย | 4 พฤศจิกายน 2556 | 13 มกราคม 2557 | |
กระทรวงการคลัง | 25 พฤศจิกายน 2556 | 27 พฤศจิกายน 2556 | |
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 | 27 พฤศจิกายน 2556 | 9 ธันวาคม 2556 | |
สนามม้านางเลิ้ง และทำเนียบรัฐบาล | 9 ธันวาคม 2556 | 13 ธันวาคม 2556 | |
1. แยกปทุมวัน 2. แยกราชประสงค์ 3. แยกอโศกมนตรี 4. แยกศาลาแดง (สีลม) 5. ห้าแยกลาดพร้าว 6. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 7. แจ้งวัฒนะ (จนถึง 22 พฤษภาคม 2557) |
13 มกราคม 2557 | 2 มีนาคม 2557 | วันเริ่มปฏิบัติการปิดกรุงเทพฯ |
สวนลุมพินี | 2 มีนาคม 2557 | 12 พฤษภาคม 2557 | |
สะพานมัฆวานรังสรรค์ | 12 พฤษภาคม 2557 | 22 พฤษภาคม 2557 | |
ครั้งที่ | วันที่ | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | 24 พฤศจิกายน 2556 | ใช้ชื่องานว่า "24 พฤศจิกาฯ มวลมหาประชาชน คนไทยใจเกินล้าน" |
2 | 9 ธันวาคม 2556 | เคลื่อนพลไปยังทำเนียบรัฐบาล กปปส.เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ และให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง |
3 | 22 ธันวาคม 2556 | ประกาศปิดกรุงเทพฯ 5 แยกธุรกิจครึ่งวัน |
4 | 13 มกราคม 2557 | ประกาศปิดกรุงเทพฯ 7 แยกธุรกิจเต็มวัน |
5 | 29 มีนาคม 2557 | เคลื่อนพลไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้ารัชกาลที่ 5 ถวายเครื่องสักการะและถวายสัตย์ปฏิญาณ และเดินทางไปอาคารรัฐสภาถวายเครื่องสักการะ และประกาศเจตนารมณ์ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 |
6 | 5 พฤษภาคม 2557 9 พฤษภาคม 2557 13 พฤษภาคม 2557 |
- เคลื่อนพลไปยังสนามหลวงเพื่อจุดเทียนชัยถวายพระชัยมงคลเนื่องในวันฉัตรมงคล และประกาศสัตยาธิษฐานเพื่อที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ - วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 วันเริ่มปฏิบัติการขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - วันที่ 13 พฤษภาคม 2557 ทำบุญประเทศเนื่องในวันวิสาขบูชา |
หลังรัฐประหาร กปปส. จะจัดระดมทุนทุกวันเสาร์ และมีการตั้งมูลนิธิมวลมหาประชาชน โดยเสียงต้องการให้ชัย ราชวัตร (นายสมชัย กตัญญุตานันท์ )เป็นกรรมการมูลนิธิ มูลนิธิดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้สนับสนุนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง และเป็นทุนวิจัยการปฏิรูปประเทศ[37] สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าเมือง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84140[38]
มีรายนามคณะกรรมการมูลนิธิฯ ดังนี้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.