เมนต์มอร์ทาวเวอส์ (อังกฤษ: Mentmore Towers) เป็นคฤหาสน์ชนบทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมนต์มอร์ในบักกิงแฮมเชอร์ในสหราชอาณาจักร "เมนต์มอร์ทาวเวอส์" ก่อสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปีค.ศ. 1852 ถึงปี ค.ศ. 1854 เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูเรอแนซ็องส์ ที่สร้างให้แก่บารอนเมเยอร์ อัมเชล เดอ รอทไชลด์ โดยมีโจเซฟ แพกซ์ตัน[1]เป็นสถาปนิก

ข้อมูลเบื้องต้น เมนต์มอร์ทาวเวอส์, ประเภท ...
เมนต์มอร์ทาวเวอส์
เมนต์มอร์ทาวเวอส์
ประเภทฟื้นฟูเรอแนซ็องส์
พื้นที่เมนต์มอร์, บักกิงแฮมเชอร์ สหราชอาณาจักร
ข้อมูล
เจ้าของบารอนเมเยอร์ อัมเชล เดอ รอทไชลด์
ประวัติศาสตร์
สร้างค.ศ. 1852 - ค.ศ. 1854
สถาปนิกโจเซฟ แพกซ์ตัน
ปิด

ชื่อคฤหาสน์มาจากชื่อหมู่บ้านที่คฤหาสน์ตั้งอยู่และเพราะมียอดและหอตกแต่งมากมาย มักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า "เมนต์มอร์" โดยผู้พำนักอยู่ในบริเวณนั้นและผู้ที่ทำงานให้กับคฤหาสน์เช่นเดียวกับทริงพาร์ก (Tring Park) ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก เฮนรี พริมโรส เอิร์ลแห่งโรสบรีที่ 6 เจ้าของเดิมคนหนึ่งของเมนต์มอร์เปรยว่าชื่อคฤหาสน์ฟังแล้วเหมือนบ้านให้เช่าห้องถูก ๆ เมนต์มอร์ทาวเวอส์อยู่ในข่ายสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ 1

สมัยรอทไชลด์

เมนต์มอร์ทาวเวอส์สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1852 ถึงปี ค.ศ. 1854 สำหรับบารอนเมเยอร์ อัมเชล เดอ รอทไชลด์ ผู้ต้องการจะมีบ้านใกล้ลอนดอน ต่อมาตระกูลรอทไชลด์ก็สร้างคฤหาสน์ที่ทริงในฮาร์ตฟอร์ตเชอร์, แอสค็อต, แอสตันคลินตัน, แวดเดสดอน และฮาลตัน (Halton House)[2] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1846 บารอนเมเยอร์ก็ค่อย ๆ กว้านซื้อที่ดินในบริเวณนั้น[3] แต่ก็ไม่ได้ซื้อเมนต์มอร์จนกระทั่งปี ค.ศ. 1850 เป็นจำนวน 12,400 ปอนด์จากผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของตระกูลฮาร์คอร์ท

ผังการสร้างคฤหาสน์ที่เริ่มในปี ค.ศ. 1852 เลียนแบบคฤหาสน์วอลลาตันฮอลล์ (Wollaton Hall) ในนอตทิงแฮม ที่เขียนโดยสถาปนิกโจเซฟ แพกซ์ตันผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนแบบเรือนแก้ว (the Crystal Palace)

คฤหาสน์เดิมที่ด้านหน้าเป็นแบบจอร์เจียที่สร้างโดยตระกูลวิกก์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลายเป็น "เรือนสวน" (Garden House) ที่ใช้เป็นที่พำนักของหัวหน้าคนสวนของรอทไชลด์ ต่อมาเป็นสำนักงานทรัพย์สิน ในปี ค.ศ. 2004 ก็เปลี่ยนกลับไปเป็นคฤหาสน์มาเนอร์ของหมู่บ้าน

สมัยโรสบรี

หลังจากเมนต์มอร์ทาวเวอส์สร้างเสร็จได้ไม่นานบารอนและภรรยาก็มีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน หลังจากบารอนเนสสิ้นชีวิตแล้วคฤหาสน์ก็ตกไปเป็นของลูกสาว--ฮันนาห์ พริมโรส เคานเทสแห่งโรสบรี[4] เมื่อฮันนาห์สิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 1890 เมื่ออายุเพียง 39 ปีจากไตอักเสบ (Bright's Disease หรือที่เรียกว่า Nephritis ในปัจจุบัน) เมนต์มอร์ทาวเวอส์จึงตกไปเป็นของสามีอาร์ชิบอลด์ พริมโรส เอิร์ลแห่งโรสบรีที่ 5 ผู้ต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่สองปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1894[4] ในคริสต์ทศวรรษ 1920 อาร์ชิบอลด์ก็มอบคฤหาสน์ให้ลูกชายs the fifth earl gave the estate to his son แฮรี ผู้กลายมาเป็นเอิร์ลแห่งโรสบรีคนที่หกหลังจากที่บิดาเสียชีวิต[4]

