วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารmap

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

ข้อมูลเบื้องต้น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร, ชื่อสามัญ ...
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
Thumb
พระมณฑปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถ (ซ้าย) และพระวิหาร (ขวา) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566
Thumb
ชื่อสามัญวัดมหาธาตุ
ที่ตั้งแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต)
ความพิเศษมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งที่ 2 ของไทย
เว็บไซต์http://www.watmahathat.com/
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000062
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
ปิด
Thumb
พระวิหารหลวง
Thumb
พระอุโบสถ
พระประธาน
Thumb
พระศรีสักยมุนี หรือ พระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต) พระประธานในพระวิหารหลวง
Thumb
พระศรีสรรเพชญ์ พระประธานในพระอุโบสถ

วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”

ลำดับอธิบดีสงฆ์

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับที่, รายนาม ...
ลำดับที่รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ
1สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)พ.ศ. 2336พ.ศ. 2359
2สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)พ.ศ. 2359พ.ศ. 2362
3สมเด็จพระพนรัตน (อาจ)พ.ศ. 2362พ.ศ. 2363
4สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)พ.ศ. 2363พ.ศ. 2365
5สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)พ.ศ. 2365พ.ศ. 2385
6พระญาณไตรโลก (พุก)พ.ศ. 2386พ.ศ. 2393
7สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)พ.ศ. 2394พ.ศ. 2400
8พระราชกวี (คง)พ.ศ. 2400 ?
9พระศาสนานุรักษ์ (รัก) ? ?
10พระญาณสมโพธิ (อิ่ม) ? ?
11พระคุณาจริยาวัตร (คำ) ? ?
12พระญาณสมโพธิ (คำ) ?พ.ศ. 2432
13สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)พ.ศ. 2432พ.ศ. 2466
14สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)พ.ศ. 2466พ.ศ. 2486
15พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)พ.ศ. 2486พ.ศ. 2490
16สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)พ.ศ. 2490
พ.ศ. 2523
พ.ศ. 2503 (สมัยที่ 1)
พ.ศ. 2532 (สมัยที่ 2)
17พระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร)พ.ศ. 2503พ.ศ. 2523
18พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ)พ.ศ. 2533พ.ศ. 2547
19พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต)พ.ศ. 2547(ยังดำรงตำแหน่ง)
ปิด

รูปภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น

13.754382°N 100.491546°E / 13.754382; 100.491546

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.