วันเดอร์ฟูลทาวน์ หรือ เมืองเหงาซ่อนรัก เป็นภาพยนตร์ความยาว 92 นาที กำกับโดย อาทิตย์ อัสสรัตน์ ออกฉายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2550 ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ [1]

ข้อมูลเบื้องต้น วันเดอร์ฟูลทาวน์, กำกับ ...
วันเดอร์ฟูลทาวน์
Thumb
กำกับอาทิตย์ อัสสรัตน์
เขียนบทอาทิตย์ อัสสรัตน์
อำนวยการสร้างเจตนิพิฐ ธีระกุลชาญยุทธ
โสฬส สุขุม
นักแสดงนำอัญชลี สายสุนทร
ศุภสิทธิ์ แก่นเสน
ดล แย้มบุญยิ่ง
สรวิทย์ พูลสวัสดิ์
ประทีป หานอุดมลาภ
ชาติชัย แซ่อ่อง
ภานุมาศ แซ่แบ้
ปิยะนัฐ ภักดีชาติ
นพพงษ์ แซ่อ่อง
อรุณ อู่สกุล
กำกับภาพหม่อมราชวงศ์อัมพรพล ยุคล
ตัดต่อลี ชาตะเมธีกุล
ดนตรีประกอบKoichi Shimizu
Zai Kuning
ผู้จัดจำหน่ายป๊อปพิคเจอร์ส
วันฉาย15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ความยาว92 นาที
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน
ปิด

เรื่องย่อ

ตะกั่วป่า เมืองเล็กๆ ริมชายฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิเมื่อ พ.ศ. 2547 หลังเวลาผ่านไปสามปี ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว แต่ในตัวอำเภอยังมีบรรยากาศความเศร้าสร้อยแฝงอยู่ทั่วไป

ต้น (ศุภสิทธิ์ แก่นเสน) สถาปนิกหนุ่มจากกรุงเทพ เพิ่งย้ายเข้ามาคุมงานสร้างรีสอร์ตแห่งใหม่ริมชายหาด เขาพักอยู่ที่โรงแรมเก่าแก่ในตัวอำเภอที่มีนา (อัญชลี สายสุนทร) เป็นผู้ดูแลอยู่ ทั้งคู่มีอัธยาศัยต้องใจกันจนพัฒนาเป็นความรัก

ในเช้าวันหลังจากที่ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กัน ต้นก็หายตัวไปอย่างลึกลับ พร้อมกับที่วิทย์ (ดล แย้มบุญยิ่ง) น้องชายคนเดียวของนา เลิกเป็นวัยรุ่นกวนเมือง กลับตัวกลับใจหันมาช่วยพี่สาวดูแลกิจการของครอบครัว ตามที่พ่อแม่ตั้งใจไว้

นักแสดง

  • อัญชลี สายสุนทร รับบทเป็น นา
  • ศุภสิทธิ์ แก่นเสน รับบทเป็น ต้น
  • ดล แย้มบุญยิ่ง รับบทเป็น วิทย์

การเข้าฉาย

ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายแบบจำกัดโรงในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และยังได้รับเชิญให้ไปฉายและเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์หลายเทศกาลทั่วโลก

รายชื่อเทศกาลที่เชิญไปฉายและเข้าประกวด
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 13[2]
  • เทศกาลภาพยนตร์เยรูซาเล็ม ครั้งที่ 25 ได้เข้าฉายในสายผู้กำกับหน้าใหม่(New Directors)[3]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินิวซีแลนด์ 2008 ซึ่งมีเทศกาลย่อยตามเมืองต่างๆหลายเมือง
    • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโอกแลนด์ ครั้งที่ 40 ได้เข้าฉายในสาย New Directions[4]
    • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวลลิงตัน ครั้งที่ 37 ได้เข้าฉายในสาย New Directions[5]
  • เทศกาลภาพยนตร์เอเชียและอาหรับ Osian's Cinefan ครั้งที่ 10 ได้เข้าประกวดในสาย Asian and Arab Competition ซึ่งเป็นสายหลัก
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเยเรวาน Golden Apricot ครั้งที่ 5 ได้เข้าประกวดและรับรางวัล Silver Prize[6]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Era New Horizons ครั้งที่ 8 ที่เมือง Wrocław ประเทศโปแลนด์ ได้เข้าประกวดในสาย New Horizons International Competition[7]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Durban ครั้งที่ 29[8]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมลเบิร์น 2008 ได้เข้าฉายในสาย Neighbourhood watch[9]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติบริสเบน
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาตินอร์เวย์ ที่เมือง Haugesund ได้เข้าฉายในสาย Sidesprang[10]
  • เทศกาลภาพยนตร์สหรัฐ-อาเซียน ครั้งที่ 5[11]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเฮลซิงกิ ครั้งที่ 21 ได้เข้าสายประกวด[12]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ 2008[13]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต ครั้งที่ 27 ได้เข้าฉายในสาย Dragons and Tigers[14]
  • ทเศกาลภาพยนตร์จากแดนใต้ (Film fra Sør) 2008 ที่ออสโล[15]
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวียนนา (Viennale) 2008[16]
  • เทศกาลหนังเซาเปาโล
  • เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2008 ได้เข้าประกวดในสายรางวัลภาพยนตร์เอเชีย-ตะวันออกกลางยอดเยี่ยม[17]

รางวัลและการเข้าชิง

ตัวหนา หมายถึง สาขารางวัลที่ได้รับ

  1. ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วันเดอร์ฟูลทาวน์)
  2. ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  3. ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดล แย้มบุญยิ่ง)
  4. บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  5. กำกับภาพยอดเยี่ยม (หม่อมราชวงศ์อัมพรพล ยุคล)
  6. บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (ทีฆะเดช วัชรธานินท์, อัครริศเฉลิม กัลยาณมิตร - บริษัท เทคนิค คัลเลอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด)
  7. ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Zai Kuning, Koichi Shimizu)
  8. กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (การัณยภาส ขำสิน)
  1. ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (วันเดอร์ฟูลทาวน์)
  2. ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  3. นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (อัญชลี สายสุนทร)
  4. นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (ดล แย้มบุญยิ่ง)
  5. บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  6. กำกับภาพยอดเยี่ยม (หม่อมราชวงศ์อัมพรพล ยุคล)
  7. กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (การัณยภาส ขำสิน)
  8. ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ลี ชาตะเมธีกุล)
  9. ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (Zai Kuning, Koichi Shimizu)
  1. งานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  2. บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี (อาทิตย์ อัสสรัตน์)
  3. ภาพยนตร์ฉายจำกัดโรงแห่งปี (วันเดอร์ฟูลทาวน์)

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.