สกุลเสือลายเมฆ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neofelis) เป็นสกุลของเสือ 2 ชนิดเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ: เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) ในเอเชียภาคพื้นทวีป และเสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) ในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว[2][3]

ข้อมูลเบื้องต้น สกุลเสือลายเมฆ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
สกุลเสือลายเมฆ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีนตอนต้นถึงปัจจุบัน
Thumb
เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa)
Thumb
เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กินเนื้อ
Carnivora
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
Feliformia
วงศ์: เสือและแมว
Felidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยเสือใหญ่
Pantherinae
สกุล: สกุลเสือลายเมฆ
Neofelis
Gray, 1867
ชนิดต้นแบบ
Felis macrocelis[1]
ชนิด
Thumb
ขอบเขตของสกุลเสือลายเมฆ
ปิด

โดยคำว่า Neofelis นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า neo- (νέος-) หมายถึง "ใหม่" และภาษาละตินคำว่า fēles หมายถึง "แมว" รวมความแล้วหมายถึง "แมวใหม่"[4][5]

ประวัติทางอนุกรมวิธาน

สกุลนี้ตั้งขึ้นโดย จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ใน ค.ศ. 1867 ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 2 ชนิด คือ Neofelis macrocelis ที่ปรากฏในหิมาลัย, มะละกา และไทย กับNeofelis brachyurus ที่พบในอดีตฟอร์โมซา[6] เรจินัลด์ อินเนส โพค็อกยอมรับการจัดอันดับอนุกรมวิธานของ Neofelis ใน ค.ศ. 1917 แต่ยอมรับเพียงชนิด Neofelis nebulosa กับชนิดย่อยบางส่วน และถือให้ macrocelis เป็นตัวอย่างต้นแบบแรก[7] เป็นเวลาเกือบ 90 ปีที่มีการยอมรับการจัดอันดับ Neofelis ในฐานะสกุลชนิดเดียวอย่างกว้างขวาง[8] ใน ค.ศ. 2006 มีผู้พบว่า Neofelis diardi มีความแตกต่างจากญาติบนพื้นทวีป Neofelis nebulosa และจัดให้เป็นชนิดต่างหาก[2][3]

คุณลักษณะ

ลักษณะเด่นของเสือในสกุลนี้ คือ มีกะโหลกส่วนใบหน้าที่กว้าง หน้าผากมีขนาดใหญ่และจมูกยาว ขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยวที่คมและปลายขอบตัดขวาง ซึ่งกะโหลกลักษณะนี้คล้ายคลึงกับเสือเขี้ยวดาบที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แล้วเสือลายเมฆที่พบในภูมิภาคซุนดามีเขี้ยวบนยาวและมีเพดานปากที่แคบระหว่างเขี้ยวนั้น[9] [10]

โดยรวมแล้ว เสือลายเมฆเป็นเสือขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเล็กกว่าเสือขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของจีน

Thumb
ลักษณะกะโหลกและฟันเขี้ยวของเสือลายเมฆ

การจำแนก

  • เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคจีนตอนกลางและตอนใต้ จนถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่
  • เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) เป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดใหม่ แยกออกมาในปี ค.ศ. 2006 พบได้ในหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย และภูมิภาคซุนดา มีลักษณะเด่น คือ มีฟันเขี้ยวที่ยาวมาก จนนับได้ว่ายาวที่สุดในบรรดาสัตว์ประเภทเสือและแมวทั้งหมด[11]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.