กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์ (solar luminosity, L) เป็นหน่วยวัดกำลังส่องสว่างหรือฟลักซ์การแผ่รังสี (พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปโปรตอน) ถูกใช้โดยนักดาราศาสตร์เพื่อวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ค่าดังกล่าวมีค่าเท่ากับค่ากำลังส่องสว่างของดวงอาทิตย์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.839 × 1026 วัตต์ หรือ 3.839 × 1033 เอิร์ก/วินาที[2] ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.939 × 1026 วัตต์ (เท่ากับ 4.382 × 109 กิโลกรัม/วินาที) ถ้ารังสีนิวตริโนดวงอาทิตย์ถูกคิดรวมเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า[3] ดวงอาทิตย์เป็นดาวแปรแสงอย่างอ่อน ดังนั้น ความสว่างของมันจึงมีความผันผวน ความผันแปรที่โดดเด่น คือ วัฏจักรสุริยะ (วัฏจักรจุดดับบนดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดความผันแปรตามเวลาราว ±0.1% ตัวแปรอื่น ๆ ตลอดช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่านี้มาก[3]

Thumb
พัฒนาการของกำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์ โดยเทียบรัศมีและอุณหภูมิยังผลกับดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน[1]

การคำนวณ

กำลังส่องสว่างดวงอาทิตย์มีความเกี่ยวข้องกับความรับอาบรังสี ซึ่งถูกตรวจวัดที่โลกหรือดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ค่ากลางของความรับอาบรังสีที่ระดับบนสุดของชั้นบรรยากาศของโลก บางครั้งเรียกว่า ค่าคงที่สุริยะ () ความรับอาบรังสีจำกัดความว่าเป็นพลังงานต่อหน่วยพื้นที่ ดังนั้น ความสว่างดวงอาทิตย์ (พลังงานทั้งหมดที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์) จึงมีค่าเท่ากับความรับอาบรังสีที่โลกได้รับ (ค่าคงที่สุริยะ) คูณกับพื้นที่ของทรงกลมซึ่งมีรัศมีเท่ากับระยะห่างโดยเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์:

เมื่อ A คือ หน่วยระยะทาง (ค่าทางหน่วยดาราศาสตร์เป็นเมตร) และ k เป็นค่าคงที่ (ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ 1) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่าระยะห่างโดยเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์ไม่เท่ากับ 1 หน่วยดาราศาสตร์

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.