Remove ads

ภาษามองโกเลีย เป็นภาษาทางการของประเทศมองโกเลีย และเป็นภาษาหลักของชาวมองโกเลียส่วนใหญ่ ซึ่งผู้พูดส่วนใหญ่จะพูดสำเนียงฮัลฮ์ (Халх) เป็นมาตรฐานนอกจากนี้ ภาษามองโกเลียก็พูดในพื้นที่รอบนอกในบางมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย ภาษามองโกเลีย เป็นภาษารูปคำติดต่อคล้ายภาษาตุรกีหรือภาษาฟินแลนด์ มีการเติมปัจจัยที่รากศัพท์ ภาษามองโกเลียมีเพียงสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง แต่ไม่มีบุรุษที่สาม แต่ใช้สรรพนามชี้เฉพาะ เช่น นี่ (энэ) นั่น (тэр) นี่ทั้งหลาย (эд нар) และนั่นทั้งหลาย (ted nar) แทน

ข้อมูลเบื้องต้น ภาษามองโกเลีย, ประเทศที่มีการพูด ...
ภาษามองโกเลีย
Монгол (Mongol), ᠮᠣᠨᠭᠭᠣᠯ ᠬᠡᠯᠡ(Mongghol)
ประเทศที่มีการพูดจีน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย และรัสเซีย
ภูมิภาคมองโกเลีย สาธารณรัฐบูเรียตียา (รัสเซีย) อิสซีก-คูล (คีร์กีซสถาน) มณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลิน และมณฑลเฮย์หลงเจียง (จีน)
จำนวนผู้พูด5.7 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อัลไตอิก (เป็นที่โต้แย้ง)
ระบบการเขียนอักษรมองโกเลีย, อักษรซิริลลิก, อักษรพักปา, อักษรชญานวัชระทรงเหลี่ยม, อักษรสวยัมภู
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (จีน) และสาธารณรัฐบูเรียตียา (รัสเซีย)
รหัสภาษา
ISO 639-1mn
ISO 639-2mon
ISO 639-3มีหลากหลาย:
mon  Mongolian (generic)
khk  Halh Mongolian
mvf  Peripheral Mongolian
ปิด
Remove ads

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษามองโกเลียเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมองโกเลีย มีผู้พูดราว 2.5 ล้านคน และยังเป็นภาษาราชการในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในในประเทศจีนที่มีผู้พูดประมาณ 2.7 ล้านคนหรือมากกว่า ยึดสำเนียงชาฮาร์เป็นมาตรฐาน แต่จำนวนผู้พูดภาษานี้ที่แน่นอนในจีนประเมินได้ยาก นอกจากนี้แล้วมีผู้พูดภาษามองโกเลียสำเนียงต่างๆในมณฑลเหลียวหนิง มณฑลจี๋หลิน และมณฑลเฮย์หลงเจียงในบริเวณที่ติดต่อกับมองโกเลียในด้วย

การจัดจำแนกและสำเนียง

ภาษามองโกเลียจัดเป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกล ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนี้รวมทั้งภาษามองโกลคามนิกันและภาษาดากูร์ ที่ใช้พูดทางตะวันออกของมองโกเลียและในซินเจียงอุยกูร์ ภาษาชิรายูกูร์ ภาษาบอนัน ภาษาต้งเซี่ยง ภาษามองเกอร์ และภาษากังเจีย ที่ใช้พูดในบริเวณชิงไห่และกานซู และอาจรวมถึงภาษาโมโฆลที่เป็นภาษาตายไปแล้วในอัฟกานิสถาน เส้นแบ่งระหว่างการเป็นสำเนียงและเป็นภาษาเอกเทศภายในกลุ่มภาษามองโกลยังเป็นที่โต้เถียงกัน

สำเนียงฮัลฮ์ถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษามองโกเลีย แต่การกำหนดสำเนียงย่อยยังมีความเห็นต่างกัน Sanžeev (1953) เสนอว่าภาษามองโกเลียมี 3 สำเนียงคือ ฮัลฮ์ ชาฮาร์ และออร์ดอส ส่วนบูร์ยัตและออยรัตเป็นภาษาเอกเทศ Luvsanvandan (1959) เสนอต่างไปว่าภาษามองโกเลียประกอบไปด้วยกลุ่มสำเนียงกลาง (ฮัลฮ์ ชาฮาร์ ออร์ดอส) กลุ่มสำเนียงตะวันออก (ฮาร์ชิน ฮอร์ชิน) กลุ่มสำเนียงตะวันตก (ออยรัต ฮัลมิก) และกลุ่มสำเนียงเหนือ (ภาษาบูร์ยัตทั้งสองสำเนียง) นักวิชาการตะวันตกบางกลุ่มแยกภาษาออร์ดอสออกมาเป็นภาษาเอกเทศ ในมองโกเลียใน แบ่งภาษามองโกเลียเป็น 3 สำเนียงคือ สำเนียงมองโกเลียใต้ สำเนียงออยรัต และสำเนียงบาร์ฆู-บูร์ยัต

Remove ads

คำยืม

ในสมัยโบราณ ภาษามองโกเลียมีคำยืมจากภาษาเตอร์กิกโบราณ ภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาทิเบต ภาษาตุงกูสิก และภาษาจีน คำยืมในยุคปัจจุบันมาจากภาษารัสเซีย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนโดยเฉพาะในมองโกเลียใน

ระบบการเขียน

การเขียนภาษามองโกเลียมีความหลากหลาย อักษรมองโกเลียที่พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์พัฒนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ต่อมา ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2475 มีการเขียนภาษามองโกเลียด้วยอักษรละตินเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิก ในช่วง พ.ศ. 2531 – 2534 มีความพยายามฟื้นฟูอักษรมองโกเลียมาใช้อีกแต่ล้มเหลว ในมองโกเลียใน สาธารณรัฐประชาชนจีน ภาษามองโกเลียเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนกลาง ใช้อักษรมองโกเลีย เคยใช้อักษรซีริลลิกก่อนจะเกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต

ประวัติ

Thumb
เอกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปา
Thumb
ตัวอย่างอักษรโซยอมโบแต่ละพยางค์

ภาษามองโกเลียโบราณเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาที่เป็นบรรพบุรุษของภาษามองโกเลีย เอกสารภาษามองโกเลียพบครั้งแรกในจารึกยิซุงเก ซึ่งเขียนด้วยอักษรมองโกเลีย อายุราว พ.ศ. 1767 – 1768 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 – 20 ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษร 4 ชนิดคือ อักษรมองโกเลียที่พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์ อักษรพักปา อักษรจีนและอักษรอาหรับ นักวิชาการบางคนเรียกภาษามองโกเลียที่เขียนด้วยอักษรสามชนิดหลังว่าภาษามองโกเลียยุคกลาง ภาษามองโกเลียคลาสสิกเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 24 ซึ่งเป็นภาษาเขียนที่มีมาตรฐานในการสะกดคำและการเรียงประโยค และมีความแตกต่างจากภาษามองโกเลียสมัยใหม่ ใน พ.ศ. 2229 อักษรสวยัมภูซึ่งใช้สำหรับเอกสารทางพุทธศาสนาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น

Remove ads

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads