Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัทนิสสันมอเตอร์จำกัด (อังกฤษ: Nissan Motor Company Ltd ญี่ปุ่น: 日産自動車株式会社) มักเรียกสั้น ๆ ว่า นิสสัน (/ˈniːsɑːn/ หรือ UK: /ˈnɪsæn/) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิชิกุ เมืองโยโกฮาม่า โดยนิสสันได้จำหน่ายรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อนิสสัน อินฟินิทีและดัตสัน พร้อมกับรถยนต์ที่ถูกปรับแต่งสมรรถนะชื่อว่านิสโม บริษัทนิสสัน ฯ ได้เข้าร่วมกลุ่มบริษัทที่ทรงพลังของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า ไซบัสสึ ในชื่อนิสสันกรุ๊ป
สำนักงานใหญ่นิสสันในโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น | |
ชื่อท้องถิ่น | 日産自動車株式会社 |
---|---|
ชื่อโรมัน | Nissan Jidōsha Kabushiki-gaisha |
ประเภท | สาธารณะ (K.K.) |
การซื้อขาย | |
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
ก่อตั้ง | 26 ธันวาคม 1933 (ภายใต้นิสสันกรุ๊ป)[1][2] |
ผู้ก่อตั้ง |
|
สำนักงานใหญ่ | นิชิกุ โยะโกะฮะมะ, ประเทศญี่ปุ่น (ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในคะนะงะวะ โยะโกะฮะมะ) |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ | ยานยนต์, ยานพาหนะหรู, ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์, เครื่องยนต์เรือ, รถยก |
ผลผลิต | 5,556,241 หน่วย (2016)[4] |
รายได้ | ¥11.38 trillion (FY2014)[5] |
รายได้จากการดำเนินงาน | ¥589.6 พันล้าน (FY2014)[5] |
รายได้สุทธิ | ¥457.6 พันล้าน (FY2014)[5] |
สินทรัพย์ | ¥17.04 ล้านล้าน (FY2014)[5] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | ¥5.07 ล้านล้าน (FY2014)[5] |
พนักงาน | 142,925 (รวมเดือนมีนาคม 2014)[6] |
บริษัทแม่ | เรโนลต์ (หุ้นสามัญ 44.4%) |
แผนก | |
บริษัทในเครือ | รายการ
|
เว็บไซต์ | www |
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 นิสสันเป็นส่วนหนึ่งของเรโนลต์–นิสสัน–มิตซูบิชิอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนระหว่างนิสสันของญี่ปุ่น มิตซูบิชิมอเตอร์สของญี่ปุ่นและเรโนลต์ของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2556 เรโนลต์ถือหุ้นที่สามารถออกเสียงได้ของนิสสัน 43.4% ในขณะที่นิสสันถือหุ้นที่ไม่สามารถออกเสียงได้ของเรโนลต์ 15% จาก พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2560 คาร์ลอส กอนได้ดำรงตำแน่งซีอีโอทั้งสองบริษัท ในเดือนกุมภาพันธ์ กอนได้ประกาศลดขั้นลงจากซีอีโอในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นเพียงตำแหน่งประธานบริษัท[7]
ในปี พ.ศ. 2556 นิสสัน เป็นบริษัทรถยนต์รายใหญ่อันดับที่หกของโลกตามหลังโตโยต้า เจเนอรัลมอเตอร์ส โฟล์คสวาเกนกรุ๊ป ฮุนไดมอเตอร์กรุ๊ป และฟอร์ดมอเตอร์[8] หลังจากที่รวมบริษัทกันแล้วกับเรโนลต์ เรโนลต์–นิสสันจึงเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก โดยนิสสันเป็นแบรนด์รถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่นในประเทศจีน รัสเซียและเม็กซิโก[9]
ในปี พ.ศ. 2557 นิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ[10]
นิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายทั่วโลกกว่า 275,000 คันในช่วงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[11] รถที่ขายดีที่สุดของผู้ผลิตรถยนต์รายนี้คือ นิสสัน ลีฟ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วนและเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มียอดขายสูงที่สุดในโลกในประวัติศาสตร์ มากกว่า 300,000 ขายทั่วโลกเมื่อวันที่มกราคม พ.ศ. 2561[12]
ณ เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 นิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมากกว่า 320,000 คัน[13]
มาสุจิโร ฮาชิโมะโตะ ได้ตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ไคชินชา ซึ่งแปลว่าบริษัทผลิตรถยนต์ที่ดี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ที่ตำบลอะซะบุในโตเกียว เป็นบริษัทผลิตรถยนต์บริษัทแรกของญี่ปุ่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 บริษัทไคชินชาได้ผลิตรถยนต์รุ่นแรกชื่อว่า "ดัต" (DAT)[3][1][2]
ชื่อรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งมาจากอักษรย่อของนามสกุลนักลงทุน:
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ไคชินชามอเตอร์คาร์ จำกัด ใน พ.ศ. 2461 และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น บริษัท ดัต จิโดะชะ จำกัด (บริษัท ดัตมอเตอร์คาร์) ใน พ.ศ. 2468 ดัตมอเตอร์ได้ผลิตรถบรรทุกภายใต้ยี่ห้อดัตและรถยนต์นั่งภายใต้ยี่ห้อดัตสัน และส่วนใหญ่จะผลิตรถบรรทุกเนื่องจากในเวลานั้นไม่ค่อยมีลูกค้านิยมซื้อรถยนต์นั่งและต้องฟื้นฟูผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 รถบรรทุกรุ่นดัตตัวแรกผลิตขึ้นสำหรับตลาดการทหาร ในขณะเดียวกันบริษัท จิสึโยะ จิโดะชะ จำกัด (จิสึโยะ หมายถึงการใช้ประโยชน์หรือสาธารณูปโภค) ได้ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็กที่ใช้ชิ้นส่วนและวัสดุนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา[14]
