ซัปโปโระ

นครในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซัปโปโระmap

ซัปโปโระ (ญี่ปุ่น: 札幌; โรมาจิ: ซัปโปโระ; ไอนุ: サッ・ポロ・ペッ, ซัตโปโรเป็ต) เป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิชิการิ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะ และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองใหม่ที่สุดในญี่ปุ่น มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) มีประชากรยุคบุกเบิกเพียง 7 คน

ข้อมูลเบื้องต้น ซัปโปโระ 札幌, ประเทศ ...
ซัปโปโระ

札幌
นครซัปโปโระ · 札幌市
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
Thumb
จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง: เขตธุรกิจและภูเขาโมอิวะในยามพลบค่ำ, หอนาฬิกาซัปโปโระ, พิพิธภัณฑ์เบียร์ซัปโปโระ, สถานีรถไฟซัปโปโระ, มหาวิทยาลัยฮกไกโด, ซัปโปโระโดม และซัปโปโระทีวีทาวเวอร์เมื่อมองจากสวนสาธารณะโอโดริ
Thumb
ธง
Thumb
ตรา
Thumb
Thumb
Thumb
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ
ที่ตั้งในญี่ปุ่น
Thumb
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ (ทวีปเอเชีย)
Thumb
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ
ซัปโปโระ (โลก)
พิกัด: 43°4′N 141°21′E
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคฮกไกโด
จังหวัดฮกไกโด
กิ่งจังหวัดอิชิการิ
การปกครอง
  นายกเทศมนตรีคัตสึฮิโระ อาคิโมโตะ
  รองนายกเทศมนตรีคัตสึฮิโระ อาคิโมโตะ
พื้นที่
  ทั้งหมด1,121.26 ตร.กม. (432.92 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กันยายน ค.ศ. 2020)
  ทั้งหมด1,973,432 คน
  ความหนาแน่น1,800 คน/ตร.กม. (4,600 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (JST)
ที่อยู่ศาลาว่าการ2-1-1 Kita-ichijō-nishi, Chūō-ku, Sapporo-shi, Hokkaido
060-8611
เว็บไซต์www.city.sapporo.jp/city/english
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกคัคคูยุโรป
ดอกไม้Lily of the valley
ต้นไม้Lilac
ปิด

ในช่วงต้นของยุคเมจิ ขณะนั้นเพิ่งเริ่มก่อตั้งเขตการปกครองฮกไกโด และซัปโปโระถูกเลือกเป็นศูนย์กลางการจัดการและพัฒนาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัปโปโระถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานแบบอเมริกาเหนือ จึงมีการสร้างระบบถนนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ซัปโปโระเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 1972 โดยในปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นเมืองท่องเที่ยว ร้านบะหมี่ญี่ปุ่นหรือราเม็ง โรงเบียร์ซัปโปโระ และเทศกาลหิมะซัปโปโระที่จัดขึ้นทุกปีราวเดือนกุมภาพันธ์

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของซัปโปโระ คือภูเขา โมอิวะ เป็นยอดเขาสูง 531 เมตร [1] ที่เป็นจุดชมวิวของเมือง ที่เดินป่า ดูนก และลานสกี (Ski Jo) ในฤดูหนาว

ประวัติศาสตร์

ก่อนที่จะเป็นเขตการปกครอง พื้นที่บริเวณซัปโปโระในขณะนั้นถูกเรียกว่า ที่ราบอิชิการิ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองในละแวกนั้น ที่เรียกว่า ชาวไอนุ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1866 ในตอนปลายของยุคเอโดะ ก็ได้มีการขุดคลองผ่านพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นการเกื้อหนุนให้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้มากขึ้น จนกลายเป็น หมู่บ้านซัปโปโระ[2] ซึ่งชื่อซัปโปโระนั้น มาจากภาษาไอนุ ที่ว่า ซัต-โปโร-เป็ต (ไอนุ: サッ・ポロ・ペッ, แห้ง-ใหญ่-แม่น้ำ) ซึ่งมีความหมายว่า "แม่น้ำสายใหญ่แห้ง"[3]

ค.ศ. 1868 เป็นปีที่ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นปีที่กำเนิดซัปโปโระอย่างแท้จริง รัฐบาลสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ข้อสรุปว่า ศูนย์อำนวยการบริหารที่มีอยู่ของฮกไกโดซึ่งในขณะนั้นคือเมืองท่าฮาโกดาเตะอยู่ในที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันประเทศและการพัฒนาของเกาะ เป็นผลให้ที่ราบอิชิการิถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของการบริหารเกาะฮกไกโด

