ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (รัสเซีย: Пётр Ильи́ч Чайко́вский; อังกฤษ: Pyotr Ilyich Tchaikovsky) เป็นคีตกวีชาวรัสเซียแห่งยุคโรแมนติก เขาเป็นคีตกวีชาวรัสเซียคนแรกที่ผลงานสร้างความประทับใจในระดับโลก ได้รับการส่งเสริมในฐานะวาทยกรรับเชิญในทวีปยุโรปและอเมริกา
ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี | |
---|---|
ไชคอฟสกีในปี ค.ศ. 1893 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี |
เกิด | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เขตข้าหลวงวยัตคา จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 (53 ปี) เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จักรวรรดิรัสเซีย |
อาชีพ | คีตกวี, นักเปียโน, วาทยากร |
ไชคอฟสกีเกิดเมื่อปีค.ศ. 1840 ที่เมืองโวทคินสค์ ในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของอันทอน รูบินสไตน์ จากนั้นถูกเรียกให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูบินสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาสมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความขัดแย้งภายในตนว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ คราพริชิโอ อิตาเลียน (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน ดโวชาค ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยอหิวาตกโรคแต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ
เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย
ผลงานชิ้นสำคัญ
บัลเล่ต์
- สวอนเลค โอปุสที่ 20 (พ.ศ. 2418 - 2419)
- เจ้าหญิงนิทรา โอปุสที่ 66 (พ.ศ. 2431 - 32)
- เดอะนัทแครกเกอร์ โอปุสที่ 71 (พ.ศ. 2434 - 35)
ซิมโฟนี
- ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง จีไมเนอร์ (ความฝันในเหมันตฤดู) โอปุสที่ 13 พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)
- ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ (ชาวรัสเซียน้อย) โอปุสที่ 17 พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872)
- ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ (โปลิช) โอปุสที่ 29 (ค.ศ. 1875)
- ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุสที่ 36 พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877)
- แมนเฟรด โอปุสที่ 58 (1885)
- ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง อีไมเนอร์ โอปุสที่ 64 พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888)
- ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง บีไมเนอร์ (พาเธติก) โอปุสที่ 74 พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)
เพลงโหมโรง
- เดอะ สตรอม, โอปุสที่ 76 พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)
- เพลงโหมโรงในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ (พ.ศ. 2408 แก้ไขเมื่อปี พ.ศ. 2409)
- เพลงโหมโรง ถอดทำนองจากเพลงชาติเดนมาร์ก โอปุสที่ 15 (ค.ศ. 1866 แก้ไขเมื่อปีค.ศ. 1892)
- ฟาตัม โอปุสที่ 77 (ค.ศ. 1868)
- โรมิโอกับจูเลียต (ค.ศ. 1869 แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1870, 1880)
- เดอะ เท็มเปสต์ โอปุสที่ 18 (ค.ศ. 1873)
- สลาโวนิค มาร์ช โอปุสที่ 31 (ค.ศ. 1876)
- ฟรานเซสก้า ดา ริมินี โอปุสที่ 32 (ค.ศ. 1876)
- คาพริชิโอ อิตาเลียน โอปุสที่ 45 (ค.ศ. 1880)
- เซเรเนดสำหรับวงเครื่องสาย โอปุสที่ 48 (ค.ศ. 1880)
- 1812 โอเวอร์เชอร์, โอปุสที่ 49 (ค.ศ. 1880)
- แฮมเล็ต โอปุสที่ 67 (ค.ศ. 1888)
- อุปรากรเรื่อง โวยีโวด้า โอปุสที่ 78 (ค.ศ. 1890 - 91)
คอนแชร์โต้
- เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 ในบันไดเสียง บีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 23 (ค.ศ. 1874 - 75 แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1879 และ 1889)
- เซเรเนด เมลังโคลิค โอปุสที่ 26 (ค.ศ. 1875)
- วาริเอชั่นส์ แอนด์ รอคโคโคธีม โอปุสที่ 33 (ค.ศ. 1876)
- วอลซ์-สแกโซ โอปุสที่ 34 (ค.ศ. 1877)
- คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน ในบันไดเสียงดี เมเจอร์ โอปุสที่ 35 (ค.ศ. 1878)
- คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 2 ในบันไดเสียงจี เมเจอร์ โอปุสที่ 44 (ค.ศ. 1879-80)
- คอนเสิร์ต แฟนตาซี โอปุสที่ 56 (ค.ศ. 1884)
- เปซโซ่ คาปริชิโอโซ โอปุสที่ 62 (ค.ศ. 1887)
- คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 75 (ค.ศ. 1893)
- อันดานเต้ แอนด์ ฟินาเล่ โอปุสที่ 79 (ค.ศ. 1893)
เชมเบอร์มิวสิก
- บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ (ค.ศ. 1865)
- บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 1 ในบันไดเสียง เรเมเจอร์ โอปุสที่ 11 (ค.ศ. 1871)
- บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 2 ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ โอปุสที่ 22 (ค.ศ. 1873 - 74)
- บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 30 (ค.ศ. 1876)
- ซุวีเนียร์ ดุงลิเยอแชร์, โอปุสที่ 42 (ค.ศ. 1878)
- เปียโนทรีโอ ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ โอปุสที่ 50 (ค.ศ. 1881 - 82)
- ซูวีเนียร์ เดอ ฟลอเรนซ์ โอปุสที่ 70 (ค.ศ. 1890)
บทเพลงสำหรับเปียโน
ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับเปียโนไว้จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ ฤดูกาล
อุปรากร
จากอุปรากรทั้งสิบเรื่องที่ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์ไว้นั้น มี:
- เยฟเกนี โอเนกิน (Евгений Онегин) (ค.ศ. 1878)
- เด็กน้อยแห่งเมืองออร์เลอง (ค.ศ. 1878 - 79)
- มาเซ็ปป้า (ค.ศ. 1881 - 83)
- โยลันตา โอปุสที่ 69 (ค.ศ. 1891)
- ควีนออฟสเปรด โอปุสที่ 90 (ค.ศ. 1892)
มีเดีย
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.