การค้าถูกระงับในระหว่างการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของญี่ปุ่นและบริษัทได้มีส่วนร่วมกับสงคราม
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นิสสันประกาศว่าจะเลิกจ้างพนักงาน 1,000 คนในประเทศไทย เพื่อลดปริมาณการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ นิสสันยังระบุว่าจะรวมโรงงานผลิตทั้งสองแห่งในจังหวัดสมุทรปราการเข้าเป็นแห่งเดียวภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2568[15] เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567 มีรายงานว่า Stephen Ma ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เตรียมลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งห่างจาก Ashwani Gupta ซึ่งลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในปี พ.ศ. 2566 เป็นเวลา 17 เดือน[16]
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นิสสันได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สำหรับการควบรวมกิจการกับฮอนด้าบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น เพื่อขึ้นเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ตามยอดขาย มิตซูบิชิ มอเตอร์สซึ่งนิสสันถือหุ้นอยู่ 24% ก็ตกลงที่จะเข้าร่วมการเจรจาเช่นกัน[17]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 นิสสันและฮอนด้าได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อร่วมมือกันผลิตส่วนประกอบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและปัญญาประดิษฐ์ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับรถยนต์[18] ในปีถัดมา มีรายงานว่าการเจรจาระหว่างทั้งสองบริษัทมีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น สื่อสำนักต่าง ๆ รายงานว่ากำลังมีการหารือเรื่องการควบรวมกิจการ[19][20]
นิสสันประเทศไทย ก่อตั้งโดยนายถาวร พรประภา ในกลุ่มของสยามกลการ โดยนิสสันไทยได้รับความไว้วางใจจากนิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์นิสสัน นอกประเทศญี่ปุ่นรายแรกของโลก[ต้องการอ้างอิง]
โดยนิสสันประเทศไทย เคยมีสโลแกนที่เรียกกันติดปากว่า "เพื่อนที่แสนดี" ซึ่งเป็นที่คุ้นหูสำหรับนิสสันเมืองไทย
ในปัจจุบัน นิสสันประเทศไทยบริหารในนามบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)จำกัด หรือชื่อเดิม บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด โดยดำเนินธุรกิจจำหน่าย ประกอบรถยนต์นิสสัน ภายใต้การบริหารของนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในสยามนิสสัน
ในโอกาสที่นิสสันครบรอบ 50 ปีในไทย นิสสันได้ผลิตรถยนต์นิสสันในประเทศไทยเป็นคันที่ 1,000,000 โดยคันที่หนึ่งล้านนี้ คือ นิสสัน เซฟิโร่ (A33) นิสสันได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย
นิสสัน ผลิตรถยนต์และรถบรรทุก ตั้งแต่ยุค 1950 โดยนิสสัน ได้ผลิตรถรุ่นแรกๆ คือ แฟร์เลดี้ แซด, สกายไลน์ ฯลฯ
ปัจจุบัน นิสสันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งจำหน่ายอยู่ทั่วโลกกว่า 60 โมเดล ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่นโดยเฉพาะ และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทั่วโลก
โดยนิสสันพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด SHIFT_ โดยเป็นแนวคิดซึ่งใช้กับนิสสันทั่วโลก ทั้งออกแบบโดยเน้นการพัฒนารูปลักษณ์ เทคโนโลยี ความปลอดภัย รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์ของนิสสันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทย โดยเฉพาะรถปิคอัพ โดยรถกระบะรุ่นที่เป็นตำนานอันได้แก่รุ่นบิ๊ก เอ็ม ซึ่งยังเป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้ถึงความทนทาน ส่วนปัจจุบันนี้มีรถกระบะนิสสัน นาวารา 3 รุ่นย่อย คือ LE, SE และ XE ต่อมาเปลี่ยนชื่อรุ่นย่อยเป็น S, SL, E, EL, V และ VL รวมถึงรถยนต์นั่ง นิสสัน ทีด้า ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จำหน่ายแทนที่นิสสัน ซันนี่ ที่จำหน่ายมาแล้วนับทศวรรษและ นิสสัน มาร์ช ซึ่งนำมาจำหน่ายและยกเลิกการจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530(รุ่นที่ 1) และได้นำมาจำหน่ายอีกครั้งในประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ในรุ่นที่ 4
Trail)] เก็บถาวร 2014-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ปี 2012 นิสสันเรียกคืนรถยนต์แฮทช์แบ็ครุ่น "มาร์ช" หรือ "ไมครา" จำนวน 498,793 คันที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาไฟท้าย ซึ่งบางครั้งไม่ติด เป็นข้อบกพร่องผลิตในโรงงานออปปามะใกล้กรุงโตเกียว ที่ผลิตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2545-2552 เช่นเดียวกับโรงงานในเมืองซันเดอร์แลนด์ อังกฤษ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2550 [21]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.