ระหว่าง ค.ศ. 1870 - 1871 คุโรดะ คิโยตากะ รองประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับการพัฒนาฮกไกโด ได้เข้าหารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการขอความช่วยเหลือด้านการพัฒนาดินแดน เป็นผลให้ ฮอเรซ แคปรอน รัฐมนตรีเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้ประธานาธิบดียูลิสซิส เอส. แกรนท์ ได้ถูกว่าจ้างโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษคณะกรรมการพัฒนาฯ การก่อสร้างเมืองได้เริ่มขึ้นบริเวณรอบสวนสาธารณะโอโดริซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นพื้นที่สีเขียวที่อยู่ใจกลางเมืองที่เจริญเติบโต โดยผังเมืองนั้นจะเป็นตารางสี่เหลี่ยมตามรูปแบบของอเมริกัน

การขยายตัวต่อเนื่องของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาในฮกไกโด ยังคงเป็นผลจากการย้ายถิ่นจากเกาะฮนชูไปทางใต้ บังเกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ฮกไกโดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนได้ขยายตัวไปยังพื้นที่ที่เดิมคณะกรรมการพัฒนาฯ เห็นว่าเป็นพื้นที่ไม่จำเป็นต่อการพัฒนา ซึ่งถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1882 .

ค.ศ. 1880 พื้นที่ทั้งหมดของซัปโปโระได้เปลี่ยนเป็น เขตซัปโปโระ และมีเส้นทางรถไฟไปยังเทมิยะ และ โอตารุ สองปีต่อมา (ค.ศ. 1882) มีการยกเลิกเมืองไคตากุ ฮกไกโดถูกแบ่งออกเป็นสามจังหวัดคือ ฮาโกดาเตะ ซัปโปโระ และเนมูโระ และในขณะที่พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของจังหวัดซัปโปโระถูกยกเป็นอำเภอ แต่ตัวเมืองของซัปโปโระยังคงเป็นเขตซัปโปโระ

ค.ศ. 1886 จังหวัดซัปโปโระ ฮาโกดาเตะ และเนมูโระถูกยกเลิก และศาลาว่าการเก่าฮกไกโดซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบอเมริกันนีโอบารอค ได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888

อำเภอซัปโปโระนั้นได้บริหารงานเขตซัปโปโระ จนกระทั่ง ค.ศ. 1899 เมื่อระบบใหม่มีการประกาศ หลังจากนั้น เขตซัปโปโระก็ได้เป็นอิสระจากการบริหารของอำเภอซัปโปโระ (มีสถานะสูงกว่าเมือง แต่ต่ำกว่านคร) ซึ่งในเกาะฮกไกโดเวลานั้น ฮาโกดาเตะและโอตารุยังคงมีฐานะเป็นเพียงเขต

ภูมิศาสตร์

ภูมิอากาศ

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของนครซัปโปโระ (ค.ศ. 1981-2010), เดือน ...
ข้อมูลภูมิอากาศของนครซัปโปโระ (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 11.2
(52.2)
10.8
(51.4)
16.8
(62.2)
28.0
(82.4)
31.1
(88)
31.9
(89.4)
36.0
(96.8)
36.2
(97.2)
32.7
(90.9)
26.4
(79.5)
22.4
(72.3)
14.8
(58.6)
36.2
(97.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) −0.6
(30.9)
0.1
(32.2)
4.0
(39.2)
11.5
(52.7)
17.3
(63.1)
21.5
(70.7)
24.9
(76.8)
26.4
(79.5)
22.4
(72.3)
16.2
(61.2)
8.5
(47.3)
2.1
(35.8)
12.9
(55.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) −3.6
(25.5)
−3.1
(26.4)
0.6
(33.1)
7.1
(44.8)
12.4
(54.3)
16.7
(62.1)
20.5
(68.9)
22.3
(72.1)
18.1
(64.6)
11.8
(53.2)
4.9
(40.8)
−0.9
(30.4)
8.9
(48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −7.0
(19)
−6.6
(20.1)
−2.9
(26.8)
3.2
(37.8)
8.3
(46.9)
12.9
(55.2)
17.3
(63.1)
19.1
(66.4)
14.2
(57.6)
7.5
(45.5)
1.3
(34.3)
−4.1
(24.6)
5.3
(41.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −27.0
(-17)
−28.5
(-19.3)
−22.6
(-8.7)
−14.6
(5.7)
−4.2
(24.4)
0.0
(32)
5.2
(41.4)
5.3
(41.5)
−0.9
(30.4)
−5.8
(21.6)
−15.5
(4.1)
−23.9
(-11)
−28.5
(−19.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 113.6
(4.472)
94.0
(3.701)
77.8
(3.063)
56.8
(2.236)
53.1
(2.091)
46.8
(1.843)
81.0
(3.189)
123.8
(4.874)
135.2
(5.323)
108.7
(4.28)
104.1
(4.098)
111.7
(4.398)
1,106.5
(43.563)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 173
(68.1)
147
(57.9)
98
(38.6)
11
(4.3)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
2
(0.8)
32
(12.6)
132
(52)
597
(235)
ความชื้นร้อยละ 70 69 66 62 66 72 76 75 71 67 67 69 69
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 28.8 25.4 23.5 6.4 0.1 0.0 0.0 0.0 0.0 1.2 13.9 26.5 125.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 92.5 104.0 146.6 176.5 198.4 187.8 164.9 171.0 160.5 152.3 100.0 85.9 1,740.4
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [4]
ปิด

