Loading AI tools
ภาพที่มองดูมีมิติตื่นลึก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปี หรือ สเตอริโอสโคปิก หรือ ระบบภาพทรีดี หรือ ระบบภาพสามดี (Stereoscopy หรือ stereoscopic imaging หรือ 3-D imaging) เป็นเทคนิคในการสร้างภาวะลวงตา (จากภาพถ่าย หรือ ภาพยนตร์ ที่อยู่บนระนาบสองมิติ แบนๆ ) ให้ดูมีมิติความตื้นลึก (illusion of depth)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
หลักการเบื้องต้นคือ ส่งภาพสองมิติ 2 ภาพสำหรับตาแต่ละข้างโดยมีมุมมองต่างกันเล็กน้อย เสมือนกับที่สองตาของคนเห็นภาพตามธรรมชาติ
การถ่ายภาพ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (photogrammetry) และเพื่อความบันเทิง โดยทำเป็นภาพสามมิติ (ภาพสเตอริโอแกรมส์, stereograms) ซึ่งดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ (สเตอริโอสโคป, stereoscope)
การถ่ายภาพสามมิติมีประโยชน์ในการดูภาพเห็นมิติตื้นลึก ภาพถ่ายสามมิติในการอุตสาหกรรมสมัยใหม่อาจใช้เครื่องสแกนภาพ 3 มิติ (3D scanners) สำหรับสแกนและบันทึกข้อมูล 3 มิติ ข้อมูลความลึกสร้างจากภาพ 2 ภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ด้วยการใส่จุดภาพสมนัยลงบนภาพซ้ายและภาพขวา
การแสดงผลเป็นภาพ 3 มิติ ส่วนมากใช้เทคนิคภาพคู่ หรือ ภาพสเตอริโอสโคปิก (StereoScopic) ถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดย เซอร์ ชาร์ล วีตสโตน (Sir Charles Wheatstone) เมื่อ พ.ศ. 2381 ต่อมาถูกปรับปรุงพัฒนาโดย เซอร์ เดวิด บริวสเตอร์ (Sir David Brewster) และเป็นคนแรกที่สร้างอุปกรณ์ดูภาพสามมิติ แบบพกพา (portable 3D viewing device)
ระบบภาพสามมิติแบบเบื้องต้นที่สุด คือใช้ภาพ 2 มิติ สองภาพ โดยถ่ายวัตถุสิ่งของสถานที่เดียวกัน แต่เยื้องกล้องขณะถ่ายห่างออกไปเล็กน้อย (ประมาณ 3 นิ้ว) นำสองภาพที่ได้มาวางเคียงกัน แล้วใช้ตาแต่ละข้างมองสองภาพที่ต่างกัน ปรับระยะห่างให้เหมาะสมกับขนาดของภาพ สมองของเราจะนำสองภาพมารวมกัน แล้วแปรผลออกมาเป็นภาพเดียวที่มีมิติตื้นลึก เสมือนกับการที่สองตาของเรามองเห็นวัตถุจริงตามธรรมชาติ
ข้อดีของการใช้สองภาพเคียงกันแบบนี้ คือสะดวกในการผลิต แค่ใช้ภาพสองภาพวางเคียงกัน ก็สามารถดูได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย (Free Viewing) เพียงแค่ปรับลักษณะการดูของดวงตาสองข้าง และวางระยะห่างของภาพให้เหมาะสม, สามารถใช้ภาพถ่ายแบบสีสันสมจริงได้
ส่วนข้อเสียคือ ภาพที่นำมาใช้ดู จะมีขนาดเล็ก ต้องปรับระยะการวางภาพห่างจากดวงตาให้เหมาะสม ไม่สามารถใช้ภาพวิวทิวทัศน์ขนาดใหญ่ ๆ หรือมีรายละเอียดเยอะ ๆ ได้
คือการดูภาพสามมิติ จากภาพสองมิติ 2 ภาพ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใดใด แล้วสมองจะรวมเป็นภาพเดียวกันแบบมีมิติตื้นลึก วิธีการดูโดยทั่วไปมีสองแบบ คือ ดูแบบตาขนาน (The parallel viewing) ภาพ 2 ภาพวางขนานตรงกับตาแต่ละข้าง หรือ ดูแบบไขว้ตา (The cross-eyed viewing) คือภาพซ้ายให้ดูด้วยตาขวา และภาพขวาให้ดูด้วยตาซ้าย
