ไอโอวา (Iowa, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈaɪ ə wə/) เป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ อาณาเขตติดต่อกับรัฐอิลลินอยทางด้านตะวันออก รัฐเนแบรสกาทางด้านตะวันตก รัฐมิสซูรีทางด้านใต้ รัฐมินนิโซตา รัฐวิสคอนซิน และรัฐเซาท์ดาโคตา ทางด้านเหนือ ไอโอวาเป็นที่รู้จักเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของข้าวโพด หมู และน้ำมันเอทานอล มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของรัฐไอโอวาได้แก่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต มหาวิทยาลัยไอโอวา และ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นไอโอวา

ข้อมูลเบื้องต้น รัฐไอโอวา, ประเทศ ...
รัฐไอโอวา
Thumb
ธง
Thumb
ตรา
สมญา: 
The Hawkeye State
คำขวัญ: 
Our liberties we prize and our rights we will maintain.
Thumb
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐไอโอวา
ประเทศสหรัฐ
เข้าร่วมสหรัฐ28 ธันวาคม พ.ศ. 2389 (29)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ดิมอยน์
การปกครอง
  ผู้ว่าการเชต เคิลเฟวอร์ (D)
สมาชิกวุฒิสภาชัค แกรสลีย์ (R)
โจนี เอิร์นส์ (R)
พื้นที่
  ทั้งหมด56,272 ตร.ไมล์ (145,743 ตร.กม.)
  พื้นดิน55,869 ตร.ไมล์ (144,701 ตร.กม.)
  พื้นน้ำ402 ตร.ไมล์ (1,042 ตร.กม.)  0.71%
อันดับพื้นที่26
ขนาด
  ความยาว300 ไมล์ (500 กิโลเมตร)
  ความกว้าง200 ไมล์ (320 กิโลเมตร)
ความสูง1,099 ฟุต (335 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด1,670 ฟุต (509 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด479 ฟุต (146 เมตร)
ประชากร
  ทั้งหมด2,926,324 คน
  อันดับ30
  ความหนาแน่น52.4 คน/ตร.ไมล์ (20.22 คน/ตร.กม.)
  อันดับความหนาแน่น33
ภาษา
  ภาษาทางการภาษาอังกฤษ
เขตเวลาCentral: UTC-6/-5
อักษรย่อไปรษณีย์IA
รหัส ISO 3166US-IA
ละติจูด40°36'N to 43°30'N
ลองจิจูด89°5'W to 96°31'W
เว็บไซต์www.iowa.gov
ปิด

ไอโอวาจะได้รับการสนใจในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี เนื่องจากเป็นรัฐแรกที่มีการคอคัส ชื่อรัฐไอโอวาตั้งชื่อตาม ชาวอินเดียแดง เผ่าไอโอวา

ประวัติ

ใน พ.ศ. 2216 ลุยส์ โจลีเอต และ ชากส์ มาร์เก เดินทางและสำรวจผ่านที่ดินและตั้งชื่อว่า "ไอโอวา" ซึ่งก่อนที่รัฐจะก่อตั้งใน พ.ศ. 2216 ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ของเผ่าอินเดียนแดง 17 เผ่า ได้แก่เผ่าไอโอวา ซู ซอก เมสกากี (รู้จักในชื่อเผ่าฟอกซ์) โปตาวาโตมี โอโต และ มิสซูรี โดยทางเผ่าโปตาวาโตมี โอโต และมิสซูรี ได้ขายดินแดนให้กับรัฐบาลสหรัฐในปี พ.ศ. 2373 ต่อมาเผ่าซอกและเมสกากี ได้ขายดินแดนให้กับรัฐบาลในปี พ.ศ. 2388 และเผ่าซูเป็นเผ่าสุดท้ายที่ทำสัญญาขายดินแดนในปี พ.ศ. 2394

ในช่วงเวลาเดียวกัน พ.ศ. 2376 ชาวอเมริกันได้เริ่มเข้ามาตั้งรกราก โดยย้ายเข้ามาจากฝั่งอิลลินอย และในปี พ.ศ. 2389 ไอโอวาได้เข้าร่วมกับสหพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐ ในวันที่ 28 ธันวาคม โดยมีเมืองหลวงของรัฐคือ ไอโอวาซิตี และต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ ดิมอยน์ ใน พ.ศ. 2400

ภูมิศาสตร์

เคาน์ตี

รัฐไอโอวาประกอบด้วย 99 เคาน์ตี และ 15 เมือง โดยมีเมืองหลวงรัฐตั้งอยู่ที่เมืองดิมอยน์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐด้วย เมืองใหญ่ในรัฐนับตามจำนวนประชากรได้แก่

