ภาษาตุรกีออตโตมัน (ตุรกีออตโตมัน: لِسانِ عُثمانى, lisân-ı Osmânî, เสียงอ่านภาษาตุรกี: [li'saːnɯ os'maːniː]; ตุรกี: Osmanlı Türkçesi; อังกฤษ: Ottoman Turkish) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตุรกีที่เคยเป็นภาษาในการปกครองและภาษาเขียนในจักรวรรดิออตโตมัน เป็นภาษาที่มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เขียนด้วยอักษรอาหรับ ภาษานี้ไม่เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวตุรกีที่มีการศึกษาต่ำ[3] อย่างไรก็ตาม ภาษาตุรกีที่ใช้พูดในทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีออตโตมันเช่นกัน
ภาษาตุรกีออตโตมัน | |
---|---|
لسان عثمانى lisân-ı Osmânî | |
ตุรกีออตโตมันในรูปอักษรแนสแทอ์ลีก (لسان عثمانى) | |
ภูมิภาค | จักรวรรดิออตโตมัน |
ชาติพันธุ์ | ชาวเติร์กออตโตมัน |
ยุค | ป. คริสต์ศตวรรษที่ 15; แทนที่ด้วยภาษาตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1928[1] |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาตุรกีอานาโตเลียเก่า
|
ระบบการเขียน | อาหรับแบบออตโตมัน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | เบย์ลิกแห่งตูนิส รัฐครีต เอมิเรตญะบัลชัมมัร รัฐเคดีฟอียิปต์ จักรวรรดิออตโตมัน รัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติประจำคอเคซัสตะวันตกเฉียงใต้ รัฐบาลชั่วคราวแห่งเธรสตะวันตก รัฐบาลสมัชชาใหญ่แห่งชาติ ประเทศตุรกี (จนถึง ค.ศ. 1928)[a] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | ota |
ISO 639-3 | ota |
นักภาษาศาสตร์ | ota |
ในช่วงจุดสูงสุดของอำนาจออตโตมันเมื่อ (ป. คริสต์ศตวรรษที่ 16) ศัพท์ต่างชาติในวรรณกรรมตุรกีในจักรวรรดิออตโตมันมีจำนวนมากกว่าศัพท์ตุรกีดั้งเดิม[4] โดยในบางข้อความมีศัพท์ภาษาอาหรับและเปอร์เซียมากถึงร้อยละ 88[5]
โครงสร้าง
เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่น ๆ ที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิม คำยืมภาษาอาหรับไม่ได้เกิดจากการติดต่อกันโดยตรงระหว่างภาษาตุรกีออตโตมันกับภาษาอาหรับ แต่มีหลักฐานว่ามาจากการเปลี่ยนเสียงตามแบบภาษาเปอร์เซียสำหรับคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ การที่ยังคงรักษาการลักษณะการออกเสียงของการยืมคำจากภาษาอาหรับแบบนี้ไว้ได้ แสดงว่ามีการแพร่หลายของผู้พูดภาษาเปอร์เซียที่มีคำจากภาษาอาหรับอยู่มากเข้ามาในบริเวณนี้ ก่อนการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน ชนกลุ่มนี้เคยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเปอร์เซียก่อนจะอพยพมาทางตะวันตกเข้ามายังบริเวณที่ชนเผ่าเตอร์กอาศัยอยู่ ภาษาตุรกีออตโตมันมีคำยืมภาษาอาหรับที่มีรูปแบบของภาษาเปอร์เซียในแบบเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆที่เคยมีการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับเช่น ภาษาตาตาร์และภาษาอุยกูร์ ภาษาตุรกีออตโตมันมี 3 ระดับคือ
- Fasih Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครอง
- Orta Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้สำรับชนชั้นสูงและการค้าขาย
- Kaba Türkçe: เป็นภาษาสำหรับคนชั้นต่ำ
คนที่ใช้ภาษาทั้งสามระดับจะมีจุดประสงค์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น อาลักษณ์จะใช้คำจากภาษาอาหรับ Arabic asel (عسل) เพื่อหมายถึงน้ำผึ้งเมื่อเขียนเอกสาร แต่จะใช้คำพื้นเมืองภาษาตุรกี bal เมื่อต้องการซื้อน้ำผึ้ง
ภาษาไทย/อังกฤษ | ตุรกีออตโตมัน | ตุรกีสมัยใหม่ |
---|---|---|
obligatory | واجب vâcib | zorunlu |
hardship | مشکل müşkül | güçlük, zorluk |