คือ ภาพสเตอริโอแกรมรวมเป็นภาพเดียว (single-image stereogram (SIS)) หรือ ภาพสามมิติในตัว มีลักษณะเป็นภาพสองมิติภาพเดียว ที่เมื่อดูแบบปกติ จะเห็นเป็นภาพที่ประกอบจุดสีมั่ว (Random Dot) เปรอะ ๆ ไปทั้งผืน ดูไม่รู้เรื่อง อย่างกับ ภาพนามธรรม (abstract) หรือเป็นลวดลายแพทเทิร์นสองมิติซ้ำ ๆ แต่เมื่อมีการฝึกการมองแบบตาขนาน โดยเริ่มจากปรับระยะโฟกัสของสายตาให้มองไปยังจุดที่ไกลที่สุด หรืออินฟินนิตี้ คงตำแหน่งลูกตาไว้ แล้วดูภาพออโต้สเตอริโอแกรม โดยตาซ้ายจะเห็นภาพซีกซ้าย ตาขวาจะเห็นภาพซีกขวา แล้วปรับเลื่อนระยะภาพ จนเริ่มเห็นจุดสีเลอะ ๆ ผสานรวมตัวกัน แปรเป็นภาพวัตถุบางอย่าง ลอยอยู่ท่ามกลางพื้นหลัง มีมิติตื้นลึก
ภาพสามมิติแบบออโต้สเตอริโอแกรม เคยฮิตมากในเมืองไทยระยะหนึ่ง ราวช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2537 โดยแรก ๆ เป็นบทความในนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์-ความรู้ และมีพิมพ์เป็นภาพแถมในนิตยสาร และฮิตมากถึงกับมีการพิมพ์ภาพออโต้สเตอริโอแกรมโดยเฉพาะทั้งเล่ม ออกขายเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง คนทั่วไปนิยมซื้อมาเล่นสนุกเพื่อฝึกดูภาพสามมิติปริศนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้จุดสีเปรอะ ๆ เหล่านั้น ในหนังสือรวมภาพออโต้สเตอริโอแกรมหลาย ๆ เล่มจะพิมพ์ จุดสองจุด ไว้ใต้ล่าง เพื่อให้ฝึกปรับสายตาก่อน แล้วเลื่อนภาพสามมิติลงมาดู จะช่วยให้เร็วขึ้น
ภาพออโต้สเตอริโอแกรม มีสองชนิด คือ แบบตาขนานตรง หรือ วอลล์-อายด์ (wall-eyed) และ แบบไขว้ตา หรือ ครอส-อายด์ (cross-eyed) และต้องดูภาพที่ทำขึ้นมารองรับการดูแต่ละแบบโดยตรง
แผ่นการ์ดภาพคู่สามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปิกการ์ด (Stereoscopic cards) และ กล้องถ้ำมอง หรือ กล้องดูภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคป (Stereoscope)
แผ่นภาพสเตอริโอสโคปิก คือการใช้ภาพถ่ายสองมิติ 2 ภาพ วางชิดเคียงกัน โดยเป็นภาพที่ถ่ายวัตถุสิ่งของสถานที่เดียวกัน แต่ถ่ายด้วยมุมที่เยื้องต่างกันเล็กน้อย ภาพซ้ายดูด้วยตาซ้าย ส่วนภาพขวาดูด้วยตาขวา การดูมักดูผ่านกล้องถ้ำมอง หรือกล้องสเตอริโอสโคป โดยจัดวางภาพให้ห่างจากเลนส์ตาในระยะที่เหมาะสม ตามขนาดของภาพถ่าย กล้องสเตอริโอสโคปรุ่นแรก ๆ จะเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ใช้กับภาพคู่ที่มีขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มาก หากต้องการดูภาพที่มีขนาดใหญ่ มีรายละเอียดมากขึ้น ต้องใช้กล้องสเตอริโอสโคปแบบสะท้อนภาพด้วยกระจก