เอิร์ลทั้งพ่อและลูกเป็นนักผสมพันธุ์ม้าแข่งที่มีโรงเลี้ยงม้าสำหรับผสมพันธุ์สองแห่ง รวมทั้งม้าที่ได้รับชัยชนะในการแข่งขันเอ็พซอมดาร์บี (Epsom Derby) ห้าตัว โรงม้าอยู่ห่างจากตัวคฤหาสน์เพียงไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร และออกแบบโดยสถาปนิกจอร์จ เดวีย์ (George Devey) ผู้ออกแบบกระท่อมอีกหลายหลังภายในหมู่บ้านเมนต์มอร์, หมู่บ้านคราฟตัน และหมู่บ้านเล็ดเบิร์นของคฤหาสน์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทางรัฐบาลก็ย้ายราชรถม้าหลวง (Gold State Coach) มาเก็บไว้ที่เมนต์มอร์เพื่อป้องกันจากการถูกทำลายโดยลูกระเบิด

Thumb
The staircase (7), view to the Grand Hall (1).

หลังจากเอิร์ลแห่งโรสบรีที่ 6 เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1973 รัฐบาลพรรคกรรมกรที่นำโดยเจมส์ คัลลาฮานไม่ยอมรับข้อเสนอในการรับสิ่งของภายในคฤหาสน์แทนการจ่ายภาษีมรดกเป็นตัวเงิน ซึ่งถ้ารับคฤหาสน์ก็จะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่งานสะสมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเครื่องเรือนแบบยุโรป, งานศิลปะ (objets d'art) และงานสถาปัตยกรรมของสมัยวิคตอเรีย ทางฝ่ายคฤหาสน์เสนอขายบ้านและทรัพย์สินภายในให้แก่รัฐบาลเป็นจำนวน 2,000,000 ปอนด์แต่รัฐบาลไม่ตกลงหลังจากการเจรจาต่อรองกันอยู่สามปี หลังจากนั้นผู้จัดการมรดกจึงประมูลขายทรัพย์สินภายในคฤหาสน์ได้เป็นจำนวนกว่า 6,000,000 ปอนด์ ในบรรดางานจิตรกรรมที่ขายไปก็ได้แก่งานของทอมัส เกนส์เบรอ, โจชัว เรย์โนลด์ส, ฟร็องซัว บูเช, โจวันนี บัตติสตา โมโรนี (Giovanni Battista Moroni) และจิตรกรคนสำคัญ ๆ อื่น ๆ และงานเฟอร์นิเจอร์โดยช่างผู้มีชื่อเสียงที่รวมทั้งฌ็อง อ็องรี รีเซอเนอร์ (Jean Henri Riesener) และทอมัส ชิปเพนเดล (Thomas Chippendale) นอกจากงานจิตรกรรมแล้วก็ยังมีงานของช่างทองฝีมือดีจากเยอรมนีและรัสเซีย และงานเครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงของลีมอฌ (Limoges) กล่าวกันว่างานสะสมของรอทไชลด์/เมนต์มอร์ถือกันว่าเป็นงานสะสมส่วนบุคคลที่มีคุณค่าดีที่สุดนอกไปจากงานสะสมของรัสเซียและราชสำนักอังกฤษ[5]

ตัวบ้านเปล่า ๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่สร้างมาขายในปี ค.ศ. 1977 เป็นจำนวนเงิน 220,000 ปอนด์แก่ขบวนการธรรมสมาธิ[6] (Transcendental Meditation movement) ที่ก่อตั้งโดยมหาริชี มเหช โยคี[7] (Maharishi Mahesh Yogi) ในปี ค.ศ. 1992 ขบวนการนี้ก็ยกฐานะให้เมนต์มอร์เป็นสำนักงานกลางของแขนงการเมืองของลัทธิที่เรียกว่า "พรรคกฎธรรมชาติ" (Natural Law Party)

