ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ คือ ซอฟท์แวร์ที่จำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ซึ่งถูกจำกัดสิทธิ์ตามเงื่อนไขการใช้งานที่เจ้าของหรือผู้จัดทำซอฟต์แวร์กำหนด โดยการใช้กลไกของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเครื่องมือในการสงวนสิทธิ์และกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน ซึ่งถ้าหากเงื่อนไขการใช้งานนั้นระบุไม่ให้ใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่อย่างเสรี ก็จะกลายเป็นซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์[1]

ตัวอย่างของซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หรือ อะโดบี โฟโตชอป

คำว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" เป็นคำจำกัดความที่ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายถึงซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี เพื่อ ไว้เรียกเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ผู้อื่นใช้งาน แจกจ่าย และดัดแปลงแก้ไขได้

ในประเทศไทย บางทีจะใช้คำทับศัพท์ว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" หรือมีการใช้คำว่า "ซอฟต์แวร์เอกสิทธิ์เฉพาะ"

ความหมาย

ถ้าดูความหมายตามตัวอักษรแล้ว คำภาษาอังกฤษว่า proprietary software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์) จะหมายถึงซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ (proprietor) - ดังนั้นคำๆ นี้จึงอาจใช้เรียกซอฟต์แวร์ทุกตัวที่ไม่ได้เป็นสาธารณสมบัติ (public domain) ก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม FSF ใช้คำๆ นี้เพื่ออธิบายถึงหัวใจสำคัญขั้นพื้นฐานของซอฟต์แวร์นั้นๆ โดยที่ ซอฟต์แวร์เสรี นั้น ยึดเอาเสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐาน ในขณะที่ proprietary software ยึดเอาผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในตัวซอฟต์แวร์เป็นสำคัญ

คำภาษาอังกฤษว่า "non-free software" (ซอฟต์แวร์ไม่ใช่เสรี) มักจะถูกใช้เพื่อหมายถึง proprietary software เช่นเดียวกัน บางครั้งริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ผู้ก่อตั้งโครงการกนู และมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ก็ใช้คำว่า "user subjugating software" (ซอฟต์แวร์กดขี่ผู้ใช้) ในขณะที่ Eben Moglen ใช้คำว่า "unfree software" (ซอฟต์แวร์ไร้เสรี) ในการสนทนาของเขา โดยปกตินักพัฒนาของ Debian มักจะใช้คำว่า "non-free" (ไม่ใช่เสรี) แต่บางทีพวกเขาก็จะพูดถึงหรือใช้คำว่า "proprietary software" ด้วยเช่นกัน ส่วน Open Source Initiative (องค์กรริเริ่มและส่งเสริมโอเพนซอร์ส) จะนิยมใช้คำว่า "closed source software" (ซอฟต์แวร์ไม่เปิดเผยต้นฉบับ)

โดยมีหลักเกณฑ์ทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงเทคนิคที่จะพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีหรือเป็น proprietary software ดังนี้ ถ้าผู้ถือกรรมสิทธิ์ซอฟต์แวร์ใช้วิธีการทางเทคนิคที่จะขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้แก้ไขซอฟต์แวร์ เช่น การปกปิดรหัสต้นฉบับ (source code) ของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์นั้นก็จะถูกจัดว่าเป็น proprietary software หรือ ถ้าผู้ถือกรรมสิทธิ์ใช้วิธีการทางกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้แจกจ่ายซอฟต์แวร์ทั้งที่เป็นของเดิมหรือที่ถูกปรับแต่งโดยผู้ใช้ นั้นก็จัดว่าเป็น proprietary software เช่นเดียวกัน

ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดทั้งทางกฎหมายหรือทางเทคนิคดังกล่าวข้างต้นนั้น - กล่าวคือผู้ใช้มีอิสระในการใช้งาน ศึกษาการทำงาน ปรับแต่ง และแจกจ่ายซอฟต์แวร์นั้นๆ - ซอฟต์แวร์นั้นจะไม่จัดว่าเป็น proprietary software; และจัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เสรี

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.