"เลิฟซัมบอดี" (อังกฤษ: Love Somebody) เป็นเพลงของวงดนตรีแนวป๊อปร็อก มารูนไฟฟ์ ออกจำหน่ายวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เป็นซิงเกิลลำดับที่สี่และลำดับสุดท้ายในสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ โอเวอร์เอกซ์โพสต์ (ค.ศ. 2012) เพลงเขียนขึ้นโดยแอดัม เลอวีน และนาธาเนียล มอตต์ และโปรดิวซ์โดยไรอัน เท็ดเดอร์ และโนล ซานคาเนลลา "เลิฟซัมบอดี" เป็นเพลงแนวแดนซ์ป็อปที่เนื้อหาพูดถึง "การไถ่บาปบนฟลอร์เต้นรำ"

ข้อมูลเบื้องต้น "เลิฟซัมบอดี", ซิงเกิลโดยมารูนไฟฟ์ ...
"เลิฟซัมบอดี"
Thumb
ซิงเกิลโดยมารูนไฟฟ์
จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสต์
วางจำหน่าย14 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 (2013-05-14)
บันทึกเสียง2012
แนวเพลงแดนซ์ป็อป
ความยาว3:49
ค่ายเพลง
  • เอแอนด์เอ็ม/ออกโทน
  • อินเตอร์สโคป
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • ไรอัน เท็ดเดอร์
  • โนล ซานคาเนลลา
ลำดับซิงเกิลของมารูนไฟฟ์
"เลิฟซัมบอดี"
ปิด

หลังจากออกจำหน่าย เพลงประสบความสำเร็จพอสมควร และเป็นซิงเกิลสิบอันดับแรกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เพลงที่ 4 จากอัลบั้ม แม้ว่าเพลงประสบความสำเร็จ เพลงได้รับคำวิจารณ์คละกันจากนักวิจารณ์เพลง บางคนชื่นชมเนื้อเพลง นำไปเปรียบกับงานเพลงของโคลด์เพลย์ บางคนตำหนิเกี่ยวกับการผลิตและเสียงร้องของเลอวีน หลังจากอัลบั้มปล่อยออกมา มียอดดิจิทัลดาวน์โหลดสูง ทำให้เพลงนี้ได้ขึ้นสูงสุดที่อันดับที่เก้าบนซิงเกิลชาร์ตของเกาหลีใต้

เบื้องหลังและการผลิต

Thumb
นาธาเนียล มอตต์ จากวงทรีโอ!ทรี และไรอัน เท็ดเดอร์ จากวงวันรีพับลิก ร่วมเขียนเพลง "เลิฟซัมบอดี"

เมื่อกลางปี ค.ศ. 2011 มารูนไฟฟ์เริ่มทำสตูดิโออัลบั้มที่สี่ เจมส์ วาเลนไทน์ หนึ่งในสมาชิกวงกล่าวกับนิตยสารบิลบอร์ดและเปิดเผยว่าอัลบั้มจะออกจำหน่ายในต้นปี ค.ศ. 2012[1] ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2012 วงโพสต์วิดีโอลงยูทูบนำเสนอฉากที่วงดนตรีบันทึกเสียงในสตูดิโอหลายฉาก[2] ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2012 อัลบั้มออกจำหน่ายในชื่อ โอเวอร์เอกซ์โพสต์[3]

แอดัม เลอวีน นักร้องนำ ร่วมเขียนเพลง "เลิฟซัมบอดี" กับนาธาเนียล มอตต์ นักร้องวงทรีโอ!ทรี โนล ซานคาเนลลา และไรอัน เท็ดเดอร์ นักร้องนำวงวันรีพับลิก[4] ซานคาเนลลาและเท็ดเดอร์เป็นผู้ผลิตและใช้โปรแกรมปรับแต่งเสียงและคีย์ของเพลง[4] เขาสองคนยังร่วมเขียนและผลิตเพลง "ลักกีสไตรก์" จากอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ด้วย[4] เพลง "เลิฟซัมบอดี" ปรับแต่งเสียงโดยสมิธ คาร์ลสัน ที่แพตทริออตสตูดิโอส์ในเดนเวอร์ และโนอาห์ "เมล์บ็อกซ์" พาสโซวอย ที่คอนเวย์สตูดิโอส์ในลอสแอนเจลิส เอริก อายแลนส์รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิศวกรเสียง[4] เซอร์แบน เกเนีย ผสมเสียงเพลงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอในเวอร์จิเนียบีช จอห์น เฮนส์ทำหน้าที่วิศวกรเสียงสำหรับผสมเสียง ขณะที่ฟิล ซีฟอร์ดรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยผสมเสียง[4]

