เขตปกครองตนเองทิเบต หรือ เขตปกครองตนเองซีจ้าง เป็นเขตปกครองตนเองของชาวทิเบต ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเมืองหลวงชื่อ ลาซ่า มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองตนเองนี้ ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและออกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตปกครองตนเองทิเบต | |
---|---|
เขตปกครองตนเอง | |
การถอดเสียงภาษาจีน | |
• อักษรจีน | 西藏自治区 (อักษรย่อ: 藏) |
• พินอิน | Xīzàng Zìzhìqū (อักษรย่อ: XZ / Zàng) |
• ทับศัพท์ | ซีจ้าง จื้อจื้อชวี (อักษรย่อ: จ้าง) |
การถอดเสียงภาษาทิเบต | |
• อักษรทิเบต | བོད་རང་སྐྱོང་ལྗོངས། |
• ระบบไวลี | bod rang skyong ljongs |
• พินอินทิเบต | Poi Ranggyong Jong |
• ทับศัพท์ | เพอรังกยงจง |
แผนที่แสดงที่ตั้งของเขตปกครองตนเองทิเบต | |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ลาซ่า |
เขตการปกครอง | 5 นครระดับจังหวัด, 2 จังหวัด, 6 เขต, 68 อำเภอ, 692 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | อู๋ อิงเจี๋ย (吴英杰) |
• ผู้ว่าราชการ | Che Dalha |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1,228,400 ตร.กม. (474,300 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 2 |
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาเอเวอเรสต์) | 8,848 เมตร (29,029 ฟุต) |
ประชากร (ธันวาคม ค.ศ. 2014)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,180,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 32 |
• ความหนาแน่น | 2.59 คน/ตร.กม. (6.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 33 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ทิเบต - 90% ฮั่น - 8% เหมินป้า - 0.3% หุย - 0.3% อื่น ๆ - 0.2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาทิเบต ภาษาจีนกลาง |
รหัส ISO 3166 | CN-XZ |
GDP (ค.ศ. 2017) | 131 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 31)[3] |
- ต่อหัว | 39,258 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 28) |
HDI (2018) | 0.585[4] ปานกลาง · อันดับที่ 31 |
เว็บไซต์ | www |
พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนที่จีนจะผนวกทิเบตเป็นเขตปกครองตนเอง ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม"
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตปกครองตนเองทิเบตมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ (ประเทศอินเดีย) ในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้ ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐชัมมูและกัศมีร์ (ประเทศอินเดีย) และประเทศปากีสถาน
ประวัติ
ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูงทิเบต มีการไปมาหาสู่กันกับชนชาติฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน เผ่าชนต่าง ๆ ของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็ค่อย ๆ รวมกันเป็นเอกภาพ และกลายเป็นชนชาติทิเบตในปัจจุบัน
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน 300 กว่าปีได้สิ้นสุดลง ขณะเดียวกัน วีรบุรุษซงแจ็นกัมโป ราชวงศ์ยาร์ลุง ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาจักรวรรดิทิเบตอย่างเป็นทางการขึ้นมา และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซ่า ในช่วงปกครองประเทศ พระเจ้าซงแจ็นกัมโปได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของราชวงศ์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่าง ๆ กับราชวงศ์ถังไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงศ์ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองประเทศ และเปลี่ยนอำนาจรัฐหลายครั้ง แต่ทิเบตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางมาโดยตลอดไม่ว่าราชวงศ์ใด
หลังจากราชวงศ์ชิงได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกครองควบคุมทิเบตอย่างใกล้ชิด ทำให้อำนาจการบริหารปกครองของรัฐบาลกลางเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) ราชวงศ์ชิงได้ส่งเสนาบดีไปประจำทิเบต เพื่อเป็นตัวแทนของส่วนกลางกำกับดูแลกิจกรรมบริหารส่วนท้องถิ่นของทิเบต
ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ราชอาณาจักรทิเบตประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน แต่จีนยังมีอิทธิพลต่อการเมืองภายในทิเบตและยังมีอำนาจปกครองทิเบตในคามและอัมโด จนถึง พ.ศ. 2501 จีนบุกเข้าทิเบตและก่อตั้งเขตปกครองพิเศษขึ้น
ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตคือ องค์ทะไลลามะ องค์ปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตปกครองตนเองทิเบตแบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครองระดับจังหวัด ประกอบด้วย 6 นครระดับจังหวัด และ 1 จังหวัด
ภายในนี้ยังแบ่งออกเป็น 74 เขตการปกครองระดับอำเภอ ประกอบด้วย 66 อำเภอ และ 8 เขต
เขตการปกครองของเขตปกครองตนเองทิเบต | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รหัสเขตการปกครอง[5] | ชื่อเขตการปกครอง | พื้นที่ (ตร.กม.)[6] | ประชากรปี 2010[7] | ศูนย์กลางการปกครอง | เขตการปกครองย่อย[8] | |||
เขต | อำเภอ | |||||||
540000 | เขตปกครองตนเองทิเบต | 1,228,400.00 | 3,002,166 | นครลาซ่า | 8 | 66 | ||
540100 | นครลาซ่า | 29,538.90 | 559,423 | เขตเฉิงกวาน | 3 | 5 | ||
540200 | นครซีกาเจ | 182,066.26 | 703,292 | เขตซัมจุมเจ | 1 | 17 | ||
540300 | นครชัมโต | 108,872.30 | 657,505 | เขตข่ารั่ว | 1 | 10 | ||
540400 | นครญิงจี | 113,964.79 | 195,109 | เขตปาอี๋ | 1 | 6 | ||
540500 | นครชานหนาน | 79,287.84 | 328,990 | เขตเนตง | 1 | 11 | ||
540600 | นครนักชู | 391,816.63 | 462,382 | เขตเซ่อหนี | 1 | 10 | ||
542500 | จังหวัดงารี | 296,822.62 | 95,465 | อำเภอการ์ | 7 |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.