อู่ฮั่น (จีนตัวย่อ: 武汉; จีนตัวเต็ม: 武漢) เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน[16] เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในมณฑล มีประชากรกว่า 11 ล้านคน ทำให้เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในภาคกลางของประเทศจีน[17] และเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในนครศูนย์กลางแห่งชาติทั้งเก้าแห่งของประเทศจีน[18]
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อู่ฮั่น 武汉市 | |
---|---|
ตามเข็มจากบน: ทิวนครอู่ฮั่นจากสะพานอู่ฮั่นแยงซี, หอโทรทัศน์เขาเต่า, ทางถนนบนทะเลสาบตะวันออก, วัดกุยหยวน, หอคอยกระเรียนเหลือง | |
สมญา: | |
คำขวัญ: 武汉, 每天不一样 ("อู่ฮั่น ทุกวันไม่เหมือนกัน") | |
ที่ตั้งของนครอู่ฮั่นในมณฑลหูเป่ย์ | |
พิกัด: 30°35′14″N 114°17′17″E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | หูเป่ย์ |
ตั้งถิ่นฐาน | 1,500 ปีก่อนคริสตกาล |
รวมเป็นเมืองเดียว | 1 มกราคม ค.ศ. 1927[6] |
เขตการปกครอง[6][7] ระดับอำเภอ ระดับตำบล | 13 เขต 156 แขวง, 1 เมือง, 3 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | Ma Guoqiang |
• ผู้ว่าการนคร | Zhou Xianwang (周先旺)[8] |
พื้นที่[9] | |
• ทั้งจังหวัด | 8,494.41 ตร.กม. (3,279.71 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[10] | 1,528 ตร.กม. (590 ตร.ไมล์) |
ความสูง[ต้องการอ้างอิง] | 37 เมตร (121 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2018) | |
• ทั้งจังหวัด | 11,081,000[11] คน |
• เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[10] | 8,896,900[11] คน |
• รวมปริมณฑล[12] | 19 ล้าน คน |
• เชื้อชาติส่วนใหญ่ | ชาวฮั่น |
• ภาษา | ภาษาอู่ฮั่น, ภาษาจีนมาตรฐาน |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 430000–430400 |
รหัสพื้นที่ | 0027 |
รหัส ISO 3166 | CN-HB-01 |
จีดีพี (ค.ศ. 2018)[13] | 2018 |
• รวม | 1.485 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 8) |
• ต่อหัว | 138,759 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 11) |
• ความเติบโต | 8% (ค.ศ. 2018) |
ต้นไม้ประจำนคร | Metasequoia[14] |
ดอกไม้ประจำนคร | Prunus mume[15] |
ป้ายทะเบียนรถ | 鄂A 鄂O (ตำรวจและหน่วยงานรัฐ) |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อ "อู่ฮั่น" มาจากการรวมกันของเมืองในประวัติศาสตร์ ได้แก่ เมืองอู่ชาง ฮั่นโข่ว และฮั่นหยาง ซึ่งทั้งสามเมืองรู้จักกันในชื่อ "เมืองทั้งสามของอู่ฮั่น" (武汉三镇) นครอู่ฮั่นตั้งอยู่ในทางตะวันออกของที่ราบเจียงฮั่น ซึ่งเป็นที่บรรจบของแม่น้ำแยงซี กับลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำแยงซีซึ่งก็คือแม่น้ำฮั่น และนครอู่ฮั่นรู้จักกันในชื่อ "ทางสู่มณฑลทั้งเก้า" (九省通衢)[1]
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในอู่ฮั่น เช่น การก่อการกำเริบอู่ชาง ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ชิงและการสถาปนาสาธารณรัฐจีน[19] อู่ฮั่นเป็นเมืองหลวงของประเทศจีนเป็นเวลาสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1927 ภายใต้ฝ่ายซ้ายของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ที่นำโดยวาง จิงเว่ย[20] ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองหลวงในยามสงครามของจีนเป็นเวลาสิบเดือน[21][22] ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วถูกพบในนครอู่ฮั่นเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019[23][24]