  • คลินตัน
  • เคาน์ซิลบลัฟส์
  • ซีดาร์ฟอลส์
  • ซีดาร์แรพิดส์
  • ซูซิตี
  • ดาเวนพอร์ต
  • ดูบิวก์
  • เบตเทนดอร์ฟ
  • เบอร์ลิงตัน
  • ฟอร์ตดอดจ์
  • มัสคาทีน
  • มาร์แชลล์ทาวน์
  • เมซันซิตี
  • แมเรียน
  • วอเทอร์ลู
  • เวสต์ดิมอยน์
  • ออตทัมวา
  • เออร์เบินเดล
  • แอนเคนี
  • ไอโอวาซิตี

เมือง

  • ดิมอยน์
  • วอเทอร์ลู
  • ซีดาร์ฟอลส์
  • ซีดาร์แรพิดส์
  • ซูซิตี
  • ดาเวนพอร์ต
  • ดูบิวก์
  • เบตเทนดอร์ฟ
  • เบอร์ลิงตัน
  • ฟอร์ตดอดจ์
  • มัสคาทีน
  • มาร์แชลล์ทาวน์
  • เมซันซิตี
  • แมเรียน
  • วอเทอร์ลู
  • เวสต์ดิมอยน์
  • ออตทัมวา
  • เออร์เบินเดล
  • แอนเคนี
  • ไอโอวาซิตี

ภูมิประเทศ

รัฐไอโอวาตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำมิสซิสซิปปีในทางตะวันออก และแม่น้ำมิสซูรีในทางตะวันตก ที่ไหลต่อมาจากแม่น้ำบิกซู พื้นที่ส่วนใหญ่ในรัฐมีลักษณะเป็นที่ราบโดยมีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเล 335 เมตร (1,099 ฟุต) และมีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ยในฝั่งตะวันตก โดยมีทะเลสาบเป็นบางส่วน จุดต่ำสุดในรัฐอยู่ที่เมืองคีโอคุก บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 146 เมตร (480 ฟุต) และจุดสูงสุดอยู่ที่ จุดฮอว์กอาย บริเวณเมืองซิบลี ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐ พื้นที่ของรัฐทั้งหมดมี 145,743 ตร.กม. (56,271 ตร.ไมล์)

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในไอโอวามีลักษณะเช่นเดียวกับรัฐอื่นในมิดเวสต์โดยมีลักษณะชื้นตลอดทั้งรัฐโดยมีบรรยากาศแบบร้อนจัดในฤดูร้อน และเย็นจัดในฤดูหนาว และมีหิมะตกเป็นปกติ อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณกึ่งกลางรัฐที่เมืองดิมอยน์มีค่า 10 °C (50 °F) ในฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นช่วงที่บรรยากาศเปลี่ยนแปลงโดยจะมีลูกเห็บ และทอร์เนโดในหลายพื้นที่ของรัฐ

ข้อมูลเพิ่มเติม เมือง, ม.ค. ...

อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดของเมืองใหญ่ในรัฐไอโอวา[1]

เมืองม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
ดิมอยน์
(กลาง)
29/12 35/18 48/29 61/40 72/51 82/61 86/66 84/64 76/54 64/42 47/29 33/17
ดูบิวก์
(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
25/9 31/15 43/26 57/38 69/49 79/58 82/62 80/60 72/52 60/40 44/28 30/15
ซูซิตี
(ตะวันตกเฉียงเหนือ)
29/8 35/15 47/26 62/37 73/49 82/58 86/63 84/61 76/50 64/38 45/25 32/13
วอเทอร์ลู
(เหนือ)
26/6 32/13 45/25 60/36 72/48 82/58 85/62 83/60 75/50 62/38 45/25 31/12
ปิด

เศรษฐกิจ

Thumb
เหรียญควอเตอร์ ด้านหลังเป็นภาพของไอโอวา หนึ่งในสองของเหรียญประจำปี 2547

เศรษฐกิจหลักของรัฐเป็นเศรษฐกิจด้านเกษตรกรรม ได้แก่ หมู ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวโอ้ต ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนม สำหรับเศรษฐกิจอื่นจะอยู่ในลักษณะอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักร เคมี อิเล็กทรอนิกส์ และโลหะบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมผลิตเอทานอล ธุรกิจอื่นในรัฐได้แก่การประกัน โดยมีศูนย์กลางใหญ่อยู่ที่ดิมอยน์ ภาษีสินค้าในรัฐไอโอวาปัจจุบันมีค่า 5%

