Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (อังกฤษ: Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ริชาร์ด ไฟน์แมน | |
---|---|
ริชาร์ด ฟิลิปป์ ไฟน์แมน (1918–1988) | |
เกิด | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 ควีนส์ นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
เสียชีวิต | กุมภาพันธ์ 15, 1988 ปี) ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ | (69
สัญชาติ | ชาวอเมริกัน |
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน |
มีชื่อเสียงจาก | Feynman diagrams Feynman point Feynman–Kac formula Wheeler–Feynman absorber theory Feynman sprinkler Feynman Long Division Puzzles Hellmann–Feynman theorem Feynman slash notation Feynman parametrization Sticky bead argument One-electron universe Quantum cellular automata หนังสือ Cosmos |
รางวัล | รางวัลอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (1954) E. O. Lawrence Award (1962) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (1965) Oersted Medal (1972) National Medal of Science (1979) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์ |
สถาบันที่ทำงาน | โครงการแมนฮัตตัน มหาวิทยาลัยคอร์เนล สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | John Archibald Wheeler |
อาจารย์ที่ปรึกษาอื่น ๆ | Manuel Sandoval Vallarta |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | Al Hibbs George Zweig Giovanni Rossi Lomanitz Thomas Curtright |
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ | Douglas D. Osheroff |
มีอิทธิพลต่อ | John C. Slater |
ได้รับอิทธิพลจาก | Hagen Kleinert Rod Crewther José Leite Lopes |
ลายมือชื่อ | |
หมายเหตุ | |
เขาเป็นบิดาของ คาร์ล ไฟน์แมน และ มิเชล ไฟน์แมน และเป็นพี่ชายของ โจน ไฟน์แมน |
ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟน ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต
ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และชินอิจิโร โทโมนางะ ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่ เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้"
ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่น ๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย
นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.