เมือง | شهر şehir | kent/şehir |
สงคราม | جنگ cenk | savaş |
ประวัติศาสตร์
ภาษาตุรกีออตโตมันแบ่งเป็นสามยุคคือ
- Eski Osmanlı Türkçesi เป็นภาษาที่ใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาษาตุรกีที่ใช้โดยเซลจุกและถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษาตุรกีอนาโตเลียโบราณ
- Orta Osmanlı Türkçesi เป็นภาษายุคกลางหรือภาษาตุรกีออตโตมันคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงยุคของตันซิมัต เป็นรูปแบบของภาษาตุรกีออตโตมันในความรู้สึกของคนทั่วไป
- Yeni Osmanlı Türkçesi ภาษายุคใหม่ เป็นภาษาที่เปลี่ยนรูปไปในช่วง พ.ศ. 2393 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโลกตะวันตก
การเปลี่ยนรูปของภาษา
ใน พ.ศ. 2471 หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกี ได้มีการเปลี่ยนรูปของภาษาโดยมุสตาฟา เกมาล อตาเตอร์ก โดยการแทนที่คำยืมภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับด้วยคำดั้งเดิมในภาษาตุรกีที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้อักษรละตินแทนอักษรอาหรับ ถือเป็นการสร้างภาษาตุรกีรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาติในยุคหลังจักรวรรคิออตโตมัน
มรดก
ภาษาตุรกีออตโตมันไม่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของภาษาตุรกีสมัยใหม่ ความแตกต่างที่สำคัญของภาษาตุรกีทั้งสองแบบนี้คือการสร้างคำประกอบตามแบบไวยากรณ์ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียในภาษาแบบออตโตมัน ตัวอย่างเช่น คำว่า takdîr-i ilâhî เป็นการสร้างคำแบบภาษาเปอร์เซีย ภาษาตุรกีสมัยใหม่จะเป็น ilâhî takdîr
ระบบการเขียน
ภาษาตุรกีออตโตมันส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรตุรกีออตโตมัน (elifbâ الفبا) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของชุดตัวอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ บางครั้งชาวอาร์มีเนีย ชาวกรีก และชาวยิวก็ใช้อักษรของตนเอง (ดูภาษาตุรกีคารามันลือ สำเนียงหนึ่งของออตโตมันที่เขียนด้วยอักษรกรีก)
ตัวเลข
bir | |||
iki | |||
üç | |||
dört | |||
beş | |||
altı | |||
yedi | |||
sekiz | |||
dokuz | |||
on | |||
on bir | |||
on iki |
การทับศัพท์
ระบบการทับศัพท์ของ İslâm Ansiklopedisi กลายเป็นมาตรฐานโดยพฤตินัยในตะวันออกศึกษา สำหรับการทับศัพท์อักษรตุรกีออตโตมัน[7] และพจนานุกรมของ Karl Steuerwald กับ Ferit Develioğlu กลายเป็นมาตรฐานในการทับศัพท์[8] จากนั้น Deutsche Morgenländische Gesellschaft (DMG) นำเสนอระบบการทับศัพท์อีกแบบสำหรับภาษาเตอร์กิกที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ[9] ไม่มีความแตกต่างใด ๆ ในระบบการทับศัพท์ระหว่าง İA กับ DMG
ا | ب | پ | ت | ث | ج | چ | ح | خ | د | ذ | ر | ز | ژ | س | ش | ص | ض | ط | ظ | ع | غ | ف | ق | ك | گ | ڭ | ل | م | ن | و | ه | ی | ||||||
ʾ | a | b | p | t | s̱ | c | ç | ḥ | ḫ | d | ẕ | r | z | j | s | ş | ṣ | ż, ḍ | ṭ | ẓ | ʿ | ġ | f | q | k | g | ñ | ğ | g | ñ | l | m | n | v | h | y |
การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตุรกีออตโตมัน
ในปัจจุบันยังมีการเรียนการสอนภาษาตุรกีออตโตมันอยู่ทั่วโลก ชาวตุรกียังคงเรียนภาษานี้ในฐานะภาษาคลาสสิกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
หมายเหตุ
- ภาษาประจำชาติมีชื่อว่า "ตุรกี" ในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐตุรกีประจำปี 1921 และ 1924[2]
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.