กระทรวงยุติธรรมแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: Ministry of Justice ย่อว่า: MOJ) เป็นกระทรวงหนึ่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร รับผิดชอบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (Secretary of State for Justice) และลอร์ดชานเซลเลอร์แห่งบริเตนใหญ่ (ทั้งสองตำแหน่งควบโดยบุคคลเดียวกันและรัฐมนตรีกระทรวงนี้ถือเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีวงใน) กระทรวงนี้ดูแลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อกฎหมายโดยโอนย้ายงานมาจากรองนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร รวมไปถึงงานด้านสิทธิมนุษยชน และงานกฎหมายในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงและลอร์ดชานเซลเลอร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบรัฐสภาเกี่ยวกับกฎหมาย กิจการตุลาการ ระบบยุติธรรม การลงโทษและการคุมประพฤติทั่วทั้งเขตอำนาจศาลในอังกฤษและเวลส์
ที่ทำการกระทรวง ณ เลขที่ 102 ตึกเพ็ตตี ฟรานซ์ ลอนดอน | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2550 |
กระทรวงก่อนหน้า | |
เขตอำนาจ | สหราชอาณาจักร ในข้อกฎหมายที่ยังมีผลบังคับถึงปัจจุบัน ในเขตอังกฤษและ เวลส์) |
สำนักงานใหญ่ | 102 Petty France Westminster, London, SW1H 9AJ |
บุคลากร | มากกว่า 77,000 คน |
งบประมาณต่อปี | 8.2 พันล้านปอนด์ (ปัจจุบัน) และ 400 ล้านปอนด์ (เงินต้น) ในปี 2011–12 [1] |
รัฐมนตรี |
|
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ลูกสังกัด |
|
เว็บไซต์ | Official website |
กระทรวงนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ในรัฐบาลโทนี แบลร์โดยโอนอำนาจหน้าที่บางส่วนจากกระทรวงมหาดไทย (Home Department) และอำนาจหน้าที่ทั้งหมดของกระทรวงกิจการรัฐธรรมนูญ (Department of Constitutional Affairs)[2] ซึ่งถูกโอนย้ายหน้าที่จากสำนักงานลอร์ดชานเซลเลอร์ (Office of the Lord Chancellor) อันเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากระทรวงในรัฐบาลสหราชอาณาจักรอีกที (ก่อนพระราชบัญญัติปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2005 ลอร์ดชานเซลเลอร์ถือเป็นประธานสภาขุนนางและศาลสูงสุด[3]) ในปี ค.ศ. 2003
อำนาจหน้าที่
เขตสหราชอาณาจักร
ในช่วงที่รัฐบาลผสมของแคเมอรอนบริหารในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2010 กระทรวงมีอำนาจจัดการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักรและรัฐบาลท้องถิ่นประกอบไปด้วยฝ่ายบริหารแห่งไอร์แลนด์เหนือ, รัฐบาลสกอตแลนด์และรัฐบาลเวลส์
ต่อมาอำนาจหน้าที่ได้เปลื่ยนแปลงหลังจากที่มีการยกเลิกตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร โดยโอนหน้าที่ไปเป็นความรับผิดชอบของสำนักคณะรัฐมนตรี (ถือเป็นกระทรวงหนึ่งของสหราชอาณาจักร) นอกจากนี้ยังมีอำนาจชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวกับ การปฏิรูปการเมือง และ กฎหมาย เช่น การปฏิรูป สภาขุนนาง, กระทู้ถาม เวสต์โลเทียน, นโยบายด้านการส่งเสริมการเลือกตั้ง, นโยบายการระดมทุนพรรคการเมืองและการสืบราชสันตติวงศ์
โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ร่วมกันในการพิจารณา ข้อกฎหมายต่างๆ ในสหราชอาณาจักร[4]
โดยอำนาจของกระทรวงที่มีในสหราชอาณาจักรมีดังต่อไปนี้:
- นโยบายยุติธรรมของสหภาพยุโรปและองค์กรระหว่างประเทศ
- สิทธิในการรับรู้และปกป้องข้อมูลทางยุติธรรมในด้านต่างๆ
- สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง
- ศาลสูงสุดสหราชอาณาจักร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ด้านอำนาจของ ลอร์ดชานเซลเลอร์ รัฐมนตรีจะดูแลในด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสมุหเทศาภิบาล (ผู้แทนพระองค์ในพระมหากษัตริย์), งานพิเศษที่มอบหมายจากทางวัง นอกเหนืออำนาจหน้าที่, งานคัดเลือกและการสืบตระกูลขุนนาง, และงานที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญที่ยังไม่ชัดเจน[5]
โดยนับตั้งแต่ไอร์แลนด์ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1922 ไอร์แลนด์เหนือยังเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ว่าอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการประสานงานได้โอนย้ายไปยังตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการสำนักไอร์แลนด์เหนือในปัจจุบัน
เขตอังกฤษและเวลส์
โดยอำนาจการบริหารด้านการยุติธรรม, การราชทัณฑ์, และการคุมประพฤติ กระทรวงมีอำนาจในเขตอังกฤษ และเวลส์เท่านั้น กระทรวงไม่สามารถแทรกแซง ระบบยุติธรรมในเขตของสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือได้ เนื่องจากในทั้งสองประเทศต่างมีหน่วยงานด้านการยุติธรรมเป็นของตนเอง
ในเขตใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร
กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อประสานงานกับดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เช่น เจอร์ซีย์, เกิร์นซีย์ และไอล์ออฟแมนโดยในตำแหน่งดยุกแห่งนอร์มังดีถือครองโดยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ในดินแดนหมู่เกาะช่องแคบอังกฤษ
ในทางกฎหมาย กฎหมายที่ออกในสหราชอาณาจักร ย่อมจะมีผลบังคับใช้ร่วมกับหมู่เกาะหรือดินแดนปกครองตนเองของสหราชอาณาจักรอีกด้วย[6]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.