การวางองค์ประกอบเพลง

"เลิฟซัมบอดี" เป็นเพลงแดนซ์ป็อป ความยาวสามนาทีสี่สิบเก้าวินาที[4][5] ดนตรีประกอบด้วยเปียโนและกีตาร์[6] ร็อบ เชฟฟิลด์จากนิตยสารโรลลิงสโตน บรรยายถึงเพลงว่าท่อนสร้อยแบบสังเคราะห์เสียงเหมือนสไลสโตนพบกับยูริธมิกส์[7] คริส เพน จากนิตยสารบิลบอร์ดกล่าวว่า เท็ดเดอร์และซานคาเนลลามีอิทธิพลต่อเพลงทั้งเพลงและค่อย ๆ ปรากฏทีละน้อย ๆ ตลอดทั้งท่อน "ก่อนจะมีอยู่เต็มเปี่ยมก่อนจะเข้าท่อนสร้อย"[8] แอดัม มาร์โควิตซ์ จากเอนเตอร์เทนเมนต์วิกลีเขียนวิจารณ์อัลบั้มว่า เพลงมีท่อนประสานเสียงที่ทำได้ "อย่างเข้มข้น" เช่นเดียวกับเพลง "เดย์ไลต์"[9] ด้านเนื้อเพลง "เลิฟซัมบอดี" เทียบความรักเหมือนกับการถึงเนื้อถึงตัวในท่อนที่เลอวีนร้องว่า "I really wanna love somebody [...] I really wanna touch somebody"[10] เนต ชิเนน จากเดอะนิวยอร์กไทมส์บรรยายเนื้อหาในเนื้อเพลงว่าเป็น "การร้องขอไถ่บาปบนฟลอร์เต้นรำหรือบนพื้นราบใด ๆ"[11]

การตอบรับ

Thumb
นักวิจารณ์เชื่อมโยงเพลง "เลิฟซัมบอดี" เข้ากับงานเพลงของวงดนตรีแนวออลเทอร์นาทีฟร็อกสัญชาติอังกฤษ โคลด์เพลย์

ซูซาน เบิร์น จาก RTÉ.ie เขียนว่าเพลง "เลิฟซัมบอดี" "เดย์ไลต์" "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" และ "ลักกีสไตรก์" อาจได้ออกเป็นซิงเกิล[12] บริตทานีย์ เฟรดเดริก จากสตาร์พัลส์เรียกเพลงนี้ว่า "เอาจริงเอาจัง" (earnest)[13] ขณะที่คาเมรอน แอดัมส์ จากหนังสือพิมพ์เฮรัลด์ซัน บรรยายเพลงนี้ว่าเป็นโคลด์เพลย์ที่ "พยายามเป็น" เคที เพร์รี[14] คล้าย ๆ กับแอดัมส์ อีวาน ซอว์ดีย์ จากนิตยสารป็อปแมตเทอส์ เขียนว่า "เลิฟซัมบอดี" เป็น "ช่วงเวลาแห่งความเป็นโคลด์เพลย์ยุครุ่งเรือง" ของวง[15] เจเรมี โธมัส จาก 411 มาเนีย เรียกเพลงนี้ว่าเป็นเพลงหนึ่งที่ใช้อารมณ์มากในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ และเป็น "ช่วงเวลาที่หายากซึ่งกลการผลิตที่ทำให้เพลงโดดเด่นออกมา ผ่อนคลายลงมากพอจนเกิดเป็นเพลงที่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและมีอารมณ์ความรู้สึก และมิได้เป็นเพียงลำกล้องเลเซอร์ที่เล็งเป้าไปบนชาร์ตบิลบอร์ด"[16]