ทุกวันนี้อู่ฮั่นถือเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน การค้า วัฒนธรรม และการศึกษา ของภาคกลางของประเทศจีน[17] เป็นศูนย์กลางการขนส่งขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยทางรถไฟ ถนน และทางด่วนจำนวนมากที่ผ่านตัวเมืองและเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่อื่น ๆ[25] เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการขนส่งภายในประเทศ ทำให้บางครั้งอู่ฮั่นถูกเรียกว่า "ชิคาโกของจีน" ในแหล่งข้อมูลต่างประเทศ[3][4][5] "แม่น้ำสายทองคำ" อย่างแม่น้ำแยงซี และลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดซึ่งก็คือแม่น้ำฮั่น ไหลผ่านตัวเมืองและแบ่งอู่ฮั่นออกเป็น 3 เขต ได้แก่ อู่ชาง ฮั่นโข่ว และฮั่นหยาง มีสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีภายในตัวเมือง และห่างออกไปทางตะวันตกของมณฑลหูเป่ย์ จะมีเขื่อนซานเสียต้าป้า ซึ่งเป็นสถานีพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของกำลังผลิตติดตั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง
ในปัจจุบัน นครอู่ฮั่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 เขต[26] ตามข้อมูลจากสำมะโนประชากรครั้งที่ 6 ของจีนในปี ค.ศ. 2010 ทั้ง 13 เขตนี้ประกอบด้วยเขตการปกครองระดับตำบล 160 แห่ง เป็นแขวง 156 แห่ง เมือง 3 แห่ง และตำบล 1 แห่ง[6][7]
แผนที่ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1
3
เขตฮั่นหยาง
เขตอู่ชาง
เขตชิงชาน
เขตหงชาน
เขตตงซีหู
เขตฮั่นหนาน
เขตไช่เตี้ยน
เขตเจียงเซี่ย
เขตฮฺหวางผี
เขตซินโจว
เขตในฮั่นโข่ว
1. เขตเจียงอ้าน
2. เขตเจียงฮั่น
3. เขตเฉียวโข่ว
| |||||||||||||||||
เขต | ภาษาจีน (ตัวย่อ) | พินอิน | ประชากร (สำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010)[27][6][7] |
พื้นที่ (ตร.กม.)[9] | ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) | ||||||||||||
เขตในตัวเมือง | 6,434,373 | 888.42 | 7,242 | ||||||||||||||
เขตเจียงอ้าน | 江岸区 | Jiāng'àn Qū | 895,635 | 64.24 | 13,942 | ||||||||||||
เขตเจียงฮั่น | 江汉区 | Jiānghàn Qū | 683,492 | 33.43 | 20,445 | ||||||||||||
เขตเฉียวโข่ว | 硚口区 | Qiáokǒu Qū | 828,644 | 46.39 | 17,863 | ||||||||||||
เขตฮั่นหยาง | 汉阳区 | Hànyáng Qū | 792,183[28] | 108.34 | 7,312 | ||||||||||||
เขตอู่ชาง | 武昌区 | Wǔchāng Qū | 1,199,127 | 87.42 | 13,717 | ||||||||||||
เขตชิงชาน | 青山区 | Qīngshān Qū | 485,375 | 68.40 | 7,096 | ||||||||||||
เขตหงชาน | 洪山区 | Hóngshān Qū | 1,549,917[29] | 480.20 | 3,228 | ||||||||||||
เขตในชานเมืองและชนบท | 3,346,271 | 7,605.99 | 440 | ||||||||||||||
เขตตงซีหู | 东西湖区 | Dōngxīhú Qū | 451,880 | 439.19 | 1,029 | ||||||||||||
เขตฮั่นหนาน | 汉南区 | Hànnán Qū | 114,970 | 287.70 | 400 | ||||||||||||
เขตไช่เตี้ยน | 蔡甸区 | Càidiàn Qū | 410,888 | 1,108.10 | 371 | ||||||||||||
เขตเจียงเซี่ย | 江夏区 | Jiāngxià Qū | 644,835 | 2,010.00 | 321 | ||||||||||||
เขตฮฺหวางผี | 黄陂区 | Huángpí Qū | 874,938 | 2,261.00 | 387 | ||||||||||||
เขตซินโจว | 新洲区 | Xīnzhōu Qū | 848,760 | 1,500.00 | 566 | ||||||||||||
พื้นที่น้ำ (水上地区) | 4,748 | - | - | ||||||||||||||
รวม | 9,785,392 | 8,494.41 | 1,152 |
การขนส่ง
ทางรถไฟ
กลุ่มรถไฟจีนอู่ฮั่นเป็นบริษัทที่บริหารจัดการศูนย์กลางการขนส่งทางรางของอู่ฮั่น โดยศูนย์กลางนี้ถือเป็นหนึ่งในสี่ศูนย์กลางการขนส่งทางรางที่สำคัญของจีน[30] นครอู่ฮั่นมีสถานีรถไฟหลักสามแห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟฮั่นโข่ว ในเขตฮั่นโข่ว, สถานีรถไฟอู่ชาง ในเขตอู่ชาง, และสถานีรถไฟอู่ฮั่น ในพื้นที่ที่พัฒนาขึ้นใหม่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบตงหู (ทะเลสาบตะวันออก) ในเขตหงชาน
