ในวิชาดาราศาสตร์ การจัดประเภทของดาวฤกษ์ คือระบบการจัดกลุ่มดาวฤกษ์โดยพิจารณาจากอุณหภูมิพื้นผิวของดาวและคุณลักษณะทางสเปกตรัมที่เกี่ยวข้อง และอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ติดตามมาก็ได้ อุณหภูมิยังผลของดาวฤกษ์หาได้จาก กฎการกระจัดของวีน แต่วิธีการนี้ทำได้ค่อนข้างยากสำหรับดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปมาก ๆ สเปกโทรสโกปีของดาวทำให้เราสามารถจัดประเภทดาวได้จากแถบการดูดกลืนแสง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะในช่วงอุณหภูมิเฉพาะเจาะจงช่วงหนึ่ง การจัดประเภทของดาวฤกษ์แบบดั้งเดิมมีการจัดระดับตั้งแต่ A ถึง Q ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดรหัสสเปกตรัมในปัจจุบัน

การจัดระดับของเซคคิ

ระหว่างช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 ถึง 1870 นักวิชาการด้านสเปกโตรสโกปีของดาวฤกษ์ยุคแรก ๆ ชื่อ คุณพ่อแองเจโล เซคคิ ได้คิดค้นระบบจัดประเภทของดาวเคราะห์แบบเซคคิขึ้นเพื่อช่วยแบ่งประเภทสเปกตรัมที่ได้จากการสังเกต ปี ค.ศ. 1866 เขาได้พัฒนาระบบจัดแบ่งสเปกตรัมออกเป็น 3 ระดับ:[1][2][3] ดังนี้

  • Class I: สำหรับดาวฤกษ์สีขาวและสีน้ำเงินซึ่งมีแถบไฮโดรเจนค่อนข้างเข้ม เช่นดาวเวกา และดาวตานกอินทรี การจัดระดับนี้กินความรวมการจัดระดับสมัยใหม่ทั้งแบบคลาส A และคลาส F ในช่วงต้น
    Class I, Orion subtype: เป็นประเภทย่อยของคลาส I ซึ่งมีแถบค่อนข้างแคบแทนที่จะเป็นแถบกว้าง เช่นดาวไรเจล และ ดาวเบลลาทริกซ์ สำหรับการจัดระดับสมัยใหม่ ประเภทนี้จะสอดคล้องกับดาวฤกษ์คลาส B
  • Class II: สำหรับดาวฤกษ์สีเหลืองที่มีความเข้มข้นของไฮโดรเจนน้อยกว่า แต่มีแถบความเป็นโลหะเด่นชัด เช่นดวงอาทิตย์, ดาวอาร์คตุรุส และดาวคาเพลลา เทียบกับการจัดระดับสมัยใหม่จะได้ประมาณคลาส G รวมไปถึงคลาส K และคลาส F ในช่วงปลาย ๆ
  • Class III: สำหรับดาวฤกษ์สีส้มจนถึงสีแดงที่มีแถบสเปกตรัมค่อนข้างซับซ้อน เช่นดาวบีเทลจุส และดาวปาริชาต เทียบกับการจัดระดับสมัยใหม่ได้เท่ากับคลาส M

เซคคิได้ค้นพบดาวคาร์บอนในปี ค.ศ. 1868 เขาจัดดาวประเภทนี้แยกไว้เป็นประเภทต่างหาก[4] คือ

  • Class IV: สำหรับดาวฤกษ์สีแดงที่มีแถบคาร์บอนอย่างโดดเด่น

เมื่อถึงปี ค.ศ. 1877 เขาได้เพิ่มการจัดระดับอีกหนึ่งระดับ[5] คือ

ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1890 การจัดระดับแบบนี้เสื่อมความนิยมลงไป การจัดระดับของฮาร์วาร์ดเริ่มเข้ามาแทนที่ ซึ่งปรากฏในหัวข้อถัดไป [6][7]

การจัดระดับของฮาร์วาร์ด

การจัดระดับดาวฤกษ์ของฮาร์วาร์ดเป็นรูปแบบการจัดหนึ่งมิติ แต่ละระดับจะบ่งชี้ถึงอุณหภูมิบรรยากาศของดาวฤกษ์โดยเรียงลำดับจากดาวที่ร้อนที่สุดไปยังดาวที่เย็นที่สุด ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ (โดยเปรียบเทียบมวล รัศมี และความส่องสว่างของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์)

ข้อมูลเพิ่มเติม ระดับ, อุณหภูมิ ...
ระดับ อุณหภูมิ สีพื้นฐาน สีที่ปรากฏ[8][9] มวล
(มวลดวงอาทิตย์)
รัศมี
(รัศมีดวงอาทิตย์)
ความส่องสว่าง แถบไฮโดรเจน  % ของดาวฤกษ์แถบหลักทั้งหมด[10]
O 30,000–60,000 K น้ำเงิน น้ำเงิน 64 M 16 R 1,400,000 L อ่อน ~0.00003%
B 10,000–30,000 K น้ำเงิน ถึงน้ำเงินขาว น้ำเงินขาว 18 M 7 R 20,000 L ปานกลาง 0.13%
A 7,500–10,000 K ขาว ขาว 3.1 M 2.1 R 40 L เข้ม 0.6%
F 6,000–7,500 K ขาวออกเหลือง ขาว 1.7 M 1.4 R 6 L ปานกลาง 3%
G 5,000–6,000 K เหลือง ขาวออกเหลือง 1.1 M 1.1 R 1.2 L อ่อน 7.6%
K 3,500–5,000 K ส้ม เหลืองส้ม 0.8 M 0.9 R 0.4 L อ่อนมาก 12.1%
M 2,000–3,500 K แดง ส้มแดง 0.4 M 0.5 R 0.04 L อ่อนมาก 76.45%
ปิด

การจัดระดับของเยอร์เกส

ชนิดของสเปกตรัม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.