คือ กล้องดูแผ่นใส หรือภาพถ่ายบนกระจกใส หรือ ฟิล์มโพสิทีฟ หรือที่นิยมเรียกว่า ฟิล์มสไลด์ กล้องสามมิติชนิดนี้มีมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1850 (ราวปี พ.ศ. 2383) ซึ่งใช้ดู ภาพถ่ายบนกระจกใส ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ก็เปลี่ยนมาใช้แผ่นใส หรือฟิล์มสไลด์ ซึ่งเบา และเหนียวทนทานกว่ากระจก ส่วนยี่ห้อกล้องยอดนิยมเป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ ทรู-วิว (Tru-Vue) เริ่มมีในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) และ กล้องวิวมาสเตอร์ หรือ วิว-มาสเตอร์ (View-Master) เริ่มมีในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)
บางครั้งเรียก กล้องวีอาร์ (VR)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แว่นตาสามมิติ หรือ สามดีวิวเวอร์ หรือ ทรีดีวิวเวอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูภาพเพื่อให้เห็นเป็นสามมิติ แบ่งเป็น 2 ระบบตามเทคโนโลยี คือ แบบแอ็คทีฟ (active) และ แบบพาสซีฟ (passive)
แบบแอ็คทีฟจะต้องใช้ระบบอิเล็คทรอนิคส์ หรือกระแสไฟฟ้าในการเปิด-ปิด (กระพริบ) รับภาพซึ่งต้องสัมพันธ์กับภาพที่ปรากฏบนจอดิสเพลย์ ส่วนแบบพาสซีฟจะซับซ้อนน้อยกว่า น้ำหนักเบากว่า เพียงแค่ใช้การปรับองศาฟิวเตอร์ในเลนส์แว่น (หรือโพลาไลซ์) เพื่อบังส่วนของภาพสำหรับตาซ้ายกับตาขวา หรืออาจจะเป็นระบบแผ่นใสแดง-ฟ้า
ใช้ระบบไฟฟ้า ในการเปิดปิดชัตเตอร์ภายในเลนส์แว่นตาแต่ละข้างสลับกัน โดยจะสัมพันธ์กับภาพบนจอดิสเพลย์ ซึ่งจะฉายภาพสำหรับตาซ้าย-ตาขวา (หรือกระพริบ) สลับกันไปด้วยความถี่ที่เหมาะสม ข้อดีในกรณีของทีวีสามมิติแบบแอ็คทีฟ คือจะได้ภาพขนาดใหญ่เต็มความละเอียดของจอภาพ ข้อเสียคือแว่นตาต้องใส่ถ่าน มีน้ำหนักมาก และดวงตาอาจจะล้า หรือวิงเวียนอยากอาเจียนได้ เพราะความถี่ของการกระพริบภาพ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม ภาพสามมิติแบบซ้อนเหลื่อม หรือ สามมิติแอนะกลิ๊ป (Anaglyph 3D)
เป็นชื่อทางการค้าของบริษัท Chromatek
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม นินเท็นโด 3ดีเอส
เทคโนโลยีการแสดงผลภาพออโต้สเตอริโอสโคปิก โดยทั่วไปใช้ออพติคอลคอมโพเน้นท์ซึ่งอยู่ในจอดิสเพลย์คอยจับตำแหน่งของดวงตาผู้ดู จากนั้นจะแสดงภาพแยกซ้ายขวาส่งตรงไปยังตำแหน่งดวงตาแต่ละข้าง เห็นเป็นภาพสามมิติที่พอจะแสดงรายละเอียดด้านข้างได้บ้าง แม้จะสามารถขยับมุมมองของผู้ดูได้ แต่ก็จำกัดการเคลื่อนศีรษะได้ในระยะแคบๆ เทคโนโลยีนี้ไม่ต้องพึ่งพา แว่นตาดูภาพสามมิติ หรือชุดอุปกรณ์สวมศีรษะใดใด
ตัวอย่างของ เทคโนโลยีอุปกรณ์แสดงผลแบบออโต้สเตอริโอสโคปิก (autostereoscopic) อาทิเช่น เลนส์ เล็นติคูลาร์ (lenticular lens), แผ่นกั้นพาราแล็ก (parallax barrier), volumetric display, โฮโลแกรม holography, Integral imaging และ light field displays
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.