รัฐพิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐพิหารmap

พิหาร (ฮินดีและไมถิลี: बिहार; อูรดู: بہار) เป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันออกของประเทศอินเดีย มีประชากรมากที่สุดเป็นลำดับที่สาม และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สิบสองของประเทศอินเดีย ด้วยพื้นที่ราว 94,163 km2 (36,357 sq mi) รัฐพิหารมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐอุตตรประเทศในทางตะวันตก, ประเทศเนปาลในทางเหนือ, ส่วนบนของรัฐเบงกอลตะวันตกทางะวันออก, และรัฐฌารขัณฑ์ทางตอนใต้ ที่ราบพิหารมีแม่น้ำคงคาซึ่งไหลจากตะวันตกไปตะวันออกไหลผ่าน[12] ภูมิภาคทางวัฒนธรรมหลัก ๆ สามแห่งที่ประกอบอยู่ในรัฐพิหารได้แก่ มคธ, มิถิลา และโภชปุรี[13]

ข้อมูลเบื้องต้น รัฐพิหาร, ประเทศ ...
รัฐพิหาร
Thumb
Thumb
Thumb
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: มหาโพธิวิหารแห่งพุทธคยา, โบราณสถานมหาวิทยาลัยนาลันทา, ภาพเขียนมธุพานิจากภูมิภาคมิถิลา, น้ำพุร้อนพรหมกูณฑ์ในราชคฤห์
Thumb
ตรา
เพลง: เมเร ภารตะ เก กันฐะ หาร (Mere Bharat Ke Kanth Haar)
(พวงมาลัยแห่งอินเดียของข้า)
Thumb
ที่ตั้งของรัฐพิหารในประเทศอินเดีย
พิกัด (ปัฏนา): 25.4°N 85.1°E / 25.4; 85.1
ประเทศประเทศอินเดีย
ก่อตั้ง
  • 22 มีนาคม ค.ศ. 1912
  • (พิหารทิวาส)
ได้รับสถานะเป็นรัฐ26 มกราคม ค.ศ. 1950
เมืองหลวงปัฏนา
เมืองใหญ่สุดปัฏนา
เขต38 เขต
การปกครอง
  ราชยปาลผกู เชาวหัน (Phagu Chauhan)
(จากพรรค BJP)[1]
  มุกขยมนตรีนิติษ กุมาร (Nitish Kumar)
(จากพรรค JD(U))
  รองมุกขยมนตรีสุษิล กุมาร โมที (Sushil Kumar Modi)[2]
(จากพรรค BJP)
  นิติบัญญัติ
  ศาลสูงศาลสูงปัฏนา
พื้นที่[3]
  ทั้งหมด94,163 ตร.กม. (36,357 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 12
ประชากร
 (ค.ศ. 2011)[4]
  ทั้งหมด104,099,452 คน
  อันดับที่ 3
  ความหนาแน่น1,102 คน/ตร.กม. (2,850 คน/ตร.ไมล์)
  กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาหลักโภชปุรี (Bhojpuri), ไมถิล (Maithil), มคธ (Magahi)
เดมะนิมชาวพิหาร
จีดีพี (ค.ศ. 2017–2018)[5]
  รวม₹4.88 ลาขกโรร์ (lakh crore)
(48.8 ล้านล้านรูปี)
  ต่อประชากร₹38,860
ภาษา
  ภาษาราชการภาษาฮินดี[6]
  ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาไมถิลี,[ก][7] ภาษาอูรดู[ข][8]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
UN/LOCODEINBR
รหัส ISO 3166IN-BR
ทะเบียนพาหนะBR
เอชดีไอ
(ค.ศ. 2017)
เพิ่มขึ้น 0.566[9] (กลาง) · ที่ 36
การรู้หนังสือ
(ค.ศ. 2011)
63.82%[10]
อัตราส่วนเพศ
(ค.ศ. 2011)
918 /1000 [11]
เว็บไซต์gov.bih.nic.in
  • ก. รับรองโดย ตารางผนวกแนบท้ายที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย [en]
  • ข. ใน 15 เขต
ปิด

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 พิหารตอนใต้ได้จัดตั้งเป็นรัฐใหม่ชื่อว่ารัฐฌารขัณฑ์[14] ประชากรเพียง 11.3% ของพิหารอาศัยในเขตเมือง ถือว่าต่ำที่สุดในประเทศอินเดีย ต่อจากรัฐหิมาจัลประเทศ[15] นอกจากนี้ ประชากรพิหารกว่า 58% มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ทำให้พิหารเป็นรัฐที่มีอัตราส่วนเยาวชนสูงที่สุดในอินเดีย[16]

ในอินเดียโบราณและอินเดียยุคคลาสสิก บริเวณที่เป็นรัฐพิหารในปัจจุบันถือว่าเป็นศูนย์กลางของอำนาจ การศึกษา และวัฒนธรรม[17] นับตั้งแต่มคธได้เรืองอำนาจขึ้นเป็นจักรวรรดิแรกในแผ่นดินอินเดีย, จักรวรรดิเมารยะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะศาสนิกชนของศาสนาพุทธ[18] จักรวรรดิมคธโดดเด่นภายใต้การปกครองของราชวงศ์เมารยะ และราชวงศ์คุปตะ รวมกันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเอเชียใต้ที่อยู่ภายใต้อำนาจศูนย์กลางเดียว[19] อีกหนึ่งภูมิภาคของพิหารคือมิถิลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษายุคแรกและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรวิเทหะ[20][21]

นับตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 รัฐพิหารได้รั้งท้ายรัฐอื่น ๆ ในประเทศอินเดียในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม[22][23][24] นักเศรษฐศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์สังคมหลายคนอ้างว่าเป็นผลโดยตรงจากนโยบายจากรัฐบาลอินเดียส่วนกลาง เช่น นโยบาย freight equalisation policy (ฮินดี: फ्रेट इक्वलाइजेशन पॉलिसी)[25][26], ความไม่เห็นใจที่มีต่อรัฐพิหาร (its apathy towards Bihar)[16][27][28], การขาดความเป็นรัฐนิยมพิหาร (Bihari sub-nationalism),[26][29][30] และการตั้งรกรากถาวร (Permanent Settlement) ในปี ค.ศ. 1793 โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[26] อย่างไรก็ตามรัฐบาลของรัฐพิหารมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนารัฐ[31] การพัฒนาการปกครองได้นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในรัฐผ่านการเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภค[32] บริการสุขภาพที่ดีกว่า การให้ความสำคัญกับการศึกษา และการลดจำนวนการก่อคดีและการฉ้อโกง[33][34]

ในปี ค.ศ. 2023 เมืองเบกูซาไร รัฐพิหารได้ถูกจัดลำดับเป็นเมืองคุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก[35]

ประชากร

ข้อมูลเพิ่มเติม ศาสนาในรัฐพิหาร ...
ศาสนาในรัฐพิหาร[36]
ศาสนา ร้อยละ
ฮินดู
 
82.7%
อิสลาม
 
16.9%
คริสต์
 
0.1%
อื่นๆ
 
0.3%
ปิด

ประชากรเกือบ 58% ของรัฐพิหารมีอายุต่ำกว่า 25 ปี ถือว่าเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดในประเทศอินเดีย พิหารมีอัตราการขยายเขตเมืองอยู๋ที่ 11.3% ต่ำที่สุดเป็นอันดับที่สองของประเทศอินเดีย รองจากรัฐหิมาจัลประเทศ[37]

ประชากรของพิหารส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้พูดภาษาอินโด-อารยัน (Indo-Aryan-speaking ethnic groups) และยังเป็นเป้าหมายหนึ่งในการตั้งถิ่นฐานของชาวปัญจาบฮินดูที่อพยพมาในช่วงของการ Partition of British India เมื่อปี ค.ศ. 1947[38] พิหารมีอัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ 63.82% (73.39% ในชาย และ 53.33% ในหญิง) พบว่ามีการเติบโตขึ้น 20% สำหรับการรู้หนังสือในผู้หญิงในทศวรรษที่ผ่านมา[10] สำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 พบว่าประชากร 82.7% นับถือศาสนาฮินดู, 16.9% นับถือศาสนาอิสลาม[36][39]

ภาษา

Thumb
ภาษาไมถิลีในอักษรตีราหุต (Tirhuta) และอักษรเทวนาครี

ภาษาของรัฐพิหาร (ค.ศ. 2011)[40]

  ฮินดี (25.54%)
  ไมถิลี (12.55%)
  มคธ (10.87%)
  อูรดู (8.42%)
  สุรชาปุรี (1.78%)
  อื่น ๆ (15.98%)

ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐ[6] ภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการที่สองใน 15 เขตของรัฐ[8] อย่างไรก็ตามชาวรัฐพิหารส่วนใหญ่พูดภาษาใดภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาพิหาร ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดเป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดีในการสำรวจสำมะโนประชากร ภาษาสำคัญคือ โภชปุรี, ไมถิลี และมคธ แต่กลุ่มเล็ก ๆ เช่น ภาษาอังคิกา และภาษาบัชชิกา (Bajjika) (บางครั้งถือว่าเป็นภาษาไมถิลี) ก็พูดกันเป็นจำนวนมากเช่นกัน[41][42] ไมถิลีเป็นภาษาประจำภูมิภาคของอินเดียที่ได้รับการรับรองโดย ตารางผนวกแนบท้ายที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[7] มีผู้เสนอเรียกร้องให้ภาษาโภชบุรี และภาษามคธได้รับสถานะเดียวกัน[43] อย่างไรก็ตามจำนวนผู้พูดสำหรับภาษาเหล่านี้มีจำกัด เนื่องจากคนที่มีการศึกษาและอาศัยในเมืองมักจะพูดภาษาฮินดี (ในบริบทที่เป็นทางการ) ดังนั้นจึงตอบคำตอบนี้ในการสำรวจสำมะโนประชากร และในพื้นที่ชนบทและชุมชนที่ไม่มีการศึกษาพวกเขาก็ตอบว่าภาษาของพวกเขาเป็นภาษา "ฮินดี" ในสำมะโน

ชุมชนเล็ก ๆ ของผู้พูดภาษาเบงกาลี และภาษาสันถาลี พบได้ในเขตทางตะวันออกของรัฐ





อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.