เขตการปกครอง

นครซัปโปโระประกอบด้วย 10 เขต (区 ku) ดังนี้

Thumb
เขตอัตสึเบ็ตสึ (厚別区) (ม่วง)
เขตชูโอ (中央区) (น้ำเงิน) (ศูนย์กลาง)
เขตฮิงาชิ (東区) (ฟ้า)
เขตคิตะ (北区) (ส้มแดง)
เขตคิโยตะ (清田区) (เขียว)
เขตมินามิ (南区) (แดง)
เขตนิชิ (西区) (ส้ม)
เขตชิโรอิชิ (白石区) (น้ำตาล)
เขตเทอิเนะ (手稲区) (เขียวขี้ม้า)
เขตโทโยฮิระ (豊平区) (ชมพู)

สีในแผนที่ข้างต้นแสดงที่ตั้งของเขต

วัฒนธรรม

Thumb
ศาลเจ้าฮกไกโด

ซัปโปโระจัดว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2006 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 14,104,000 คน ซึ่งเป็นปีที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในประวัติศาสตร์

Thumb
ซัปโปโระวัดนาริตาซังโรงพยาบาล
Thumb
ชิโระอิโคะอิบิโตะพิพิธภัณฑ์

อาหาร

Thumb
ซุปแกงกะหรี่

ซัปโปโระขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ "มิโซะราเม็ง" และราเม็งหลากหลายชนิดของซัปโปโระก็ยังเป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้ "ซุปแกงกะหรี่" พร้อมผักและเนื้อไก่ยังเป็นหนึ่งในความพิเศษในซัปโปโระ ซึ่งในขณะนี้มีร้านซุปแกงกะหรี่มากมายตั้งอยู่ตามเมืองและตำบลต่าง ๆ ของฮกไกโด

ซัปโปโระยังถูกกล่าวขานในเรื่องของอาหารทะเลที่มีความสดและรสชาติเยี่ยม อาทิ แซลมอน เม่นทะเล ปู เป็นต้น และยังมีการปลูกบลูเบอรีและแตงโมหลากหลายสายพันธุ์

เทศกาล

Thumb
นักเต้นรำในเทศกาลโยซาโกอิโซรัง
Thumb
เทศกาลหิมะซัปโปโระ

ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีเทศกาลหิมะซัปโปโระ ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีชื่อเสียงมากของซัปโปโระ ในบริเวณสวนสาธารณะโอโดริ บางส่วนของซูซูกิโนะ (เทศกาลน้ำแข็งซูซูกิโนะ) บางส่วนของมาโกมาไนในในเขตมินามิ ซึ่งรูปปั้นหิมะและรูปแกะสลักน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทศกาลฯ ถูกสรรค์สร้างโดยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น

เดือนมิถุนายน ของทุกปี จะมีเทศกาลโยซาโกอิโซรัง จัดขึ้นภายในใจกลางสวนสาธารณะโอโดริและถนนสู่ซูซูกิโนะ ภายในเทศกาลนี้จะมีทีมนักเต้นรำจำนวนมากที่สวมเครื่องแต่งกายแบบพิเศษเต้นรำไปกับทำนองเพลงแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นคือโซรัมบูชิ ในปี ค.ศ. 2006 เทศกาลนี้มีทีมเข้าร่วมกว่า 350 ทีมด้วยจำนวนนักเต้นรำกว่า 45,000 คน

การคมนาคม

ขนส่งในเมือง
รถไฟ
อากาศ

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

ข้อมูลเพิ่มเติม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.