สมองกลีบข้าง (อังกฤษ: parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe)
สมองกลีบข้าง (parietal lobe) | |
---|---|
พื้นผิวทางด้านข้างของสมองซีกซ้าย มองจากด้านข้าง (สมองกลีบข้างอยู่ทางด้านขวาบน) | |
รายละเอียด | |
ส่วนหนึ่งของ | ซีรีบรัม |
หลอดเลือดแดง | หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล (Anterior cerebral artery) หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (Middle cerebral artery) |
หลอดเลือดดำ | ซุพีเรียร์ ซาจิตตัล ไซนัส (Superior sagittal sinus) |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | lobus parietalis |
MeSH | D010296 |
นิวโรเนมส์ | 95 |
นิวโรเล็กซ์ ID | birnlex_1148 |
TA98 | A14.1.09.123 |
TA2 | 5467 |
FMA | 61826 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์ |
สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย)
มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย[1] คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกาย[2]
ชื่อของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) มาจากชื่อของกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ที่อยู่เหนือสมอง คำอังกฤษว่า "parietal" นั้นมาจากภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "กำแพง" หรือ "ข้าง"
กายวิภาค
สมองกลีบข้างล้อมรอบด้วยโครงสร้างทางกายวิภาค 4 ส่วน ได้แก่ ร่องกลาง (central sulcus) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบหน้า, parieto-occipital sulcus (ร่องระหว่างสมองกลีบข้างและสมองกลีบท้ายทอย) ที่แบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบท้ายทอย, ร่องด้านข้าง (lateral sulcus) หรือร่องซิลเวียน (sylvian fissure) ซึ่งอยู่ด้านข้างมากที่สุด และแบ่งสมองกลีบข้างจากสมองกลีบขมับ, และ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ที่แบ่งสมองซีกซ้ายจากสมองซีกขวา. ในแต่ละซีกสมอง คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่ของเขตผิวหนังในด้านตรงกันข้ามของร่างกาย (เช่นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายในสมองซีกขวามีแผนที่ของเขตผิวหนังในร่างกายด้านซ้าย)[2]
ทันทีหลังจากร่องกลาง ซึ่งเป็นส่วนหน้าสุดของสมองกลีบข้าง ก็คือ รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) หรือเขตบร็อดแมนน์ 3 เป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary sensory cortex) และร่องหลังร่องกลาง (postcentral sulcus) แบ่งส่วนหน้าของสมองกลีบข้างนี้จากคอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลัง (posterior parietal cortex)
คอร์เทกซ์กลีบข้างด้านหลังสามารถแบ่งออกเป็น
- superior parietal lobule (สมองกลีบข้างย่อยด้านบน ซึ่งก็คือ เขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7)
- inferior parietal lobule (สมองกลีบข้างย่อยด้านล่าง ซึ่งก็คือ เขตบร็อดแมนน์ 39 และ 40)
- กลีบย่อยทั้งสองแบ่งออกจากกันโดย intraparietal sulcus (ร่องภายในสมองกลีบข้าง, ตัวย่อ IPS)
IPS พร้อมกับรอยนูน (gyrus) ที่อยู่ติด ๆ กันยังสามารถแบ่งออกโดยความต่างกันของการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics) และความต่างกันโดยกิจ เป็นส่วนย่อย ๆ คือ ส่วนใน (medial, ตัวย่อ MIP) ส่วนข้าง (lateral, ตัวย่อ LIP) ส่วนล่างหรือส่วนท้อง (ventral, ตัวย่อ VIP) และส่วนหน้า (anterior, ตัวย่อ AIP)
กิจหน้าที่
สมองกลีบข้างมีบทบาทสำคัญในการประสานข้อมูลความรู้สึกมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในความรู้เกี่ยวกับตัวเลขและความสัมพันธ์ของตัวเลข[3] และในการเคลื่อนไหวจัดการวัตถุต่าง ๆ. มีเขตหลายเขตในสมองกลีบข้างที่มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลปริภูมิทางตา ถึงแม้ว่าเราจะรู้ถึงกิจของสมองส่วนนี้ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สมองกลีบข้างนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีเท่ากับสมองกลีบอื่น ๆ ในซีรีบรัม
งานวิจัยต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1990 พบเขตหลายเขตของสมองกลีบหน้าในลิงมาคากที่เป็นแผนที่ของปริภูมิต่าง ๆ
- เขต LIP (lateral intraparietal) มีแผนที่โทโพกราฟิก (topographic map[4]) 2 มิติของปริภูมิ เป็นการเข้ารหัสข้อมูลจากเรตินา แสดงความโดดเด่นและตำแหน่งในปริภูมิของวัตถุ ระบบการสั่งการที่ประสานกับข้อมูลทางตาสามารถใช้แผนที่นี้เพื่อนำการเคลื่อนไหวของตา
- เขต VIP (ventral intraparietal) รับข้อมูลมาจากประสาทต่าง ๆ เช่น ระบบการเห็น ระบบความรู้สึกทางกาย ระบบการได้ยิน และระบบการทรงตัว[5] เซลล์ประสาทที่มีลานรับความสัมผัส รองรับแผนที่ปริภูมิมีศีรษะเป็นศูนย์กลาง[5]. เซลล์ลานรับข้อมูลทางตา ก็รองรับแผนที่ปริภูมิมีศีรษะเป็นศูนย์กลางเช่นกัน[6] แต่ว่า ก็อาจจะมีตาเป็นศูนย์กลางด้วย[5]
- เซลล์ประสาทในเขต MIP (medial intraparietal) เข้ารหัส[7]ตำแหน่งของวัตถุที่จะเอื้อมจับโดยมีตาเป็นศูนย์[8]
- เขต AIP (anterior intraparietal) มีเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อรูปร่าง ขนาด และทิศทางของวัตถุที่จะเอื้อมจับ[9] และต่อการสั่งการเคลื่อนไหวมือทั้งสองด้วย โดยมีปฏิกิริยาต่อทั้งตัวกระตุ้นที่เห็นอยู่จริง ๆ[9] หรือตัวกระตุ้นที่ระลึกจำได้[10]
พยาธิ
- Gerstmann's syndrome มีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้างซีกควบคุม (dominant) ซึ่งมักจะเป็นซีกซ้าย
- Balint's syndrome มีความสัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้างทั้งสองซีก
- ภาวะละเลยข้างเดียว ปกติมีความสัมพันธ์กับความบกพร่องของความใส่ใจอย่างรุนแรงในซีกสมองที่ไม่ใช่เป็นซีกควบคุม (non-dominant)
ภาพอื่น ๆ
- สมองกลีบต่าง ๆ
- ภาพวาดแสดงความสัมพันธ์ของสมองและกะโหลกศีรษะ
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.