คอคัสในไอโอวา

ในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ รัฐไอโอวาได้รับการสนใจจากประชาชนทั่วประเทศเนื่องจากเป็นรัฐแรกที่มีการจัดคอคัส ซึ่งเริ่มในช่วงมกราคมของปีเลือกตั้ง ถัดมาคือรัฐนิวแฮมป์เชียร์ การจัดคอคัสนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเลือกผู้ลงสมัครเป็นประธานาธิบดีของแต่ละพรรค เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ออกเสียงอย่างไม่เป็นทางการนอกเหนือกจากกาบัตรเลือก สื่อมวลชนให้ความสนใจในคอคัสในไอโอวาเป็นพิเศษ เนื่องจากส่งผลอย่างมากถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเพราะประชาชนทั่วประเทศสนใจคอคัสครั้งแรกเป็นพิเศษ

ประชากร

ในปี 2548 ไอโอวามีประชากรประมาณ 3,000,000 คน โดยมีคนขาวประมาณ 96% และที่เหลือเป็น คนอินเดียแนดง คนดำ คนลาติน และคนเอเชีย สำหรับในส่วนคนขาวนั้นมีเชื้อสายมาจากทางยุโรปหลายแหล่ง ได้แก่ เยอรมัน (35.7%) ไอร์แลนด์ (13.5%) อังกฤษ (9.5%) อเมริกัน (6.6%) นอร์เวย์ (5.7%) ฮอลแลนด์ (4.6%) สวีเดน (3.3%) และเดนมาร์ก (3.2%)

คนไอโอวาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดยประมาณ 75% ของคนในรัฐ โดยนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ 50% และ โรมันคาทอลิก 23% โดยที่เหลือนับถือนิกายอื่น สำหรับศาสนาที่เหลือประมาณ 13% ไม่มีศาสนา และ 6% นับถือศาสนาอื่น

การคมนาคม

การเดินทางในรัฐนั้นเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นหลัก และมีรถไฟโดยสารหนึ่งเส้นทางของแอมแทรก ถนนสายหลักในรัฐ ได้แก่

อินเตอร์สเตต 10 สาย
29, 35, 74, 80, 129, 235, 280, 380, 480, 680
ทางหลวงสหรัฐ 20 สาย
6, 18, 20, 30, 34, 52, 59, 61, 63, 65, 67, 69, 71, 75, 77, 136, 151, 169, 218, 275

สนามบิน

Thumb
สนามบินนานาชาติดิมอยน์
  • สนามบินนานาชาติดิมอยน์ (รหัสสนามบิน DSM)
  • สนามบินดูบิวก์
  • สนามบินฟอร์ตดอดจ์
  • สนามบินเมซันซิตี
  • สนามบินอีสเทิร์นไอโอวา
  • สนามบินซูเกตเวย์
  • สนามบินเซาท์อีสต์ไอโวา
  • สนามบินวอเทอร์ลู

การศึกษา

Thumb
โรงนาและฟางข้าว ภาพจากเมือง เอมส์

รายชื่อมหาวิทยาลัยรัฐ

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากไอโอวา

เมืองพี่น้อง

ไอโอวามี เมืองพี่น้อง 8 เมืองอย่างเป็นทางการ[2]

ภาพยนตร์เกี่ยวกับไอโอวา

บทบาทและถ่ายทำในไอโอวา
  • ฟิลด์ออฟดรีมส์ (Field of Dreams; 1989) - นำแสดงโดย เควิน คอสต์เนอร์ เรื่องราวเกี่ยวกับทีมเบสบอลในไอโอวา ถ่ายทำในเมืองดูบิวก์ ในรัฐไอโอวา
  • เดอะบริดจ์เจสออฟเมดิสันเคาน์ตี (The Bridges of Madison County; 1995) - นำแสดงโดย คลินต์ อีสต์วูด ในบทช่างถ่ายภาพทตกหลุมรักแม่บ้านชาวไอโอวาขณะที่สามีไปต่างเมือง ถ่ายทำที่เคาน์ตีเมดิสันในรัฐไอโอวา
  • เดอะสเตรตสตอรี (The Straight Story; 1999) - นำแสดงโดย ริชาร์ด ฟอรนส์เวิร์ธ ในบทของ แอลวิน สเตรต ชาวนาจากรัฐไอโอวาที่ขับรถไถจากรัฐไอโอวาไปรัฐวิสคอนซิน จากภาพยนตร์นี้ ริชาร์ด ฟอรนส์เวิร์ธได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์
บทบาทในไอโอวา แต่ถ่ายทำที่อื่น
  • สลีปปิงวิธดิเอเนมี (Sleeping with the Enemy; 1991) - นำแสดงโดย จูเลีย โรเบิร์ต ในบท ลอร์รา ซึ่งบ้านเกิดจากรัฐไอโอวา แต่ถ่ายทำในรัฐเซาท์แคโรไลนา
  • คิงพิน (Kingpin; 1996) - นำแสดงโดย บิลล์ เมอร์เลย์ นักโบว์ลิงจากไอโอวา แต่ถ่ายทำในรัฐเพนซิลเวเนีย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.