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ถึงปี ค.ศ. 1979 เมนต์มอร์ก็เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลางของขบวนการธรรมสมาธิ ที่ใช้ในการประชุมหรือสัมนนา หรือการศึกษาระยะยาวเกี่ยวกับธรรมสมาธิและ ในการประชุมเกี่ยวกับการแสดงหาความสันติสุขแก่โลก เมื่อต้นปี ค.ศ. 1979 มหาริชี มเหช โยคีก็นำชายหนุ่มราวร้อยคนและครูที่สอนการทำธรรมสมาธิไปยังคฤหาสน์เพื่อให้เป็นการมีโครงการธรรมสมาธิเป็นการต่อเนื่อง เมนต์มอร์เป็นที่ตั้งของ "รัฐบาลโลกเพื่อยุคแห่งการเรืองปัญญา" (World Government for the Age of Enlightenment) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1975 และใช้เป็นที่ริเริ่มรัฐสภาเมือง (City Parliaments) สำหรับเมืองใหญ่ ๆ ในสหราชอาณาจักร ในช่วงสามปีระหว่างปี ค.ศ. 1979 จนถึงปี ค.ศ. 1982) เมนต์มอร์เป็นที่ที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายที่รวมทั้งงานเลี้ยงเพื่อชวนเชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา, รัฐบาล หรือนักธุรกิจให้เข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนั้นก็มีการก่อตั้งห้องทดลองต่าง ๆ ในปีกคนรับใช้เพื่อใช้ในการค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมสมาธิ ที่บริหารในชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาริชีแห่งการค้นคว้าแห่งยุโรป" (Maharishi European Research University) หรือ MERU หลังจากที่สถาบันชื่อเดียวกันได้รับก่อตั้งขึ้นในสวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นก็มีการจัดการสัมนากันขึ้นหลายครั้งเพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นให้สถาบันการศึกษาหันมาสนใจในการค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมสมาธิ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ในปี ค.ศ. 1982 เมนต์มอร์ก็กลายเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาริชีแห่งกฎธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1992 บทบาทของเมนต์มอร์ก็เปลี่ยนไปอีกครั้งนี้กลายเป็นสำนักงานกลางของพรรคกฎธรรมชาติซึ่งมีผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นตัวแทนของพรรคกว่า 300 คนในปีการเลือกตั้งนั้น

ขบวนการธรรมสมาธิหารายได้จากการสัมนาและอื่น ๆ เช่นการจัดคอนเซิร์ต แต่หลังจากปี ค.ศ. 1982 แล้วจำนวนสมาชิกก็ลดน้อยลงตามลำดับจนเหลือเพียงราวสามสิบคนก่อนที่เมนต์มอร์จะถูกขายต่อไป

อนาคต

Thumb
บันไดหินอ่อน

ในปี ค.ศ. 1997 เมนต์มอร์ทาวเวอส์ก็ได้รับการขายให้แก่บริษัทที่เป็นของไซมอน ฮาลาบี (Simon Halabi) และเปลี่ยนชื่อไปเป็นบริษัทเมนต์มอร์ทาวเวอส์จำกัด โดยมีแผนที่จะบูรณปฏิสังขรณ์และทำเป็นโรงแรมชั้นสูงที่มีห้องชุด 101 ห้องและรวมทั้งอีก 62 ในปีกใหม่ต่ำลงมาบนเนินจากตัวบ้านเดิม[8] แต่ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 ผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้รับชัยชนะในการระงับการก่อสร้างโดยคำสั่งห้าม (injunction) ของศาลยุติธรรมสูงสุด (High Court of Justice) ระหว่างการพิจารณาสืบสวนว่าการก่อสร้างเป็นไปตามใบอนุญาตการก่อสร้าง (planning permission) อย่างถูกต้องหรือไม่ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 ศาลยุติธรรมสูงสุดก็ตัดสินเข้าข้างผู้ก่อสร้างโรงแรม แต่กิจการการก่อสร้างของไซมอน ฮาลาบีอยู่ในสภาวะที่ไม่ไคร่ดีนักเพราะการล่มของตลาดการก่อสร้างและโครงการก็ดูเหมือนจะยุติลง สถาบันอนุรักษ์อังกฤษลงทะเบียนเมนต์มอร์ทาวเวอส์ในทะเบียนทรัพย์ที่อยู่ในอันตราย (Risk register) และต้องการการซ่อมแซมอย่างรีบด่วนบนหลังคาและปล่องไฟ นอกจากนั้นก็ยังมีความกังวลกันว่าสภาวะอากาศอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่ภายในตัวอาคารที่เป็นงานการตกแต่งที่ดีที่สุดของการออกแบบการตกแต่งภายในและงานฝีมือของสมัยวิคตอเรีย

ฉากภาพยนตร์

เมนต์มอร์ทาวเวอส์ใช้เป็นฉากในการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่องเช่น "Eyes Wide Shut", "Ali G Indahouse", "Johnny English" "บราซิล", "เดอะ มัมมี่ รีเทิร์น" และ "แบทแมน บีกินส์" สไปซ์ เกิร์ลสใช้ในการถ่ายวิดีโอ "Goodbye" และ เอนยา ในการถ่ายวิดีโอ "Only If..."

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.