สถานีฮั่นโข่ว (เดิม) เป็นปลายทางของทางรถไฟสายปักกิ่ง–ฮั่นโข่ว ในขณะที่สถานีอู่ชางเป็นปลายทางของทางรถไฟสายกว่างโจว–ฮั่นโข่ว ตั้งแต่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งแรกและเชื่อมทางรถไฟสองสายเข้าด้วยกันเป็นทางรถไฟสายปักกิ่ง–กว่างโจว ทั้งสถานีฮั่นโข่วและอู่ชางมีรถไฟให้บริการไปยังทุกทิศทาง
เมื่อมีการเปิดใช้งานของรถไฟความเร็วสูงสายเหอเฝย์–อู่ฮั่นในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009[31] อู่ฮั่นเริ่มให้บริการรถไฟความเร็วสูงระหว่างเหอเฝย์ หนานจิง และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งปัจจุบันสายไปเซี่ยงไฮ้ให้บริการหลายขบวนต่อวัน ใช้เวลาเดินทางภายใน 6 ชั่วโมง และในต้นปี ค.ศ. 2010 รถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่ออกจากสถานีรถไฟฮั่นโข่ว
ใน ค.ศ. 2006 การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่จำนวน 11 ชานชลา ตั้งอยู่ในชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง โดยสถานีนี้ได้เปิดใช้งานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 เนื่องจากจีนเริ่มเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงสายที่สอง (สายอู่ฮั่น–กว่างโจว) โดยมีตารางวิ่งจากกว่างโจวถึงอู่ฮั่น ถือว่าเป็นรถไฟที่เร็วที่สุดในโลก โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 394 km/h (244.82 mph) ทำให้เวลาเดินทางระหว่างสองเมืองลดลงจากสิบชั่วโมงครึ่งเหลือเพียงสามชั่วโมง และต่อมาได้ต่อขยายไปทางเหนือถึงปักกิ่ง[32]
เมื่อถึงปี ค.ศ. 2011 สถานีรถไฟอู่ฮั่นแห่งใหม่มีรถไฟความเร็วสูงสายอู่ฮั่น–กว่างโจวให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่รถไฟธรรมดาส่วนใหญ่ที่ไปยังจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ยังคงใช้สถานีฮั่นโข่วและอู่ชาง
ท่าเรือ
เส้นขนส่งทางน้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในมณฑลหูเป่ย์ เนื่องจาก มีแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และแม่น้ำฮั่นเจียง เป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำสายหลัก ทั้งนี้เมืองและอำเภอต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย์ยังใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ดังนั้นมณฑลนี้จึงมีการอุตสาหกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของประเทศเมืองท่าต่าง ๆ อาทิ อู่ฮั่น หวงสือ ซาซื่อ อี๋ชัง มีการเปิดเส้นทางติดต่อกับต่างประเทศมานาน โดยมีท่าเรืออู่ฮั่นเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของแม่น้ำฉางเจียงตอนล่าง และเป็นท่าเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เนื่องจากเป็น 1 ใน 8 ท่าเรือที่เปิดใช้ในช่วงจีนปฏิรูปอุตสาหกรรมและเปิดประเทศราวปี 1980 และในปีถัดมาก็เปิดเส้นทางเดินเรือ ขนส่งสินค้าไปฮ่องกง ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ สำหรับแม่น้ำฮั่นเจียงนั้น เป็นเส้นทางติดต่อไปยังถิ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล บนที่ราบเจียงฮั่น โดยมีท่าเรือเซียงฝันและท่าเรือเหล่าเหอโข่ว เป็นท่าเรือที่สำคัญ
สนามบิน
สถิติเมื่อปี 2000 หูเป่ย์มีบริษัทเดินอากาศ 4 แห่ง สนามบินพลเรือน 5 แห่ง สนามบินกองทัพอากาศ 1 แห่ง เปิดเส้นทางบินทั้งในและนอกประเทศ 107 เส้นทาง บินตรงสู่เมืองต่าง ๆ ในประเทศ 57 เมือง สนามบินเทียนเหอที่เมืองอู่ฮั่น ยังเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของประเทศ
- ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ฮั่นเทียนเหอ (Wuhan Tianhe International Airport, จีน: 武汉天河国际机场)
ทางหลวงและทางด่วน
มีทางหลวงสายหลักและทางด่วนหลายสายที่ผ่านอู่ฮั่น ได้แก่
- ทางหลวงจีนหมายเลข 107
- ทางหลวงจีนหมายเลข 316
- ทางหลวงจีนหมายเลข 318
- ทางด่วนจี 42 สายเซี่ยงไฮ้–เฉิงตู
- ทางด่วนจี 0422 สายอู่ฮั่น–เชินเจิ้น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.