ในบทวิจารณ์อัลบั้ม เฟรเซอร์ แม็กอัลไพน์ จากบีบีซีมิวสิก เขียนว่าวงได้ทิ้ง "ความเจ้าอารมณ์ของไก่อ่อนวางมาด" (the strutting cockerel heat) อย่างเพลง "ดิสเลิฟ" ซิงเกิล ค.ศ. 2004 แต่แทนด้วย "ความสุขสมบูรณ์ชนิดอิ่มตัว" (saturated rave bliss) อย่างเพลง "เลิฟซัมบอดี" หรือ "เดอะแมนฮูเนเวอร์ลายด์" เขากล่าวว่านี่เป็นผลจากการตลาดที่พวกเขาเลือกที่จะมอบให้[17] คริส เพย์น จากบิลบอร์ดคิดว่าเพลงค่อย ๆ กลืนไปกับภูมิหลังของเพลงอื่น ๆ ที่เนื้อหาแรงกว่าในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์[8] แอดัม มาร์โควิตซ์ จากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี ค่อนข้างติเสียงร้องของเลอวีนในเพลง "เลิฟซัมบอดี" และเขียนว่า เสียงร้องทำออกมาเป็นเสียงครวญครางไม่น่าฟัง "เหมือนกับริอานนาเพศชาย หรือเสียงคาสตราโตหุ่นยนต์แอนดรอยด์" ซึ่งเขากล่าวว่า มันเป็นแบบอย่างที่ดีในการพิสูจน์ลักษณะทั่วไปของท่อนสร้อยเพลงป็อป[9]

บนชาร์ตเพลง

หลังจากออกจำหน่ายอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ เนื่องจากยอดดาวน์โหลดสูง เพลง "เลิฟซัมบอดี" เปิดตัวบนแกออนชาร์ตของเกาหลีใต้ที่อันดับ 8 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ด้วยยอดขาด 35,892 ชุด[18] ในสัปดาห์ต่อมา เพลงตกลงมาอันดับ 15 และขายได้อีก 16,752 ชุด[19] เพลงอยู่บน 100 อันดับแรกได้นาน 8 สัปดาห์[20] เพลงเปิดตัวอันดับที่ 54 บนบิลบอร์ดฮอต 100 และขึ้นสูงสุดอันดับที่ 10 ทำให้อัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์เป็นอัลบั้มแรกของมารูนไฟฟ์ที่ทำเพลงติด 10 อันดับแรกได้ถึง 4 เพลง[21] นับถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 เพลงขายได้ 1,694,000 ชุดในสหรัฐอเมริกา[22]

มิวสิกวิดีโอ

มิวสิกวิดีโอถ่ายทำในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2013 ออกเผยแพร่ในวีโว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม[23] วิดีโอกำกับโดยริช ลี แสดงเลอวีนและเอมิลี ราไทคาวสกี รับบทเป็นคนรัก และสมาชิกวงทุกคน ถูกทาด้วยสีเทา ทีแรก เลอวีนทาสีตัวเองให้ตัดกับพื้นหลังสีขาว จากนั้นก็ทาสีตัวราไทคาวสกีที่อยู่ตรงหน้าเขา ฉากท้าย ๆ แสดงเครื่องดนตรีของสมาชิกวงพ่นสีออกมาในขณะที่พวกเขากำลังบรรเลงอย่างต่อเนื่อง มีผู้หญิงคนหนึ่งเต้นยั่วยวน และเลอวีนกอดกับคนรักด้วยความเสน่หา ทุกอย่างมีสีเทาทาทั่วตัว ในฉากสุดท้าย เลอวีนย้อนกลับสิ่งที่เขาทำ ลบรอยสีออกจากฉากจนไม่เหลือร่องรอย

การแสดงสด

ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 มารูนไฟฟ์แสดงเพลง "เลิฟซัมบอดี" ในรายการเดอะวอยซ์ฤดูกาลที่สี่[24] ต่อมา พวกเขาแสดงเพลงนี้ในฮอนดาซีวิกทัวร์ประจำปีครั้งที่ 12 และโอเวอร์เอกซ์โพสด์ทัวร์

ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง

การปรับแต่งเสียงและผสมเสียง
  • ปรับแต่งเสียงที่แพตทริออตสตูดิโอส์ เดนเวอร์ รัฐโคโลราโด และคอนเวย์สตูดิโอส์ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • ผสมเสียงที่มิกซ์สตาร์สตูดิโอส์ เวอร์จิเนียบีช
คณะทำงาน

คณะทำงานปรับปรุงจากโน้ตในอัลบั้มโอเวอร์เอกซ์โพสด์ สังกัดเอแอนด์เอ็ม/อ็อกโทนเรเคิดส์[4]

ชาร์ตและการรับรอง

ข้อมูลเพิ่มเติม ชาร์ต (2012–13), ตำแหน่ง สูงสุด ...
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.