Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจาก ออกซิเจน 3 อะตอม เกิดจากการรวมตัวกันของแก๊สออกซิเจน 1 โมเลกุลกับอะตอมออกซิเจนอิสระ 1 อะตอมที่แตกตัวจากแก๊สออกซิเจนโดยการกระตุ้นของรังสีอัลตร้าไวโอเลตซี (UV-C) ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกโดยที่ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ระดับความสูงระหว่าง 10 - 50 กิโลเมตรจากผิวดินเป็นชั้นบรรยากาศที่มีโอโซนหนาแน่นที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นชั้นที่ผลิตแหล่งแก๊สโอโซน โดยชั้นโอโซนดังกล่าวทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี (UV-B) ซึ่งเป็นรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและธรรมชาติหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
Ozone | |||
Systematic IUPAC name
Trioxygen | |||
ชื่ออื่น
2λ4-trioxidiene; catena-trioxygen | |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol) |
|||
ChEBI | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.030.051 | ||
EC Number |
| ||
Gmelin Reference |
1101 | ||
IUPHAR/BPS |
|||
MeSH | Ozone | ||
ผับเคม CID |
|||
RTECS number |
| ||
UNII | |||
CompTox Dashboard (EPA) |
|||
InChI
| |||
SMILES
| |||
คุณสมบัติ | |||
O3 | |||
มวลโมเลกุล | 47.997 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | แก๊สไม่มีสีถึงสีน้ำเงินอ่อน[1] | ||
กลิ่น | ฉุน[1] | ||
ความหนาแน่น | 2.144 g/L (at 0 °C) | ||
จุดหลอมเหลว | −192.2 องศาเซลเซียส; −313.9 องศาฟาเรนไฮต์; 81.0 เคลวิน | ||
จุดเดือด | −112 องศาเซลเซียส; −170 องศาฟาเรนไฮต์; 161 เคลวิน | ||
1.05 g L−1 (at 0 °C) | |||
ความสามารถละลายได้ ใน ตัวทำละลายอื่น ๆ | ละลายได้มากใน CCl4, กรดซัลฟิวริก | ||
ความดันไอ | 55.7 atm[2] (−12.15 องศาเซลเซียส หรือ 10.13 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 261.00 เคลวิน)[lower-alpha 1] | ||
กรด | Protonated ozone | ||
Magnetic susceptibility (χ) |
+6.7·10−6 cm3/mol | ||
ดัชนีหักเหแสง (nD) |
1.2226 (liquid), 1.00052 (gas, STP, 546 nm—note high dispersion)[3] | ||
โครงสร้าง | |||
Space group |
C2v | ||
Coordination geometry |
Digonal | ||
รูปร่างโมเลกุล |
Dihedral | ||
Hybridisation | sp2 for O1 | ||
Dipole moment |
0.53 D | ||
อุณหเคมี | |||
Std molar entropy (S⦵298) |
238.92 J K−1 mol−1 | ||
Std enthalpy of formation (ΔfH⦵298) |
142.67 kJ mol−1 | ||
ความอันตราย | |||
GHS labelling: | |||
Pictograms |
|||
Signal word |
อันตราย | ||
Hazard statements |
H270, H314 | ||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |||
LCLo (lowest published) |
12.6 ppm (mouse, 3 hr) 50 ppm (human, 30 min) 36 ppm (rabbit, 3 hr) 21 ppm (mouse, 3 hr) 21.8 ppm (rat, 3 hr) 24.8 ppm (guinea pig, 3 hr) 4.8 ppm (rat, 4 hr)[4] | ||
NIOSH (US health exposure limits): | |||
PEL (Permissible) |
TWA 0.1 ppm (0.2 mg/m3)[1] | ||
REL (Recommended) |
C 0.1 ppm (0.2 mg/m3)[1] | ||
IDLH (Immediate danger) |
5 ppm[1] | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ Trisulfur Disulfur monoxide Cyclic ozone | ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
แก๊สโอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ ชื่อ วอน มารุม (Van Marum) จากอุปกรณ์จับปริมาณก๊าซ โดยนายมารุมได้กลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์รอบๆ ขั้วผลิตกระแสไฟฟ้าจากอุปกรณ์ชุดทดลองของเขา อย่างไรก็ตาม การค้นพบโอโซนได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี ค.ศ. 1840 คือ คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน โดยเขาตั้งชื่อก๊าซตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น หลังจากนั้น เครื่องผลิตโอโซนเครื่องแรกได้ถูกผลิตโดย วอน ซีเมนต์ (Von Siemens) ในกรุงเบอร์ลิน (Berlin)[3]
โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ
มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น แก๊สโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมแก๊สโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ[5][6] ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า "สูดโอโซน", "รับโอโซน" หรือ "แหล่งโอโซน" เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ บริเวณที่มีโอโซนมากในประเทศไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และย่านถนนสีลมในกรุงเทพมหานคร คำว่าโอโซนที่คนจำนวนมากใช้กันผิด ๆ ก็คือ ไปใช้ในเชิงการสื่อความหมายถึงออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ โดยไม่รู้ความจริงว่าแท้จริงแล้วแก๊สโอโซนมีความเป็นพิษสูงและมีอันตรายต่อสุขภาพ[5][6]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.